"ไพบูลย์" ชี้ชัด!! หาผลประโยชน์จากศาสนา หลงลืมพระวินัย ถึงเวลาปฏิรูปวงการสงฆ์เสียที ก่อนจะไร้ซึ่งความน่าศรัทธา!!

นาทีนี้หากพูดถึงการปฏิรูปนั้หลายต่อหลายคนคงนึกไปถึงวงการตำรวจ วงการสีกากี หรือวงการนักการเมืองเป็นแน่ แต่นอกเหนือไปจากวงการเหล่านั้นแล้ว  ยังมีอีกหนึ่งวงการที่วุ่นวายไม่แพ้กันหากแต่ไม่เป็นที่ จับตามองในวงกว้างก็เท่านั้น   

    ล่าสุดกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนักในตอนนี้ สำหรับการเสนอชื่อแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทราโดยมิชอบและรวดเร็วเกินไปทั้งที่การเสนอชื่อไม่มีการผ่านสำนักพระพุทธศาสนาหรือ(มส)เห็นชอบเสียก่อนโดยมีการนำรายชื่อพระ2รูปเสนอเข้าที่ประชุม(มส)ครั้งที่17/2560วันที่.20.ก.ค.60

     โดยสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศน์วิหารเป็นประธานในการประชุมแทนสมเด็จพระอริยวงสาคตญาณ สมเด็จพระ สังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เนื่องจากทรงพระประชวร ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบตามที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกเสนอให้พระราชปริยัติติสุนทร (อมรภิรักษ์ ปสนโน) ผู้ช่วย เจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม วรวิหาร เจ้าคณะอำเภอเมืองฉะเชิงเทราให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา

    ก่อนหน้านี้กลุ่มรักษ์ธรรมเมืองแปดริ้ว ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1/2560 วันที่23.ก.ค.60  ในบางช่วงระบุว่า...
   "ที่ประชุมมาหาเถรสมาคมให้พระราชปริยัติสุนทรดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่สมเด็จพระสังฆราชฯ มิได้เสด็จมาเป็นประธานที่ประชุม สมเด็จพระวันรัตผู้เป็นประธานที่ประชุมจึงไม่อาจจะรู้ว่าสมเด็จพระสังฆราชจะทรงมีพระวินิจฉัยในเรื่องนี้อย่างไร ฉะนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรถวายพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราชฯด้วยการทบทวนการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทราและควรถือปฏิบัติให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย กดมหาเถรสมาคมร่วมกันรักษาภาพลักษณ์ของคณะสงฆ์ไทยให้สง่างามป้องกันมิให้ผู้ใดเอากรณีนี้เป็นเหตุให้ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายสงฆ์"

    ยังไม่เพียงเท่านั้นเมื่อต่อมา"หลวงปู่พุทธะอิสระ" วัดอ้อน้อย ได้ออกมาเปิดเผยถึงการแต่งตั้ง “เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา”โดยมิชอบ เหตุประพฤติผิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรง ซึ่งบางช่วงระบุว่า..

    พระราชปริยัติสุนทร (อมรภิรักษ์) เจ้าคณะอำเภอเมืองฉะเชิงเทราและพวกถูกคำพิพากษาจากองค์คณะผู้สอบอธิกรณ์จนความผิดปรากฏชัดถึงขนาดที่ประชุม มส. ครั้งที่ ๘/๒๕๕๓ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ เลขาธิการมหาเถรสมาคมได้แจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบแล้วว่า พระปริยัติกิจวิธาน (อมรภิรักษ์) ยศในขณะนั้นและพวกเป็นผู้ละเมิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรง จนถึงขนาดต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง แต่ก็มาได้รับการฟอกตัวในยุคสมเด็จพระพุฒาจารย์แห่งวัดไตรมิตร

    และสมเด็จวัดไตรมิตรที่เสนอชื่อผู้ที่ไม่พึงประสงค์ของพระธรรมวินัยให้ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด  ทั้งที่เขามีรองเจ้าคณะจังหวัดอยู่แล้วกลับไม่เลื่อนขึ้นให้เป็นเจ้าคณะจังหวัด

อีกทั้งหลวงปู่พุทธอิสระ ยังระบุอีกด้วย...
ได้ยินข่าวมาอีกเหมือนกันว่า งานนี้เขาจ่ายกันไม่ต่ำกว่าสิบล้าน แถมรถเบนซ์ อีก 1คัน
พอได้เงินได้รถเข้าไปหูตาเลยลาย ที่เลวกลายเป็นดี ที่เป็นผีก็กลายเป็นคน

    ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่าเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 53  มีการประชุมมหาเถรสมาคม โดยในการประชุมได้มีการแจ้งต่อที่ประชุมให้ทราบถึงลิขิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ซึ่งมีลิขิตที่ จญ.อ.27/2553 ลงวันที่ 9 เม.ย. 2553 แจ้งตามรายงานของพระพรหมสุธี เจ้าคณะภาค 12 ว่า พระเทพปัญญาเมธี เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรายงานจากพระราชมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามว่า ได้สั่งพักตำแหน่งหน้าที่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรฯ จำนวน 7 รูป และได้ปรากฏชื่อพระปริยัติกิจวิธาน ถูกร้องเรียนว่า ละเมิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรง

    ต่อมาได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ระหว่างการสอบสวนพระเทพปัญญาเมธี เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้เคยสั่งพักงาน เจ้าคุณปริยัติกิจวิธาน ในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ไปก่อนหน้าแล้ว ตั้งแต่เมื่อ วันที่ 27 ม.ค.53

    ถ้าเป็นเช่นนั้นตามข้อมูลที่ปรากฎจริง คำถามสำคัญต่อมาว่า สมเด็จพระสังฆราชสามารถมีวินิจฉัยหักล้างมติมส.ได้หรือไม่  ซึ่งในเรื่องนี้เองทางนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี  เองก็ได้ออกมาให้คำตอบในเรื่องอนี้ อย่างชัดเจน โดยกล่าวว่า...

    ท่านจะใช้  วิธีนำเรื่องเข้ามส.ให้ทบทวนมากกว่า ท่านจะไม่ทรงวินิจฉัยเอง เพราะอำนาจของสมเด็จพระสังฆราชมีในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเรื่องดังกล่าวใช้อำนาจโดยผ่านองค์กรคือ มส. ท่านจึงต้องนำเรื่องกลับเข้าไปองค์กร โดยมส.สามารถพิจารณากลับ มติเดิมได้ เหมือนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กลับมติตัวเองบ่อยครั้งไป
ทั้งนี้เกิดจากกระบวนการออกแบบคณะสงฆ์การจัดการโครงสร้างการบริหารและ การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 การตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ เกิดขึ้น ตั้งแต่สมัย ที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นเวลากว่า 55ปี ที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

    โดยตอนนั้นขณะออกกฎหมายได้ให้อำนาจ”เผด็จการ” คือการรวบรวมอำนาจไว้ที่พระภิษุในแต่ชั้นปกครองมีอำนาจเบ็ดเสร็จและเด็ดขาดเช่น การตรวจอธิกรณ์ เป็นผู้ตัดสินต่างๆ คล้ายตุลการ อีกทั้งยังมีอำนาจในการปกครองแต่งตั้งโยกย้าย ในลำดับถัดมาได้อย่างเด็ดขาด และถือเป็นการมีอำนาจเดี่ยว สิ่งเหล่านี้จึงอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุทำให้เกิดการซื้อขายตำแหน่งในวงการผ้าเหลืองผ้า และแย่งชิงพื้นที่วัดดังคล้ายกับวงการตำรวจ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จึงเป็นที่มาของการเดินหน้า ขับเคลื่อนการปฏิรูปคณะสงฆ์

  

 ทั้งนี้้คุณไพบูลย์  นิติตะวัน ผู้ที่เคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปวงการสงฆ์ นั้นก็ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวสกับเรื่องของการปฏิรูปวงการสงฆ์เอาไว้อย่างน่าสนใจ ผ่านทางรายการทิีนิวส์สด ลึก จริง  โดย ได้ระบุว่า  ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ก็เนื่องจากการละเมิดพระธรรมวินัยของสงฆ์  โดยเฉพาะประเด็นในส่วนของการหาผลประโยชน์จากศาสนา ไม่ว่าจะจากทางวัด จากการบริจาคจากญาติโยม หรือช่องทางต่างๆ ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้ก็สะท้อนมาจากปัญหาต้นตอ ใหญ่อย่างการปกครองคณะสงฆ์ ที่ไม่เป็นไปตามพระวินัย เป็นระบบที่ผูกขาดอำนาจ ที่พระภิกษุบางกลุ่มมีอำนาจเด็ดขาด และแสวงหาประโยชน์จนหลงลืมพระธรรมวินัย
    โดยปัญหาดังกล่าวนั้นสามารถแก้ได้ด้วยการที่ตั้งกฎหมาย ออกพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ให้เกิดการกระจายอำนาจเกิดขึ้นและสามารถตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจได้   เปิดเผยโปร่งใสตรวจสอบได้และที่สำคัญนั้นจะต้องอิงในหลักของพระธรรมวินัย

    ซึ่งเมื่อถามถึงการรื้อกฎหมาย พ.ร.บ.สงฆ์นั้น ทางคุณไพบูลย์ได้ให้คำตอบว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเริ่มกระบวนการใดใด  เนื่องจากว่ามีการทักท้วงมาจากทางมหาเถรสมาคม (มส.)ด้วยเห็นว่าเรื่้องดังกล่าวก็ควรจะต้องแจ้งมาทาง มส. เพื่อผ่านการเห็นชอบ ซึ่งก็ดูเหมือนว่าหากเป็นเช่นนั้นแล้ว็้คงจะแก้อะไรไม่ได้ และก็คงจะได้ต่างอะไรกับการปฏิรูปตำรวจเท่าไร

           ทั้งนี้ยังได้กล่าวอีกด้วยว่าอยากจะให้ทางประชาชน หรือพระภิกษุผู้น้อย ต่างๆนั้น เข้าร่วมกันเรียกร้องให้รื้อร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์  ก็น่าจะสามารถทำได้สำเร็จ    


    อย่างไรก็ตามหากปัญหาต่างๆเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง จนนำไปสู่ปัญหาทุจริตเงินทอนวัด และอีกหลายๆเรื่องก็ตามเกิดจากการปกครองแบบพระรูปเดียวจากอำนาจพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505  ดังนั้นจึงต้องกลับมาพิจารณาแล้วว่า วันนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องปฏิรูปวงการพระสงฆ์ไทย