อย่าปล่อยให้เรื่องเงียบ!! น.ศ.ตกบ่อ"ซีพีเอฟ"บทเรียนราคาแพง!! สะท้อนคุณภาพชีวิคคนในโรงงาน!!??

          ตามกันต่อสำหรับประเด็นนักศึกคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ได้พลัดตกไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย ของโรงงานแปรรูปเป็ด-ไก่ ของซีพีเอฟ ในเครือบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง “ซีพี” ต่อมาได้มี พนักงานของบริษัทพยายามเข้าไปช่วยเหลือ อีก 4 คน จนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตทั้งหมด รวม5 คน เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
       

        ซึ่งในส่วนของความคืบหน้าคดีนั้น  ทีมงานได้โทรศัพท์ติดต่อไปสอบถามกับพ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนระหว่างการสอบปากคำพยาน ผู้เกี่ยวข้องในวันเกิดเหตุ เพื่อสืบหาว่ามีใคร ได้กระทำการประมาทร่วมเพิ่มเติมอีกหรือไม่ และจะได้แจ้งข้อกล่าวหา ส่วนตัวของนายปรีชา (ไม่ทราบนามสกุล) หัวหน้าบ่อบำบัด ก็ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้แจ้ง ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว


    อีกด้านหนึ่งต้นเหตุแห่งโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ทางทีมข่าวก็ได้โทรฯไปพูดคุยกับทางท่าน กัมปนาท รุ่งเรืองชัยศรี ผู้อำนวยการสำนักโรงงานอุตสากรรมรายสาขา 1  ภายหลังจากเกิดเหตุได้มีการสั่งปิด “เฉพาะส่วนบำบัดน้ำเสีย”  เป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อให้ทางโรงงานปรับปรุงโดยด่วน ซึ่งถือเป็นคำสั่งที่สุดจะคุลมเครือเป็นอย่างมาก  คล้ายเป็นคำสั่งแทงกั๊ก ??

    และได้คำตอบว่า “ขณะนี้ ทางโรงงานแปรรูปของซีพีเอฟ ได้มีการปรับปรุงฝาปิดบ่อเจ้าปัญหา โดยให้มีการล็อคกุญแจให้แน่นหนา  มีการติดเหล็กราวกั้น เพิ่มขึ้น  และเข้มงวดการเข้า-ออกมาขึ้น ในบริเวรที่เกิดเหตุมากขึ้น  ทั้งนี้ยังรวมถึงยื่นหนังสือขอเปิดทดลองระบบ ซึ่งทางกรมโรงงานเองก็ส่งจนท. ไปติดตาม เป็นระยะๆ” 


    ด้านดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ถึงความบกพร่องเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลระบุว่า...ถ้าดูจากกฎหมายเเรงงานเป็นหลักเป็นกฏกระทรวงที่เกี่ยวกับเรื่องที่อับอากาศ  เราจะเห็นได้ว่าบ่อบำบัดบ่อแรกที่เป็นตัวเก็บรับน้ำที่มีความสกปรกสูงสุดก่อนที่จะไปบำบัดต่อมันเป็นบ่อปิด หมายถึง ตามนิยามกฏกระทรวงถือว่ามันเป็นที่อับอากาศ   ที่อับอากาศตามหลักปฏิบัติสากลเวลาออกแบบมันต้องเป็นที่โล่งแจ้ง เพื่อ 1ให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม 
2 หากเกิดเหตุการเหมือนในเคสนี้ที่เกิดขึ้น หลังจากที่ป้องกันความปลอดภัยหมด แต่มันเกิดเหตุจริงๆ มันจะได้เข้าไปช่วยเหลือบุคลากรได้  สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราเห็นเเล้วว่า  มัทนไม่น่าเกิดขึ้นได้  

     ทั้งนี้ดร.ประเสริฐ ยังระบุอีกด้วยว่า ..เชื่อว่าโรงงานระดับประเทศขนาดนี้น่าจะต้องมีการได้รับรองระบบ ISOหนึ่งหมื่นสี่พันหนึ่ง  ว่าด้วย และก็เเรื่อง หนุ่งหมื่นแปดพันหนึ่ง เรื่องความปลอดภัย  หรือจะโอซ่ากรือเรื่องอะไรของแรงงาน  หรือ เก้าพันหนึ่ง  แต่ในเมื่อมันเกิดเหตุแบบนี้ขึ้นแสดงว่ามันต้องบกพร่องแล้วตามหลักวิชาการ ซึ่งต้องมีการทบทวนแผนปฏิบัติการทั้งหมดว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร จะแก้ไขอย่างไรแไละจะต้องมีการป้องกันอนคตอย่างไรอันนี้ชัดเจนเพราะฉะนั้น ขอวิงวอนผู้ปรพะกอบการรายใดก็ตามต้องจัดทำการทบทวนแผนปฏิบัติการทั้งหมดว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมว่าขณะนี้มันเกิดอะไรขึ้นมาทำไมถึงได้มีคนเสียชีวสติมากมายขนาดนี้

"ถ้าระบบมันทำงานแบบเป็นไปตามปกติตามแผนมันก็จะไม่เกิดขึ้น    ที่สำคัญที่สุดต้องมีการกซ้อมเมื่อเผชิญเหตุฉุกเฉิน การซ้อมนี่สำคัญมาก เราต้องพยากรณ์ว่าถ้าเกิดเหตุการอย่างนั้นอย่างนี้  มาตรการ หนึ่ง  สอง  สาม สี่ จะช่วยได้อย่างไร  อันนี้มันมีหลักวิชาการทางวิศวะกรรมสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ควบคู่ให้ความรู้อยู่แล้วในการจัดการ "


    เป็นที่น่าสังเกตว่า โรงงานระดับพันล้าน แค่ระบบความปลอดภัยพื้นฐานธรรมดาๆ ต้องรอให้ คนอื่นตายหรือ ถึงจะตื่นตัวมีความคิดป้องกันเหตุ  และเมื่อก่อนที่อยู่กันมาตั้งแต่ก่อตั้งโครงงาน ทำไมถึงไม่คิดจะดำเนินการให้เป็นรูปธรรม