รัฐบาล หารือปรับ  "เพลงชาติ"   เนื่องในโอกาสครบร้อยปี วันพระราชทานธงชาติไทย 28 ก.ย. นี้! (เจอดี )

รัฐบาล หารือปรับ "เพลงชาติ" เนื่องในโอกาสครบร้อยปี วันพระราชทานธงชาติไทย 28 ก.ย. นี้

         ในวันนี้ (14 ก.ค.2560)  ที่ทำเนียบรัฐบาล นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า  ในการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำเพลงชาติไทยครั้งที่ 1/2560 ที่ประชุมจะมีการหารือกันถึงเรื่องโครงสร้างและคำร้อง ร้องเพลงชาติไทยซึ่งในปีนี้จะครบ 100 ปี วันพระราชทานธงชาติไทย ในวันที่ 28 ก.ย. นี้ 

     ซึ่งเบื้องต้นทางรัฐบาลนั้นก็ได้มีการหารือเกี่ยวการปรับ เพื่อให้มีความเข้ายุคสมัยมากขึ้นเท่านั้น โดยจะยังคงเนื้อร้องเอาไว้อย่างเดิม แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงคณะผู้ร้อง โดยมีศิลปินนักร้อง ที่จะมาร่วมร้องเพลงชาติในรูปแบบใหม่ 6 ท่าน ประกอบด้วย นายกิตตินันท์ ชินสำราญ หรือกิต เดอะวอยซ์ ,นายสุรชัย วงษ์บัวขาว หรือ ต้า มิสเตอร์ทีม , นายสุวีระ บุญรอด หรือ คิว วงฟลัวร์ , นายพีระวัฒน์ เถรว่อง (บี), นายจิรากร สมพิทักษ์ หรือเอ๊ะ จิรากร , และนายณัฐ ศักดาทร(ณัฐ AF) นอกจากนี้ยังได้มีการปรับเปลี่ยนภาพประกอบหรือวีดีทัศน์เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยอีกด้วย   ซึ่งในส่วนของทำนอง และดนตรีนั้นก็ได้ นักประพันธ์เพลงมือดีแห่งยุค ผู้ประพันธ์เพลงที่เขียนถึง ในหลวงรัชการ ที่ 9  เอาไว้มากมายอย่าง คุณ ดี้นิติพงษ์ ห่อนาค  และ คุณ วิรัช อยู่ถาวร  เป็นผู้เรียบเรียงใหม่
 


    นอกจากนี้ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าเตรียมจัดกิจกรรมในวันที่ 28 กันยายน เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย และไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ  โดยในวันนั้น นายกรัฐมนตรีจะมีคำกล่าวปราศัย เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ100 ปี ธงชาติไทย


    ที่มาของทำนองเพลงชาติปัจจุบันนั้น จากบันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ ได้เล่าไว้ว่า ราวปลายปี พ.ศ. 2474 เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นเพลงหนึ่ง ในลักษณะของเพลงลามาร์แซแยส แต่ทางพระเจนดุริยางค์ได้ปฏิเสธไปเนื่อด้วยเห็นว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว และคำสั่งดังกล่างนี้ก็ไม่ใช่ของทางการแต่อย่างใด และถึงแม้ว่าจะมีการตื้ออยู่หลายครั้งหลายครา พระเจนดุริยางค์ก็หาทางบ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะท่านสงสัยว่าการขอร้องให้แต่งเพลงนี้อาจมีเหตุผลทางการเมืองเคลือบแฝงเนื่องจากในเวลานั้นก็มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติอย่างหนาหูด้วย

    ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผ่านไป 5 วัน  หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งพระเจนดุริยางค์รู้ภายหลังว่าเป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎรด้วย ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ตัวท่านเห็นว่าคราวนี้คงเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และแต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดการที่นัดหมายกัน
เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการ และ เป็นฉบับต้องห้าม ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475 


     แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง    ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
          สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา    ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
                             บางสมัยศัตรูจู่มารบ    ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
                ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท    สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
     อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย    น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
                เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชา    เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
                   ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี    ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
         เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย    สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย
    

         สำหรับเพลงชาติไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น ถือว่าเป็นฉบับที่ 7 เนื่องจากเมื่อครั้ง ปีพ.ศ. 2482 ได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศจาก ทางรัฐบาล  จาก "สยาม" มาเป็น  "ประเทศไทย" แทน ทำให้มีการแก้ไขเนื้อร้องเพลงชาติใหม่อีกครั้งโดยกำหนดให้แต่งให้เข้ากับทำนองเดิมของพระเจนดุริยางค์ที่ใช้อยู่ ที่สุดแล้วคณะรัฐมนตรีมีวินิจฉัยให้ใช้เนื้อร้องที่ประพันธ์โดย นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) โดยมีการแก้ไขบ้างตามความเหมาะสม ก่อนประกาศใช้เป็นเพลงชาติไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2482 และยังคงใช้เนื้อร้องเพลงชาติไทยฉบับนี้จนถึงปัจจุบัน 


  ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย    เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน
                     อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล    ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
             ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด    เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
            สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี    เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย

 

              ทั้งนี้เพลงชาติในรูปแบบใหม่จออกมาเมื่อไหร่หรือมีทำนองเป็นอย่างไร  นั้นคึงต้องคอยติดตามความคืบหน้ากันต่อไป