"บิ๊กตู่" เชิญชวน !! "ประชาชน" ลงประชามติให้มากที่สุด ชี้แจง "ปรับทัศนตคิ" ต่อต่างชาติ ว่าแค่เรียกพูดคุย ปัดทำร้ายใคร!!

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม www.tnews.co.th

"นายกรัฐมนตรี" เชิญชวน !! "ประชาชนคนไทย" ร่วมออกมาลงประชามติ "ร่างรัฐธรรมนูญ" กันให้มากที่สุด เผยสาเหตุ "ปรับทัศนคติ" ต่อต่างชาติ ว่าเพียงแค่เรียกไปพูดคุยเท่านั้น ไม่ได้ทำร้ายใคร ชี้ จะปลูกจิตสำนึกต้านคอปรัปชั่นในทุกรูปรูแบบ จ่อลงหลักสูตรโตไปไม่โกง ในทุกโรงเรียนทั่วประเทศ

 


 

 

วันนี้ (1 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงสถานการณ์บ้านเมืองไทยในปัจจุบัน ดังนี้

 

สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน เนื่องในวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็นวันมหามงคลของปวงชนชาวไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 61 พรรษา รัฐบาลขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่าพร้อมใจกันน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคลแด่พระองค์ พร้อมกันนี้ ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนได้ร่วมกันทำความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ตามโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคล ทำดี เริ่มได้ที่ใจเรา ที่ผมเคยกล่าวไปแล้วหลายครั้ง อีกทั้งในปีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา และในปีถัดไป ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา เพื่อถวายเป็นของขวัญและแสดงถึงพลังแห่งความรักและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พสกนิกรไทยจากทั่วทุกภูมิภาคถวายแด่ทุกพระองค์
      
       วันที่ 1 เมษายน ของทุกปี เป็นวันข้าราชการพลเรือน เป็นวันแห่งความภาคภูมิใจ อันที่จริงไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประเภทไหน ระดับใด ก็ย่อมมีความสำคัญต่อการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อให้ประชาชนทุกกินอิ่ม นอนหลับ สุขภาพดี มีความสุข มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ข้าราชการต้องทำทุกวันตราบใดที่ยังอยู่ในราชการ ที่สำคัญข้าราชการทุกแขนงล้วนทำงานต่างพระเนตรพระกรรณในกิจการของพระราชา หรือลดภาระของพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ในคำว่าข้าราชการนี้ ที่มีทั้งอำนาจ บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ในตัวของมันเองอยู่แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ข้าราชการต้องมีจิตสำนึกที่ดี ประพฤติดี อย่างที่เราเรียกว่าธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วยหลัก 6 ประการ อยากจะทบทวน ได้แก่ หลักคุณธรรม หลักยุติธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
      
       ทั้งนี้ รัฐบาลปัจจุบันได้ยึดถือและนำมาประยุกต์ใช้ในหลักการทำงานร่วมกันในสังคม ที่สำคัญคือคำว่า ประชารัฐ นอกจากจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนแล้ว ในการรักษาความสมดุลระหว่างหลักการ 6 ประการ ในทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินไม่ติดกับดักตัวเอง หรือพบทางตัน ในการนี้ ขอให้ข้าราชการทุกคนได้อัญเชิญยุทธศาตร์พัฒนา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาและหลักการทรงงาน 23 ประการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางการทำงาน และขอเป็นกำลังใจให้กับพี่้น้องข้าราชการทุกท่าน จงมีความเพียรอันบริสุทธิ์ เอาชนะอุปสรรคการทำงานด้วยปัญญา ทั้งนี้ เพื่อจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องประชาชนชาวไทย ให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
      
       ในฐานะตัวแทนประชาชนชาวไทย และผู้นำประเทศ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง กับเหตุการณ์ก่อการร้าย ณ เมืองละฮอร์ ประเทศปากีสถาน ที่ก่อให้เกิดความสูญเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหยื่อครั้งนี้ มีแต่ความโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม เป็นเด็กและผู้หญิง ขณะที่ทุกคนมีความสุขในเทศกาลทางศาสนา ผมขอประณามการกระทำครั้งนี้ และพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศ ทุกพันธมิตรในโลกนี้ เพื่อต่อต้านเอาชนะเครือข่ายก่อการร้ายและความรุนแรงต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์
      
       สำหรับประเทศไทยนั้น แม้จะไม่มีคู่ขัดแย้งโดยตรง หรือเป็นเป้าหมายการปฏิบัติการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขอให้หน่วยงานด้านความมั่นคง ทุกส่วนราชการ รวมภาคเอกชน บริษัท ห้างร้าน เจ้าของสถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว เวรยามต่างๆ รปภ.ให้ความสำคัญกับมาตรการรักษาความปลอดภัย ทั้งบุคคลแปลกหน้า และสถานที่มีการชุมนุมของคนหมู่มาก เช่น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในเทศกาลสงกรานต์เหล่านี้ด้วย ขอให้พี่น้องประชาชนทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความปลอดภัยทางสังคม ระดับประเทศชาติ โดยให้ความสนใจต่อประเทศชาติ อย่าสนใจแต่ตัวเอง พบเห็นสิ่งผิดปกติ หรือบุคคลที่ต้องสงสัย ขอให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่โดยตรง ทันทีด้วย
      
       ในเรื่องของทุจริตคอร์รัปชันกัดกร่อนสังคม มาเป็นระยะเวลายาวนาน ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2556 ถึง ปี 2558 ป.ป.ช. ได้มีการชี้มูลความผิด คดีทุจริต และการร่ำรวยผิดปกติ ไปแล้ว คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย รวมมากกว่า 5 แสนล้านบาท จาก 193 คดี แม้ว่าผลสำรวจสถานการณ์คอรัปชั่นของไทยนั้น โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า สถานการณ์คอร์รัปชันไทย ในปี 2558 ดีที่สุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา และผลการจัดอันดับดัชนีชีวัดคอรัปชั่นโลกในปี 2558 โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ได้จัดลำดับประเทศไทยมีความโปร่งใส ขยับขึ้นจากเดิม 9 อันดับ โดยเป็นอันดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียนรองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และเป็นอันดับ ที่ 76 ของโลก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้กำหนดให้การปราบปรามการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงในการแก้ปัญหาของรัฐบาล แต่ยังคงต้องทำงานหนักร่วมกับศุลกากร และหน่วยงานต่าง ๆ ต่อเนื่อง ทั้งเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่สองมาตราฐาน ทั้งการขับเคลื่อนด้านการปฏิรูป และมาตราการต่าง ๆ เพื่อจะต่อสู้กับการทุจริตคอรัปชั่น เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการการต่อต้านการทุจริต แห่งชาติ (คตช.) การตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) การโยกย้ายข้าราชการที่ได้รับการร้องเรียน หรือมีข้อมูลมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต เพื่อเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามกระบวนการยุติธรรม และการออก พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น จีนิวส์ การเปิดให้มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (OSS) ได้แก่ ศูนย์ดำรงธรรม ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน เพื่อเพิ่มช่องทางการร้องเรียน แจ้งเบาะแส และเข้าถึงประชาชนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้กำหนดให้มีการทำสัญญาคุณธรรม ที่เรียกว่า IP ในสัญญาจะมีการรับหรือให้สินบน และใช้ระบบคอสต์ (CoST) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนมีโอกาสเข้ามาตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อจะลดช่องทางการหาประโยชน์จากผู้มีอำนาจหรือผู้แอบอ้าง และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแล อีกทั้งให้มีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง สร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนอีกด้วย
      
       อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่ยั่งยืนนั้น เราจำเป็นต้องสร้างจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบ คนให้ก็ต้องผิด คนรับก็ต้องผิด ละเลยเพิกเฉยก็ไม่ได้ ช่วยกันกำจัดคนเหล่านี้ออกไป โดยทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย จะต้องช่วยกันเป็นกระบอกเสียงในการเฝ้าระวังให้กับสังคม เป็นตาสับปะรดเสริมเจ้าหน้าที่รัฐ โดยรัฐบาลหวังว่าการใช้หลักสูตร "โตไปไม่โกง" ในโรงเรียนทั่วประเทศ และการรณรงค์ "สำนึกไทยไม่โกง" มีการทำผ่านภาพยนตร์สั้น 4 เรื่อง ได้แก่ คนโกงเราต้องแฉ เรื่องโกงเราต้องแชร์ หรืออีกเรื่องหนึ่ง คือ คนอย่างนี้ก็มีด้วย เรื่องที่สาม คือ ทริปห้องกรง และสี่ คือ กรรมติดจรวด อันนี้ก็เป็นผลงานของคณะ คสช.ที่ช่วยกันตอกย้ำ ปลูกฝังสำนึกและความซื่อสัตย์ให้หยั่งรากลึกลงไปในจิตใจของเยาวชนไทย จะได้พูดคุยกับพ่อแม่ให้ร่วมมือกันด้วย มันจะเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยบ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ทั้งหมดการจะว่าใครผิดใครถูก หรือทุจริต หรือไม่ทุจริต จำเป็นต้องยึดหลักฐาน ยึดกฎหมายเป็นหลักในการพิจารณา และกำหนดแนวทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่ใช้จากคำบอกเล่า เสียงเล่าลือ คำบอก หรือในโซเชียลมีเดียที่กล่าวอ้างกันมากมาย วันนี้ขอให้เข้าใจด้วยว่า ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน หรือการที่จะทำให้สังคมเป็นสุขนั้นต้องใช้กฎหมายให้เป็นธรรมให้ชอบธรรม ในการสร้างความเข้มแข็ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจของประเทศด้วย กลไกประชารัฐ อันนี้รัฐบาลพยายามจะส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงในเรื่องของห่วงโซ่อุปทาน ทั้งภายใน และภายนอกประเทศในเวลาเดียวกัน เนื่องจากว่าทุกอย่างนั้นจำเป็นต้องขับเคลื่อนประสานสอดคล้องกัน ไม่ว่าใหญ่ กลาง เล็ก ในประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน อาเซียน ประชาคมโลก อื่นๆ เราได้ดำเนินการดังนี้
      
       เรื่องที่ 1.คือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในประเทศ ที่มุ่งเน้นการระเบิดจากข้างใน ผมพูดหลายครั้งแล้ว เริ่มจากประชาชน เริ่มจากเกษตรกรไปเป็นกลุ่ม ไปเป็นสหกรณ์ อะไรเหล่านี้ เช่น วันนี้เราสนับสนุนการจัดตั้งกิจการที่เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน หรือที่เรียกว่า วิสาหกิจเพื่อสังคมโซเชียลเอ็นเตอร์ไพรส์เพื่อผลิตสินค้า หรือให้บริการ ส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่น โดยไม่ได้วางเป้าหมายเพื่อสร้างผลกำไรอย่างเดียว ต้องช่วยกันแก้ปัญหา ช่วยกันพัฒนาชุมชนของตนเอง สังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวให้มากที่สุด โดยใช้งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามโครงการตำบลละ 5ล้านบาท และกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท มาเสริมกันไป เราไม่สามารถจะให้อะไรต่างๆ มากมายหลายอย่างได้ ทุกคนต้องสร้างความเข้มแข็งด้วยกันที่เรามีอยู่ ก็ใช้อย่างพอเพียง
      
       ทั้งนี้ หลายชุมชนนำไปสร้างร้านค้าชุมชน โรงสีชุมชน ลานตากมัน รวมถึงปั๊มน้ำมัน เครื่องจักรกล โดยชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการบริหารจัดการกันเอง ทำให้เกิดกำไรและการหมุนเวียนรายได้ มีการนำไปลงทุนเพื่อขยายกิจการ เกษตรกรสามารถนำผลผลิตมาแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งนับเป็นพื้นฐานของวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งรัฐบาลมีแผนขยายผลสู่กระบวนการให้ความรู้ และพัฒนาสู่กิจการเพื่อสังคม ในรูปแบบองค์กรชุมชน คอมมูนิตี้ โซเชียล เอ็นเตอร์ไพรส์ และพิจารณาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิของวิสาหกิจ และสิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมต่อไป
      
       ทั้งนี้ อนาคตอันใกล้ วิสาหกิจเพื่อสังคมแต่ละพื้นที่ จะต้องรวมกลุ่มสร้างความเข้มแข็งร่วมกัน อย่าแยกกันอยู่ รวมกันให้ได้ เราจะเข้มแข็ง ทั้งเรื่องการแลกเปลี่ยนความรู้ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยมีหน่วยงานรัฐสนับสนุนตามแนวทางประชารัฐ เราจะยกระดับกลุ่มวิสาหกิจให้เป็นศูนย์ธุรกิจเฉพาะด้าน รัฐบาลขอเชิญชวนให้ภาคเอกชนร่วมสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมบริจาคเงิน ทรัพย์สิน รัฐบาลจะพิจารณาสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ ขณะนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กับกลุ่มธุรกิจที่ปรึกษา ลงพิจารณาดำเนินการที่ จ.ภูเก็ตก่อน ในระยะอันใกล้นี้
      
       เรื่องที่ 2 คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยความสัมพันธ์ และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ เนื่องจากอยู่ห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน เช่น ประชาคมอาเซียน หรือกลุ่ม CLMV ที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในภูมิภาคก่อน จากนั้น เราก็ทำคู่ขนานโดยการเชื่อมโยงออกไปภายนอก เช่นในกลุ่ม G77 ในปีนี้ไทยเป็นประธานอยู่ ผมก็ใช้ทุกอย่างขับเคลื่อนทั้งหมดเพื่อที่จะไปเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประเทศสมาชิก เราจะต้องเข้มแข็งไปพร้อม ๆ กัน ไม่ทิ้งใครไว้้ข้างหลัง
      
       ในการประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือแม่น้ำโขง แม่น้ำล้านช้าง ที่ผู้ส่งเสริมความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำ ในภูมภาค ภายใต้วิสัยทัศน์ แม่น้ำสายเดียวกัน มีอนาคตร่วมกัน หรือ SHARE RIVER, SHARE FUTURE รวมทั้งกรอบความร่วมมือ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรม ด้านเศรษฐกิจข้ามพรมแดน ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ด้านการเกษตร ด้านสังคม ทั้งนี้ เพื่อจะลดความยากจน รวมทั้งกรอบความร่วมมืออื่นๆ ที่ไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดเครือข่ายทางความร่วมมือ รวมความคิด ร่วมกลุ่ม สร้างความเข้มแข็ง ภายใต้หลักการสำคัญก็คือ ลดความหวาดระแวง ลดความเหลื่อมล้ำ แบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียม ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน มันจะได้เข้มแข็งไปด้วยกัน ไม่เอาประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ทำธุรกิจอย่างเดียวให้ได้กำไรสูงสุด ก็เพื่อนกันทั้งสิ้น เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
      
       ในส่วนของการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ทั้งภายในและภายนอกประเทศดังกล่าวนั้น จะนำพาการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจของเราได้อย่างยั่งยืน เพราะมันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตั้งแต่ต้นทาง ก็คือผู้ผลิต เพาะปลูก หรือวัสดุต้นทุน ขั้นที่หนึ่ง ไปสู่การแปรรูป ขั้นที่สอง ที่จะให้มีราคาสูงขึ้น และขั้นที่สาม คือเรื่องของปลายทาง ก็คือเรื่องของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต้องร่วมมือกันทั้งสามส่วน ถึงจะเรียกว่าเป็นวงจรห่วงโซ่คุณค่า ทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย กับมหามิตรต่างๆ ด้วย
      
       ในการประชุมทุกครั้งที่ต่างประเทศ ผู้นำมักจะมีเวลาที่ค่อนข้างน้อย ผมไปก็ได้มีโอกาสกล่าวถ้อยแถลงในแต่ละวาระการประชุม เนื่องจากมีประเทศที่ไปประชุมหลายประเทศด้วยกัน และเวลาก็มีจำกัด เขาจะกำหนดเวลาให้ประมาณ 3 นาทีบ้าง 5 นาที หรื