"ศาลสิงห์โตทอง ตำนานแห่งลุ่มแม่เจ้าพระยา ตอนที่ 1" (เจอดี - คลิป)

       วันนี้ทีมงานเจอดี จะพาท่านผู้อ่าน ไปพบกับอีกหนึ่งความเชื่อ ที่เล่าขนานกันต่อมา ใครหลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง และอีกหลายคนอาจจะไม่ทราบ ถึงเรืองราวของรูปปั้นหินที่มีน้ำหนักมาก แต่อะไรคือเหตุผลทีทำให้คนมีเดินทางมากราบไหว้บูชา ขอพรเรื่องความรัก และสิ่งต่างๆให้ประสบความสำเร็จอย่างที่ต้องการ เราทีมงานเจอดีพาท่านผู้อ่านไปหาความจริง และเรืองราวที่เกิดขึ้น อดีตถึงปัจจุบัน ตำนาน “รูปปั้นสิงห์โตทอง ท่าพระจันทร์”

"ศาลสิงห์โตทอง ตำนานแห่งลุ่มแม่เจ้าพระยา ตอนที่ 1"  (เจอดี - คลิป)

ขอบคุณภาพจาก narak.com

ประวัติความเป็นมา

       “ศาลสิงห์โตทอง” นั้นคือรูปปั้นสิงโตเพศเมียขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(ท่าพระจันทร์) บริเวณข้างตึกคณะเศรษฐศาสตร์โดยมีลักษณะหันหน้าไปยังท่าน้ำศิริราช กล่าวคือ หันหน้าออกไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาราวกับกำลังมองหาผู้เป็นที่รักของตนที่จมลงสู่แม่น้ำนั้นรูปปั้นสิงโตนี้เป็นหนึ่งใน “หินอับเฉา” หรือ “ตุ๊กตาอับเฉา” อันเป็นสินค้าจากประเทศจีนที่นำมาสู่ประเทศไทยและยังมีประโยชน์ไว้สำหรับใช้ถ่วงใต้ท้องเรือสำเภาจีนให้มีน้ำหนักพอที่จะกินร่องน้ำให้สามารถแล่นข้ามมหาสมุทรได้ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีตุ๊กตาอับเฉาหรือหินอับเฉานี้มาด้วยกันสองตัวเป็นคู่กันเพื่อให้เรือสำเภาเกิดความสมดุล

"ศาลสิงห์โตทอง ตำนานแห่งลุ่มแม่เจ้าพระยา ตอนที่ 1"  (เจอดี - คลิป)

ขอบคุณภาพ ค่ายจับจิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

 

"ศาลสิงห์โตทอง ตำนานแห่งลุ่มแม่เจ้าพระยา ตอนที่ 1"  (เจอดี - คลิป)

ขอบคุณภาพ kinkhaaw.blog.so-net.ne.jp

       ตามตำนานได้เล่าขานกันมาว่า ในวันหนึ่งเกิดพายุลูกใหญ่ที่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย ส่งผลให้เรือสำเภาจีนที่เข้ามาค้าขายนั้นอับปางลง ต่อมามีความพยายามที่จะกู้สินค้าเหล่านั้นขึ้นมา จึงได้รูปปั้นสิงห์โตเพศเมียนี้ขึ้นมาแต่ได้มาแค่เพียงตัวเดียวเท่านั้น รูปปั้นสิงโตเพศชายที่คู่กันกลับไม่สามารถงมขึ้นมาได้หรือบ้างก็เล่าว่า การจมลงสู่ใต้ท้องน้ำของรูปปั้นสิงโตตัวผู้นั้นเกิดจากอุบัติเหตุในการขนสินค้าลงจากเรือ ซึ่งแม้จะเหลือรูปปั้นสิงห์โตเพศเมียเพียงตัวเดียว ชาวบ้านก็ยังนำรูปปั้นนี้มาตั้งไว้ในลักษณะหันหน้าเข้าหาฝั่ง แต่ทว่าวันหนึ่งสิงห์โตเพศเมียนี้กลับหันหน้าออกจากฝั่งไปยังแม่น้ำ โดยไม่ว่าเรื่องเล่าใดก็ตามแต่สิ่งที่ประจักษ์ชัดแก่ผู้ที่ได้พบเห็นนางสิงโตนี้คือแบบอย่างแห่งความรักที่ซื่อสัตย์ ผู้ซึ่งมองหาและรอคอยคู่ของนางเสมอมา ไม่ว่าเวลาจะล่วงเลยไปสักเท่าใด

         นอกจากตำนานในเรื่องความรักที่เล่าต่อกันมา ยังมีการบอกเล่าถึงรูปปั้นสิงโตนี้ว่า ใช้สำหรับล้างอาถรรพ์ของวังหน้า ตามหลักของฮวงจุ้ย ดังนี้

"อาถรรพณ์ จากความมหัศจรรย์ของสถานที่หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นหนึ่งในสิ่งลี้ลับที่ผู้คนให้ความสนใจไม่น้อย ในเรื่องของอาถรรพณ์อันเกี่ยวกับฮวงจุ้ย มีสถานที่หนึ่งของเมืองไทยที่ผู้เขียนได้ไปค้นหาและนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังที่นั่นคือ ศาลเจ้าพ่อสิงห์โตทอง ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา เป็นศาลคอนกรีตขนาดกลาง ภายในเป็นที่ตั้งของสิงห์โตหิน ศิลปะแบบจีน เหมือนตุ๊กตาหินจีนที่ตั้งอยู่ตามวัดพระเชตุพนฯ หรือวัดอรุณราชวรารามเพียงต่างกันที่สิงโตหินตัวนี้ได้ผ่านพิธีการทางไสยศาสตร์ปลุกเสกลงยันต์เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ บันดาลอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

       มีเรื่องเล่าเมื่อหลายสิบปีก่อนถึงความศักดิ์สิทธิ์ของ เจ้าพ่อสิงโตทอง ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนี้ว่ามีอภินิหารนัก ทุกปีจะต้องมีเด็กจมน้ำตายสังเวยเจ้าพ่อไม่ต่ำกว่า 1 คน ชาวบ้านแถวริมน้ำเจ้าพระยาเชื่อกันว่า ท่านต้องการเอาตัวไปเป็นบริวาร ความเป็นมาของ สิงห์โตหินนี้เป็นอย่างไรมาตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่เมื่อไหร่ เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าแก่โบร่ำโบราณ ที่ปัจจุบันไม่ใคร่จะมีใครรู้ประวัติ หรือจำรายละเอียดในที่มาของสิงโตหินตัวนี้ได้

       คนเก่าแก่ละแวกริมแม่น้ำเจ้าพระยา เล่าว่าความจริงแล้วสิงโตหินที่เห็นนี้เป็นหนึ่งในสามของสิงห์โตหินที่จมอยู่ใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางกอกน้อย แต่ได้ถูกนำขึ้นมาสักการะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 ตัว โดยสิงห์โตหินที่อยู่ใต้น้ำอีก 2 ตัวนั้น ตัวหนึ่งมีขนาดเท่ากับสิงห์โตหินในธรรมศาสตร์ แต่อีกตัวมีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นแม่สิงโตกับลูกสิงห์โต 2 ตัว จึงมีเรื่องเล่าลือกันว่าเคยมีคนได้ยินเสียงร้องของสิงห์โตตัวลูกในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร้องหาแม่สิงห์โตและสิงห์โตตัวเล็กอีกตัวที่อยู่ใต้น้ำ ความที่ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้คนเห็นอยู่บ่อยๆ จึงต้องทำการสร้างศาลให้โดยเรียกศาลนี้ว่า ศาลสิงโตทอง เพื่อให้ชาวธรรมศาสตร์และประชาชนที่สัญจรไปมาทางน้ำหรือผู้ประกอบอาชีพในแม่น้ำเจ้าพระยาได้มาสักการะขอความคุ้มครองให้ปลอดภัยหรือบนบานขอในเรื่องอื่น

"ศาลสิงห์โตทอง ตำนานแห่งลุ่มแม่เจ้าพระยา ตอนที่ 1"  (เจอดี - คลิป)

ขอบคุณภาพจาก pantip.com       

       จากความเชื่อเดิมของชาวจีนที่เชื่อว่าสิงโตนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีและสามารถคุ้มครองป้องกันภยันตรายได้ เมื่อนำมาตั้งบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเช่นนี้จึงเป็นที่เคารพบูชาแก่ผู้เดินเรือ โดยจะเห็นว่าเมื่อมีเรือขับผ่าน ผู้ที่สัญจรทางเรือนั้นจะยกมือขี้นมาพนมไหว้เพื่อขอให้ปลอดภัยในเดินเรือ หรือมั่งคั่งในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ และด้วยความศักดิ์สิทธิของศาลสิงห์โตทองแห่งนี้ที่มีชื่อเสียงด้านความรัก อีกทั้งยังตั้งอยู่ในบริเวณของมหาวิทยาลัยจึงส่งผลให้เป็นที่พึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการขอเรื่องโชคลาภ ความรักและการเรียนแก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการจะเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นการได้มาขอพรถึงที่นับว่าเป็นต่อเลยทีเดียว

นอกจากนี้สำหรับนักศึกษาธรรมศาสตร์เอง ยังมีเรื่องเล่ากันปากต่อปากอีกว่าหากอธิษฐานถึงสิงโตทองและปักธูปไว้ที่หนังสือหน้าใดก็ตามหน้านั้นก็จะออกสอบอีกด้วย

"ศาลสิงห์โตทอง ตำนานแห่งลุ่มแม่เจ้าพระยา ตอนที่ 1"  (เจอดี - คลิป)

ขอบคุณภาพ th.foursquare.com

ขอบคุณเนื้อหา ข้อมลู และภาพ  pantip.com/narak.com/ ค่ายจับจิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ /kinkhaaw.blog.so-net.ne.jp/th.foursquare.com

คลิปวีดีโอ   youtube.ดีเจแอน channel