"บิ๊กตู่" เน้นย้ำ !! การดำเนินวิถีประชารัฐ จัดเต็มในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" (คำต่อคำ)

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" กับรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ประจำวันที่ 29 ม.ค. 2559 - เน้นย้ำ การดำเนินวิถี "ประชารัฐ" (จัดเต็มทุกคำ)

 


วันนี้ (29 ม.ค.)  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงสถานการณ์บ้านเมืองไทยในปัจจุบัน ดังนี้
         

สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
         

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น "วันทหารผ่านศึก" เป็นวันที่ประชาชนคนไทย ทุกคนควรได้ระลึกถึงความเสียสละอันยิ่งใหญ่ ของวีรชนใน "แนวหน้า" ที่พร้อมจะเสียสละไม่เพียงแค่ความสุขทางกายนะครับ แต่ยอมที่จะเสียสละได้ทั้งชีวิตและเลือดเนื้อ ทั้งนี้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน อันเป็นที่รักของพวกเราทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่ที่อาศัย ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขจนถึงทุกวันนี้ แม้เมื่อไม่มีภัยสงคราม แต่ยังคงมีข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร อาสาสมัครอีกเป็นจำนวนมาก ที่ต้องทำงานนอนกลางดิน กินกลางทราย อยู่ท่ามกลางป่า เขา นะครับ เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาอธิปไตย ตามแนวชายแดน เฝ้าตรวจชายแดน ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยงภัย ต้องห่างจากครอบครัวที่รัก จากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็เพื่อจะป้องกันประเทศ การรุกล้ำอธิปไตย และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งวันนี้ก็มีภัยอันตรายมากมายทั้งภัยคุกคามในรูปแบบเดิม และในรูปแบบใหม่นะครับ จากการกระทำผิดกฎหมาย การก่อความไม่สงบ และการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด ก็ขอให้ทุกคนได้ร่วมกันให้กำลังใจ ส่งคำอวยพร ให้พวกเขาปลอดภัย รวมทั้ง ผมขอเชิญชวนพวกเรา “แนวหลัง” ทุกคน ได้ร่วมกันแสดงออกถึงความมีน้ำใจ ตอบแทนความเสียสละ ด้วยการอุดหนุน "ดอกป๊อปปี้" ดอกไม้สีแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทหารผ่านศึกนะครับ โดยการซื้อหรือการบริจาคทรัพย์ สำหรับการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บ รักษาตัว พิการ หรือเสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อจะช่วยกันดูแลครอบครัวของเขาให้มีความสุขต่อไปนะครับ เขาขาดหัวหน้าครอบครัว ก็ขอให้ "ดอกป๊อปปี้" ได้มีการผลิบานอยู่ในใจทุกคน "สานใจแนวหลังสู่แนวหน้า" นะครับ ร่วมกันทำให้แผ่นดินที่พวกเรา หรือเขารักษาไว้ด้วยชีวิตนั้น เป็น "แผ่นดินแห่งความสุข - สันติ" ของประชาชนทุกคน นะครับ
         

สำหรับการปฏิรูปรูปแบบการทำงาน ในการร่วมมือกันสร้างชาติ ตามแนวทาง "ประชารัฐ" นั้น ผมเห็นว่าน่าจะเป็นการ "คืนความสุข" แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ให้กับคนในชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ และการวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต วันนี้ผมขอหยิบยกตัวอย่างการดำเนินการแบบ "ประชารัฐ" ในพื้นที่ที่ผมได้เดินทางไปเยือนด้วยตัวเองนะครับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งในระดับชุมชนและท้องถิ่น ที่สามารถจะเป็นแบบอย่างในการยืนบนลำแข้งของตนเองได้ ในระยะที่ 1 ดังนี้นะครับ
         

ที่ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่างๆ อาทิเช่น การรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ในการทำการเพาะปลูกพืช ตามที่รัฐบาลได้ให้คำแนะนำไปนะครับ แล้วก็ได้เข้าถึงกองทุน ต่างๆ ที่รัฐได้ส่งเสริมไปนะครับ ก็ทำให้เกิดช่องทางการรับการสนับสนุนนั้นสั้นลง แล้วก็ตรงกับความต้องการของทั้งภาครัฐ และภาคประชาชนนะครับเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน สิ่งเหล่านี้ถ้าท่านเริ่มด้วยตัวเองได้นะครับ ตามคำแนะนำ ก็จะสะดวกแก่การบริหารจัดการของรัฐบาล และของท่านเองด้วยนะครับในการรวมกลุ่ม เช่นการใช้เครื่องมือทางการเกษตรร่วมกัน หรือการรวมกลุ่มกันเพาะปลูกพืชชนิดเดียวกัน และร่วมกันทำการแปรรูป สร้างนวัตกรรม ทำการตลาดร่วมกันอีกนะครับ แบ่งปันกันก็มีอยู่ ส่วนแรกก็คือส่วนที่ต้องใช้ภายในพื้นที่ของตัวเอง ในกลุ่มของตัวเองนะครับ อันที่สองคือค้าขายในชุมชน หรือแปรรูปขั้นที่ 1 จากนั้นก็ไปส่งไประยะที่ 2 นะครับ ส่งไปโรงงาน ส่งไปอะไรก็แล้วแต่ จะเกิดเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันทั้งหมดนะครับ
         

เราก็ได้เห็นความร่วมมือของภาครัฐ - เอกชน - ประชาชน นะครับ ในพื้นที่ที่ผมไปเยี่ยมมานั้น
         

(ได้ช่วยกันขับเคลื่อน ตามนโยบายรัฐบาลเป็นอย่างดีนะครับ นับตั้งแต่ กรอ.จังหวัดลงมาถึงระดับชุมชน หมู่บ้าน นะครับ โดยได้นำเอาสิ่งที่ทางคณะกรรมการรัฐร่วมเอกชน) ได้ร่วมกันขับเคลื่อน ตามนโยบายรัฐบาลนะครับ ตั้งแต่ กกร.ลงไปถึง กรอ.ลงถึงระดับชุมชน หมู่บ้านนะครับ สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงภัยแล้งที่ผ่านมานั้น ได้มีการทำนาปรังสูงขึ้นถึง 268,000 ไร่ แต่หลังจากที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือในปีนี้นะครับจากพี่น้องเกษตรกร ให้ลดการปลูกข้าวนาปรังในปีนี้ เนื่องจากอาจจะมีเสี่ยงต่อผลกระทบจากภัยแล้ง ก็ได้รับความร่วมเป็นอย่างดีนะครับในพื้นที่ นอกจากในเรื่องของการรวมแปลงแล้ว อะไรแล้วนะครับ ก็มีเรื่องของการขอความร่วมมือของการทำนาปรังนะครับ ก็ทำให้ปีนี้ พื้นที่ทำนาปรัง ที่ผมไปเยี่ยมมานี่ ลดลงเหลือเพียง 7,135 ไร่ ขอบคุณนะครับ ขอบคุณจริงๆ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นั้นปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชไร่และพืชผักอายุสั้นแทน เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว แล้วก็ใช้แหล่งน้ำจากบ่อบาดาลระดับตื้นนะครับ ก็สามารถทำให้มีรายได้ดี มีพ่อค้าคนกลาง จากตลาดไทมารับซื้อถึงที่นะครับ มีการขยายพื้นที่การปลูกผักมากขึ้น แทนการทำนาปรังมากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ของนโยบายประชารัฐของรัฐบาลนะครับ
         


อย่าไปฟังใครที่กล่าวหาว่ารัฐบาลไม่ช่วยเหลือเกษตรกร คือถ้าทำตรงกับนโยบาย ทำตามสิ่งที่เราแนะนำ มันก็เร็วขึ้นนะครับก็เกิดผลสัมฤทธิ์ หลายคนก็เล่าให้ผมฟังว่ารายได้เขาดีกว่าเดิมมาก ดีขึ้นมากกว่ททำนาอีกนะครับ แต่ข้อสำคัญก็คือรัฐบาลก็ต้องควบคุมดูแลในเรื่องของปริมาณการปลูก แล้วก็การตลาดให้ด้วยนะครับ แล้วก็สนับสนุนในเรื่องของการ สนับสนุนเครื่องมือ เครื่องใช้ในเรื่องของการทำเทคโนโลยี นำเทคโนโลยี่ที่เราต้องเพิ่มเติมลงไปนะครับ แล้วก็เพื่อจะแข่งขัน ลดราคากับภาคเอกชนที่ได้มีการให้เช่าเครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร แต่ราคามันแพงนะครับ ในการไถ ในการเก็บเกี่ยวอะไรก็แล้วแต่ รัฐบาลก็ส่งเสริมเป็นแนวทางไว้นะครับ วันหน้าจะได้เดินหน้าไปได้ด้วยดี มั่นคงทุกคนจะได้รวมตัวกัน เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง
         

หากพร้อมใจกันรับฟังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจจะยากนะครับระยะแรก เพราะว่าเคยทำมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย แต่ก็ขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลลงรายละเอียดทุกเรื่องนะครับ ไม่ได้คิดเพื่อจะทำให้ทุกอย่างมันผ่านๆ พ้นๆ ไปง่ายนะครับ ไม่ใช่ เพราะงั้นก็ภาครัฐได้สนับสนุนเงินลงทุนผ่านสินเชื่อจากธนาคารเกษตรและสหกรณ์นะครับ เมล็ดพันธ์พืช องค์ความรู้ในการปลูกพืชทดแทน การทำปุ๋ย การแปรรูปสินค้าเพิ่มมูลค่า แล้วก็มีภาคเอกชนมาร่วมสนับสนุนด้วยนะครับ หลายบริษัทด้วยกัน ในการที่จะช่วยหาตลาด สร้างความเชื่อมโยงเพื่อรองรับสินค้าเกษตร แล้วก็ไปแปรรูปด้วย อะไรด้วยนะครับ ก็มีความหลากหลายมากขึ้น สำหรับในพื้นที่ ที่ไปวันนั้น ผมก็ได้ย้ำให้แต่คนในชุมชน ได้ไปหาเรื่องราว ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชุมชน ที่เป็นอัตตาลักษณ์ นะครับ มาเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตออกมา ทั้งนี้เพื่อจะเพิ่มมูลค่าให้ผู้บริโภคนะครับสนใจ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่เหมือนกันนะครับ แต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตอะไรก็ตามนะครับ ก็อยากให้ทุกสินค้า ทุกรายการมีเรื่องราวความเป็นมาไม่ซ้ำกัน มีคุณค่านะครับ แล้วราคามันก็จะสูงขึ้นเอง ผมเห็นตัวอย่างต่างประเทศเขาทำแบบนี้ด้วยนะครับ
         

เรื่องที่สองเรื่องโครงการฟื้นฟูสระเก็บน้ำ บ.หนองดู่ 400 ไร่ ก็เป็นโครงการหนึ่งในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งเดิมผมให้รองนายกรัฐมนตรี ประวิทย์ ไป ไปตรวจเยี่ยมในพื้นที่ ที่จะต้องไปติดตามความก้าวหน้าในพื้นที่รับผิชอบนะครับ ก็ ได้รับฟังปัญหาของประชาชนในพื้นที่ ที่บริเวณบ้านห้วยมะโมงนะครับ มีห้วยอยู่เดิม ห้วยธรรมชาติมันตื้นเขิน ใช้ประโยชน์เก็บกักน้ำอะไรไม่ได้มากนัก ก็ได้ขอโครงการขึ้นมา ผ่านท่านรองประวิทย์ นะครับ รองประวิทย์ ก็ได้ใช้งบประมาณในส่วนที่รองนายกรัฐมนตรี สามารถนำไปแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง แล้วมีชาวบ้าน มาร่วมมือมีภาคธุรกิจเอกชน มาซื้อพื้นที่ หาพื้นที่เพิ่มเติมให้นะครับ ร่วมกันบริจาค แล้วก็ทำให้สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำเป็นผลสำเร็จนะครับ ภาครัฐก็เข้าไปสนับสนุนให้ วันนี้ก็มีน้ำเข้าไปเป็นจำนวนมากพอสมควรนะครับ แล้วก็สามารถเก็บน้ำใน ฤดูน้ำหลาก ซึ่งผมทราบว่า มีข้อมูลว่ามีมากมายนะครับ ก็ต้องระมัดระวังนะครับ จะได้ป้องกันเรื่องน้ำท่วมไปด้วย แล้วเก็บน้ำไว้ใช้เป็นแก้มลิง ในห้วงฤดูแล้ง นี่ฝนยังไม่มา น้ำครึ่งหนึ่งแล้วนะครับ ความลึกประมาณ 4 เมตร ถึง 6 เมตร
         

ก็ถ้าหากว่าเรายกระดับ ประตูน้ำ ไหลเข้า ไหลออกให้สูงขึ้นอีก ก็จะเก็บน้ำได้มากขึ้นอีก นี่แหละครับเป็นตัวอย่างของการเอาข้อมูล รับฟังความคิดเห็นของประชาชนมา แล้วรัฐบาลก็มาพิจารณาว่า จะช่วยเหล