โซเชียลตามหา กลุ่มนักเรียนคนเก่งพูดกล่อมหนุ่มจีนไม่ให้คิดสั้น เปิดคำพูดต้องรู้ก่อนเกิดเหตุสลด

ถือเป็นเรื่องน่าประทับใจจริงๆ จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวดีๆ บนโลกออนไลน์กรณี มีชาวจีนรายหนึ่งพยายามจะฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่ปรากฏว่ามีนักเรียนกลุ่มหนึ่งพยายามพูดคุยเกลี้ยกล่อมไม่ให้คิดสั้น

ถือเป็นเรื่องน่าประทับใจจริงๆ จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวดีๆ บนโลกออนไลน์กรณี มีชาวจีนรายหนึ่งพยายามจะฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่ปรากฏว่ามีนักเรียนกลุ่มหนึ่งพยายามพูดคุยเกลี้ยกล่อมไม่ให้คิดสั้น จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางมาถึงเพื่อพูดคุยให้สงบสติอารมณ์จนสถานการณ์คลี่คลายลงในที่สุด

 

โซเชียลตามหา กลุ่มนักเรียนคนเก่งพูดกล่อมหนุ่มจีนไม่ให้คิดสั้น เปิดคำพูดต้องรู้ก่อนเกิดเหตุสลด

ต่อมามีการคอมเม้นต์ตามหากลุ่มนักเรียนที่เป็นพลเมืองดี จนทราบว่าเป็นคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ที่ก่อนเกิดเหตุได้รวมตัวมาเล่นดนตรีเปิดหมวกที่ใต้สะพาน เมื่อพบชาวจีนคนดังกล่าวจึงพยายามใช้ภาษาจีนสื่อสารพูดเกลี้ยกล่อมจนสำเร็จในที่สุด ทั้งนี้ตัวแทนนักเรียนได้เปิดเผยว่า ขณะนั้นตนและเพื่อนๆ กำลังเล่นดนตรีเปิดหมวกกันตามปกติ กระทั่งมีชาวจีนนำเงินมาให้สองรอบ รวมเป็นเงิน 600 หยวน คำนวณเป็นเงินไทยได้ประมาณเกือบ 3,000 บาท พวกตนจึงเอะใจเพราะเป็นเงินที่มากพอควร จึงตัดสินใจนำเงินไปคืน แต่ชาวจีนปฏิเสธและตอบกลับว่า "ไม่ต้องการอะไรแล้ว" พร้อมกับหยิบโทรศัพท์มือถือยื่นให้ และพูดทำนองเหมือนจะคิดสั้น พวกตนจึงพยายามเข้าไปช่วย

โซเชียลตามหา กลุ่มนักเรียนคนเก่งพูดกล่อมหนุ่มจีนไม่ให้คิดสั้น เปิดคำพูดต้องรู้ก่อนเกิดเหตุสลด

"นาทีนั้นทุกคนมาช่วยกันหมด คิดเหมือนกันว่าจะปล่อยเขาไปตายไม่ได้ เลยพาเขาเข้ามานั่ง แล้วก็ช่วยกันคุย เขาบอกว่าพ่อกับกงตายที่เมืองไทย แล้วก็ร้องไห้ตลอด ผมก็พยายามปลอบ ให้กำลังใจเขา ถามเขาว่าคิดดีแล้วเหรอ ถ้าพี่ตายไปพี่จะได้เจอเหรอ พ่อกับกงจะดีใจเหรอ พี่อย่าคิดมาก มีอะไรพวกผมก็พร้อมช่วยเหลือ" ตัวแทนนักเรียน กล่าว

โซเชียลตามหา กลุ่มนักเรียนคนเก่งพูดกล่อมหนุ่มจีนไม่ให้คิดสั้น เปิดคำพูดต้องรู้ก่อนเกิดเหตุสลด

 

ทั้งนี้การฆ่าตัวตายถือเป็นปัญหาระดับโลก จากการสำรวจขององค์กรอนามัยโลกพบว่าในปีหนึ่ง จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน เมื่อคิดเฉลี่ยต่อเวลา อาจอนุมานได้ว่า ทุกๆ 40 วินาที จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน และพบว่าผู้ที่เคยทำร้ายตัวเองแล้วครั้งหนึ่งมีโอกาสที่จะทำซ้ำและประสบผลสำเร็จในครั้งต่อๆ ไป นอกจากนี้การฆ่าตัวตายยังติดอันดับ 3 ของสาเหตุการตายของประชากรโลกในช่วงอายุ 15-35 ปี และผู้สูงอายุช่วง 70-75 ปี โดยมักเกิดขึ้นกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สำหรับคำพูดเกลี้ยกล่อมก่อนที่จะเกิดเหตุสลดมีหลักการสำคัญคือควรพูดปลอบใจ และให้กำลังใจด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล เป็นมิตร ยกตัวอย่างเช่น

1. พูดให้ความหวัง "ทำใจดีๆ ไว้ พรุ่งนี้อาจดีกว่าวันนี้" หรือ "เราต้องผ่านพ้นเรื่องนี้ไปให้ได้ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถ"
2. พูดให้กำลังใจในการแก้ปัญหา "ทุกปัญหามีทางออกเสมอ" หรือ "เรามาช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาดีกว่า"
3. ให้ความมั่นใจว่ามีคนพร้อมจะช่วยเหลือ "ปรึกษาญาติดูก่อนดีไหม" หรือ แนะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ
4. พูดให้นึกถึงคนข้างหลัง "ถ้าคุณตายไปลูกๆ และคนรักจะอยู่อย่างไร" หรือ "ถ้าขาดเสาหลักอย่างคุณพ่อแม่คุณจะอยู่อย่างไร"
5. พูดให้เห็นข้อดีของการมีชีวิต "มีคนลำบากกว่าคุณอีกมาก" หรือ "คุณยังมีหน้าที่การงานมีทรัพย์สมบัติ" หรือ "ชีวิตของคุณยังสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมได้อีกมากมาย"

 

โซเชียลตามหา กลุ่มนักเรียนคนเก่งพูดกล่อมหนุ่มจีนไม่ให้คิดสั้น เปิดคำพูดต้องรู้ก่อนเกิดเหตุสลด

สำหรับคำพูดที่ "ไม่ควรพูด" มีดังต่อไปนี้

1. "ไม่น่ารอดมาได้เลย"
2. "แค่นี้ไม่ตายจริงหรอก"
3. "แน่จริงก็ทำให้ตายจริงๆ สิ"
4. "ไม่ต้องฆ่าตัวตายหรอกยังไงเสียวันหนึ่งก็ต้องตาย"
5. "อย่าไปสร้างภาระให้คนอื่นเลย"

จะเห็นได้ว่าทุกคำพูดและการกระทำของผู้ช่วยเหลือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างมาก เพราะสถานภาพทางจิตใจของผู้คิดฆ่าตัวตายนั้นเปราะบางเนื่องจากได้รับความบอบช้ำ ฉะนั้นต้องตรองให้มากก่อนจะพูดอะไรออกไป สำคัญที่สุดคือมุ่งใช้ประโยคที่สร้างกำลังใจและให้ความหวังเป็นหลัก เพื่อให้บุคคลนั้นผ่านช่วงเวลาเลวร้ายของชีวิตไปให้ได้

 

โซเชียลตามหา กลุ่มนักเรียนคนเก่งพูดกล่อมหนุ่มจีนไม่ให้คิดสั้น เปิดคำพูดต้องรู้ก่อนเกิดเหตุสลด

อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายอยู่ด้วยกัน 3 ปัจจัยหลัก คือ

1. ปัจจัยทางชีวภาพ  ส่วนใหญ่มาจากโรคซึมเศร้าหรือสารเคมีในสมองไม่สมดุล ในกลุ่มนี้จะพบว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกท้อแท้ ไม่เห็นคุณค่าของชีวิต เบื่อหน่ายหรือไม่มีชีวิตชีวา สังเกตได้ง่ายว่าจะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างที่เคย กิจวัตรที่เคยทำเป็นประจำเริ่มเปลี่ยนไป โดยในกลุ่มนี้จำต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างถูกวิธีโดยเร็วที่สุด

2. ปัจจัยทางด้านสังคม มักพบในสังคมที่มีการแข่งขันสูง โดยมากจะเกิดกับกลุ่มที่มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุดจนนำมาซึ่งปัญหาด้านหนี้สิน เมื่อหาทางออกไม่ได้ก็จะฆ่าตัวตายในที่สุด รวมถึงประชากรบางกลุ่มที่นิยมเสพสื่อโซเชียลจนเกินพอดีและขาดวิจารณญาณ เมื่อพบเจอการไลฟ์สดฆ่าตัวตาย อาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้ในที่สุด

3. ปัจจัยทางจิตใจ ผู้ที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายมักมีความคิดว่า ตนเองนั้นไร้ทางออก ไม่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตได้ เปรียบเสมือนคนไร้ค่า จนเกิดเป็นความรู้สึกที่ท้อแท้และสิ้นหวัง ไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป