รู้หรือยัง!! ที่มาของคำว่า...นอยด์...ที่หลายๆคนอาจไม่รู้

รู้หรือยัง!! ที่มาของคำว่า...นอยด์...ที่หลายๆคนอาจไม่รู้

วันนี่เรามีเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ มาฝากเพื่อนๆกัน หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า นอยด์ ในภาษาวัยรุ่นที่เขาชอบใช้กันซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความรู้สึกคคิดมากหรือ บ่งบอกถึงการไม่พอใจใจคู่รัก เเต่หารู้ไม่คำว่านอยด์ ชื่อเต็มๆ ของมันคือ พารานอยด์ ซึ่งเป็นอาการทางจิตชนิดนึงที่เกิดขึ้นกับทุกเพศ ทุกวัย เราไปทำความรู้จักกับมันกันเลย รู้หรือยัง!! ที่มาของคำว่า...นอยด์...ที่หลายๆคนอาจไม่รู้

พารานอยด์ คืออะไร เป็นโรคหรือเปล่า?

อาการหวาดระแวงพบได้จากหลายโรค

เช่น โรคจิตเภท ซึ่งมีหลายประเภท มีอาการแสดงอย่างหนึ่งคือหวาดระแวง แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจิตเภททุกคนจะหวาดระแวง มีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น และพบในคนอายุน้อย อีกโรคหนึ่งคือโรคหลงผิด พบได้ในคนอายุมาก โดยอาการส่วนใหญ่ออกมาในแนวหวาดระแวง เช่น ระแวงว่าภรรยาคบชู้ ระแวงว่าเพื่อนบ้านจะนำยาพิษมาใส่อาหาร เป็นต้น

เมื่อมีอาการนี้แล้ว แพทย์จะต้องตรวจเพิ่มว่ามีอาการอย่างอื่นหรือไม่ เพราะโดยปกติจะมีหลายอาการร่วมด้วย รายที่ระแวงเป็นชั่วครั้งชั่วคราว รักษาไม่ยาก พบได้ในกลุ่มที่มีปัญหาทางอารมณ์ หรือปัญหาบุคลิกภาพ แต่รายที่ระแวงอยู่นานน่าจะอยู่ในกลุ่มของอาการทางจิตแบบหนึ่ง หรืออาจเป็นจากสาเหตุอื่น เช่น สารพิษ สารเสพติด ที่พบมากคือยาบ้า ยาอี รวมทั้งสารระเหยต่างๆ

คนหวาดระแวงที่อายุมาก หรือมีการศึกษา เวลาระแวงจะสังเกตได้ยาก

เพราะเขาจะรู้ว่าควรระแวงแบบไหนทำให้ดูไม่ผิดปกตินัก สำหรับรายที่ระแวงมากๆ หรืออายุน้อย เช่น วัยรุ่นกลุ่มโรคจิตเภท ค่อนข้างชัดเจน อาจมีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน ไม่ดูแลตัวเอง ไม่ไปเรียน ไม่ไปทำงาน แสดงว่าผิดปกติชัดเจน แต่ถ้าทำงานอะไรได้ตั้งหลายอย่าง ต้องดูอาการอื่นๆ ถ้าไม่แน่ใจอาจปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะบางรายต้องใช้การทดสอบทางจิตวิทยา หรือรายที่มีอายุมาก สาเหตุไม่ชัดเจน ต้องตรวจร่างกายด้วย  

ผู้ป่วยบางรายมีอาการทางกาย

เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เนื้องอกในสมอง โรคเอสแอลดีขึ้นสมอง ก็ทำให้เกิดความหวาดระแวงได้ จิตแพทย์ต้องสังเกตว่ามีอาการทางกายด้วยหรือไม่ อยู่นอกบ้านเผชิญคนหวาดระแวง แก้สถานการณ์อย่างไร ต้องสังเกตให้ได้ก่อนว่าคนนี้น่าสงสัย คนที่หวาดระแวงคือคนที่อาจระแวดระวังผิดปกติ เช่น หลบมุม ถือวัตถุสิ่งของที่อาจเป็นอาวุธ อย่างนั้นต้องรีบออกห่าง ถ้าไม่ทันสังเกต หรือไม่ได้คาดการณ์มาก่อน ที่ควรทำคืออย่าไปโต้แย้ง เขาพูดอะไรมาก็ฟังเรื่อยๆ ก่อนพยายามปลีกตัว หรือแจ้งตำรวจตรวจสอบ กรณีเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องใช้วิชาป้องกันตัว หรือใช้คำพูดเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจเขา โดยธรรมชาติคนหวาดระแวงจะกังวลว่าตัวเองจะถูกทำร้าย เพราะฉะนั้นเขาต้องป้องกันตัวเอง ทำอะไรที่น่าสงสัยขึ้นมาไม่ดีเขาจะทำร้ายก่อน  ดังนั้น เมื่อรู้ว่าคนใกล้ชิดหรือคนรอบข้างในสังคมหวาดระแวง ควรแนะนำไปตรวจเช็คสุขภาพจิต เมื่อตรวจแล้วมีปัญหาจะได้รักษากันไป อย่าปล่อยให้อาการหวาดระแวงเป็นมาก เพราะจะทำให้รักษายากและใช้เวลารักษานาน 

รู้หรือยัง!! ที่มาของคำว่า...นอยด์...ที่หลายๆคนอาจไม่รู้

การจำแนกสภาวะระแวง

 

สภาวะระแวงแบ่งเป็น ๕ แบบ คือ

 

1. Paranoid state, simple หมายถึง สภาวะระแวง ซึ่งมีความหลงผิดว่าตนถูกควบคุมบังคับ ถูกปองร้าย หรือถูกกระทำโดยวิธีการพิเศษบางอย่างเป็นอาการสำคัญ ความหลงผิดนี้ค่อนข้างฝังแน่น เป็นเรื่องเป็นราว และดูเป็นจริงเป็นจัง อาจมีลักษณะแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง

2. Paranoia เป็นสภาวะระแวง ซึ่งความหลงผิดค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว และมีเหตุผล รวมทั้งฝังแน่นไม่เปลี่ยนแปลง โดยที่ความคิดอื่นๆ ยังคงเรียบร้อยและชัดเจนดี ความหลงผิดที่สำคัญ คือ หลงว่าตนมีความสำคัญเป็นพิเศษ ตนถูกปองร้าย หรือร่างกายผิดปกติ

3. Paraphrenia เป็นโรคจิตแบบหวาดระแวงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการประสาทหลอน เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด และมักมีลักษณะเป็นหลายแบบ สภาวะนี้อาจเกิดในวัยต่อ เรียกว่า Involutional paranoid state หรือ Late paraphrenia

4. Induced psychosis คือ สภาวะระแวงซึ่งมักจะเป็นเรื้อรัง และไม่มีลักษณะชัดเจน เกิดในคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนอีกคนซึ่งมีความหลงผิดอยู่ ความหลงผิดของเขาทั้งสองจะคล้ายกัน หรืออย่างน้อยก็มีความหลงผิดบางส่วนร่วมกัน อาจเกิดกับบุคคลมากกว่า ๒ คน แต่พบได้น้อยมาก โรคนี้สมัยก่อนเรียกว่า Folie a deux

3. Other and unspecified ได้แก่ สภาวะระแวงแบบอื่นๆ ที่ไม่เข้าลักษณะ ๔ แบบ ที่กล่าวข้างต้น

การดำเนินของโรคในพวก Paranoia และ Induced psychosis มักเรื้อรัง แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรงเป็นครั้งคราวแล้วหายไปเป็นระยะๆ ได้ การดำเนินโรคของสภาวะระแวง แบบ simple อาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังก็ได้

รู้หรือยัง!! ที่มาของคำว่า...นอยด์...ที่หลายๆคนอาจไม่รู้

paraniod

การป้องกันไม่ให้มีอาการหวาดระแวง

โดยทั่วไปร่างกายมีกลไกตามธรรมชาติอยู่แล้วในการป้องกัน คือเหตุผล เช่น สงสัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะหาเหตุผลว่าใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ล้มเลิกไป นอกจากนั้น สถานการณ์บางอย่าง เช่น อยู่ในสังคมที่หวาดระแวง หรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ถ้ามีความระแวงบ้างอาจมีประโยชน์ เพราะระมัดระวังตัวมากขึ้น แต่หวาดระแวงแบบนี้ไม่ใช่อาการ เป็นความระแวดระวัง ฉะนั้นเพื่อนๆรู้กันหรือยังว่าคำนี่จริงๆเเล้วคืออะไร เเต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่นำเสนอมานี้เพื่อความรู้เท่านั้น เพราะอาการเเบบนี่เกิดขึ้นได้ยากมากที่จะต้องถึงขั้นรักษาหรือพบเเพทย์ การรักษาเบื้องต้นง่ายๆ คือ การดูเเล เอาใจใส่ซึ่งกันเเละ เพื่อความสบายใจของคนที่เรารักเเละห่วงใย

ขอบคุณ http://health.campus-star.com  เเละ http://www.healthcarethai.com ที่มาของข้อมูล เเละ ผู้ที่เขียนทุกท่าน

ข้อมูลผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ