ความสำคัญและสิ่งที่ควรปฎิบัติใน " วันอาสาฬหบูชา"  ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเป็นครั้งแรก

ความสำคัญและสิ่งที่ควรปฎิบัติใน " วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเป็นครั้งแรก

 วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถ้าปีใด มีเดือน 8 สองหน ก็เลือนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หลั ความสำคัญ วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก เรียกว่า ปฐมเทศนา ธรรมที่ทรงแสดงชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร โดยแสดงโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ทำให้มีพระสาวกองค์แรกเกิดขึ้นในโลก ได้แก่ พระโกณฑัญญะ และทำให้มีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
 

 การจัดพิธีอาสาฬหบูชา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาครั้งแรก ทำให้เกิดพระอริยสงฆ์องค์แรกของโลกและวันที่พระรัตนตรัยครบองค์ 3
 การปฏิบัติตน
 1. ทำบุญตกบาตรพระสงฆ์หรือนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัดเสร็จแล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
 2. ฟังธรรม รักษาศีล 5 หรือ ศีลอุโบสถ ( ศีล 8 ) เจริญสมาธิ แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์
 3. นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปเวียนเทียนที่วัด หรือ ศาสนาสถานอื่นๆ
 

ข้อสังเกตวันอาสาฬหบูชา บางท่านถือว่าเป็น วันพระสงฆ์

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่อ

 หลักธรรมที่เกี่ยงเนื่องในวันอาสาฬหบูชาที่นักเรียนควรศึกษาในที่นี้ คือ จักร 4

 จักร หมายถึง ธรรมที่เปรียบเสมือนล้อรถนำชีวิตไปสู้ความเจริญรุ่งเรือง เรียกว่า ธรรมจักร มี 4 ประการ คือ
 1. การอยู่ในห้องถิ่นที่เหมาะสม ( ปฏิรูปเทสวาสะ ) ได้แก่ การอยู่ร่วมกับคนดีและการอยู่ในที่เจริญ การอยู่ร่วมกันคนดี จะทำให้เห็นส่งทีดี ได้รับความรู้ดี จะส่งผลให้เราเป็นคนดี  ส่วนการอยู่ในที่เจริญ ช่วยให้เราได้รับความสะดวกสบาย และโอกาสที่จะได้ทำความดีมีมาก
 2. การคบคนดี ( สัปปุริสุปัสสยะ) ได้แก่ การคบคนที่มีความรู้และความประพฤติดี คนดีย่อมแนะนำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ถูกต้อง ไม่แนะนำทางเสื่อมเสียแก่เรา อีกทั้งความประพฤติส่วนตัวของคนดี ก็ไม่เสียหาย ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่คนที่คบหาและคนข้างเคียง
 3. การตั้งตนไว้ชอบ ( อัตตสัมมาปณิธิ ) หมายถึง การดำรงตนตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดี เป็นผู้มีศีลธรรมจริยธรรมที่ดีงาม อีกนัยหนึ่ง หมายถึง การมีจิตตั่งมั่นในคุณงามความดี และศีลธรรมจริยธรรม
 4. ความเป็นผู้ทำความดีไว้ก่อน ( ปุพเพกตปุญญตา ) หมายถึง การทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว การทำความดีในขณะนี้จะเป็น พื้นฐานความดีของสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ดังนั้น ผู้ที่ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนจึงได้มีชื่อว่าเป็นผู้มีความพร้อม

 

ขอบคุณที่มา