รู้หรือไม่...เมื่อเราตกอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจ...ร่างกายเราหาทางออกกับสิ่งนั้นอย่างไร??

รู้หรือไม่...เมื่อเราตกอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจ...ร่างกายเราหาทางออกกับสิ่งนั้นอย่างไร??

กลไกลการป้องกันตัวเองเป็นกลไกลส่วนหนึ่งในร่างกายของเราที่สร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันเราจากภาวะความเป็นดันที่เลวร้ายทางจิตใจหลายคนเคยลองย้อนมองตัวเองไหมว่า เมื่อเราตกอยู่ในภาวะกดดันต่างๆนาๆนั้นสิ่งเเรกที่เราอาจเผลอปากหลุดออกมาคือคำว่า "ไม่ " ซึ่งเป้นสิ่งเเรกที่เราหลุดออกมาโดยอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว กลไกลการป้องกันตัว หรือการปรับตัวมีมากมายหลายวิธีเเต่จะขอนำมากล่าวเพียงวิธีสำคัญดังนี่

รู้หรือไม่...เมื่อเราตกอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจ...ร่างกายเราหาทางออกกับสิ่งนั้นอย่างไร??

  1. การเก็บกด (Repression) เป็นวิธีพื่นฐานปกปิดความขัดแย้งเอาไว้เพื่อไม่ให้แสดง เพราะหากแสดงพฤติกรรมออกมาจะถูกสังคมตำหนิได้ เพราะหากแสดงพฤติกรรมออกมาจะถูกสังคมตำหนิได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่ที่นั่งดูกีฬาที่ตื่นเต้น ซึ่งโดยจิตใจที่แท้จริงแล้วอยากที่จะแสดง อาการเชียร์อย่างเต็มที่ แต่เกรงจะถูกตำหนิว่าทำตัวไม่เหมาะสมกับฐานที่เป็นผู้ใหญ่ ที่ไม่สำรวม จึงเพียงแต่นั่งดูกีฬาเฉยๆ
  2. การป้ายความผิดให้กับอื่น (Projection) เป็นการบิดเบียนความรู้สึกอันเกิดจากความต้องการของตนเองที่ไม่ดีไปให้บุคคลอื่น ตัวอย่างเช่น คนที่มี ความรู้สึกกว่าตนเองเป็นคนเห็นแก่ตัว มักจะตำหนิผู้อื่น

3.การยึดถือผู้อื่นเป็นแบบอย่าง(Identification) เป็นการเลียนแบบพฤติกกรมของผู้อื่นที่ตนเชื่อว่าเขามีความสามารถที่จะจัดการกับความขัดแย้งเช่น เดียวกับความขัดแย้งที่ตนเผชิญอยู่ได้ประสบผลสำเร็จ เช่น การเลียนแบบพ่อหรือแม่เป็นต้น

4.การแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามกับความรู้สึก (Reaction formatrion)

เป็นการแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่ตนมีในใจ ตัวอย่าง ผู้ชายหลงรักผู้หญิงจึงแสดงความรู้สึก เป็นการหลอกตนเองเพื่อป้องกันศักดิ์ศรี

รู้หรือไม่...เมื่อเราตกอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจ...ร่างกายเราหาทางออกกับสิ่งนั้นอย่างไร??

โดยปกติจิตใจของมนุษย์ถูกเรียกร้องด้วยความต้องการทางร่างกายและแรงกระตุ้นจากสัญชาตญาณ ซึ่งมักจะขัดกับความต้องการหรือกฎเกณฑ์ของโลกภายนอกหรือสังคม คุณธรรมหรือ จริยธรรม และประสบการณ์เก่าๆ อยู่ตลอคเวลา ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในจิตใจ แต่เมื่อ ego ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งของจิตใจได้รับสัญญาณความขัดแย้งดังกล่าวก็จะพยายามปรับหรือเปลี่ยนแปลง แก้ไขความต้องการของแต่ละฝ่ายให้มาสู่ระดับที่พอเหมาะพอดี เป็นที่ยอมรับทั้งในจิตใจของตนเองและสังคมหรือวัฒนธรรมนั้น ๆ ทำให้จิตใจเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ หลุดพ้นจากความวิตกกังวลไปได้ ขบวนการทำงานของ ego นี้ เรียกว่ากลไกป้องกันของจิตใจ ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก และส่วนน้อยอยู่ในระดับจิตสำนึก ได้แก่

รู้หรือไม่...เมื่อเราตกอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจ...ร่างกายเราหาทางออกกับสิ่งนั้นอย่างไร??

1. Repression เป็นรากฐานของกลไกทางจิตทุกชนิค วิธีนี้ ego จะกดแรงกระตุ้น (impulse) ความรู้สึก (feeling) ความต้องการ (wish) ความเพ้อฝัน (fantasy) และความจำ (memory) ต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับจากระดับจิตสำนึกไปสู่ระดับจิตไร้สำนึก เช่น การสัญญาว่าจะทำอะไรสักอย่างที่ตนไม่อยากทำ ก็ทำให้ลืมกระทำสิ่งนั้นได้

2. Rationalization เป็นการให้เหตุผลแก่ตัวเองสำหรับพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น มาทำงานสาย ก็ให้เหตุผลกับตัวเองว่า เพราะรถติด

3. Sublimation เป็นกลไกของจิตที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในทางเสริมสร้างมากกว่ากลไกของจิตชนิดอื่น ๆ เป็นการเปลี่ยนแรงผลักดันต่าง ๆ (drives) ทั้งทางเพศและความต้องการก้าวร้าวไปสู่วิถีทางที่สังคมยอมรับ ตัวอย่าง คนที่มีความรู้สึกก้าวร้าวอยู่เป็นนิจ ก็เลือกอาชีพเป็นนักมวย เป็นนักกีฬา หรือเป็นศัลยแพทย์ เป็นต้น

4. Projection เป้นกลไกของจิตชึ่ง ego ปฏิเสธสัญชาตญาณ (id) หรือแรงกระตุ้น (impulse) ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมโดยการเอาไปให้ผู้อื่น ตัวอย่าง ชายที่สมรรถภาพทางเพศเสื่อมจะโทษว่าการที่ตนไม่ได้ยุ่งเกี่ยวทางเพศกับภรรยาเป็นเพราะภรรยาไม่สนใจตน เอาใจเผื่อแผ่ให้ชายอื่น

5. Displacement คือขบวนการที่ความคิด (idea) หรือภาพพจน์ (image) อันหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับความคิดหรือภาพพจน์อีกอันหนึ่ง ถูกแทนที่กันไปมา เช่น หญิงคนหนึ่งมีความขมขื่นต่อความขี้เมาของบิดา เลยเกลียดผู้ชายทุกคนที่ขี้เมา

6. Identification เป็นขบวนการทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งบุคคลรวบรวมลักษณะต่าง ๆ ของผู้อื่นซึ่งเขาพอใจ แล้วนำมาเป็นแบบอย่างสำหรับประพฤติปฏิบัติ จนเกิดลักษณะประจำตัว ของเขาเอง

 

ในระยะเพศ (oedipal period) ของการพัฒนาทางบุคลิกภาพตามทฤษฎีของ Freud กลไกป้องกันของจิตชนิดนี้ถูกนำไปใช้ในการลอกเลียนลักษณะ ท่าทาง วิธีการพูด แนวความคิด และมโนธรรม จากบิดาหรือมารดาเพศเดียวกันซึ่งในจิตไร้สำนึกถือเป็นศัตรูของตน เรียก identification with aggressor

7. Regression เมื่อมีสภาวะซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในจิตใจ ego จะถอยไปสู่ระดับของบุคลิกภาพที่ต่ำกว่าเดิม ตัวอย่าง เด็ก ๓ ขวบ ซึ่งเลิกดูดนมแล้ว เมื่อมีน้องความอิจฉาน้องอาจทำให้ถอยไปสู่ระยะที่เป็นเด็กกว่า คือหันกลับมาดูดนมอีก

 

8. Turning against the self (introjection) คือการไม่สามารถทนต่อความรู้สึก ก้าวร้าวของตนที่มีต่อคนที่นับถือ เช่น บิดา มารดา หรือครู และความก้าวร้าวนั้นกลับเข้าหาตนเอง คือทำร้ายตนเอง พบในพวกโรคจิตทางอารมณ์ (Manic-depressive psychosis) อารมณ์ของคนพวกนี้ไม่เป็นผู้ใหญ่และขาดความนับถือตนเอง (self-esteem) ต้องการให้คนอื่นชมเชยอยู่เสมอ ถ้าได้เป็นใหญ่จะมีความต้องการสูง ไม่รักใครจริง และรักใครไม่เป็น ความ รักที่ให้คนอื่นเป็นการลงทุน เพื่อให้เขารักตอบแทน ต่อคนที่เขารักจะมีทั้งความรักและความเกลียดรวมกัน ถ้าคนที่เขารักเกิดอันตราย ความรู้สึกรักและเกลียคซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความรู้สึกเกลียดจะกลับเข้าหาตนเองคือเกลียดตัวเอง และอาจทำลายตัวเองได้

 

9. Isolation คือการที่ความคิดและอารมณ์หรือความรู้สึก แยกจากกันหรือไม่ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น เขาคิดซ้ำ ๆ ว่าจะฆ่าลูก แต่เขาไม่มีความรู้สึกโกรธหรือเกลียดลูกของเขาเลย หรือเขาต้องเดินไปตรวจดูที่ประตูหลาย ๆ ครั้ง ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็รู้สึกว่าประตูปิดเรียบร้อยแล้ว มักพบในโรคประสาทแบบย้ำคิดย้ำทำ

10. Reaction formation เป็นกลไกของจิตใจซึ่งแรงกระตุ้นอันไม่เป็นที่พึงปรารถนา ถูกเก็บไว้ในจิตไร้สำนึก และแสดงออกตรงกันข้าม เช่น คนที่ก้าวร้าว อาจแสดงออกในลักษณะ เป็นคนที่สุภาพมากผิดปกติ

รู้หรือไม่...เมื่อเราตกอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจ...ร่างกายเราหาทางออกกับสิ่งนั้นอย่างไร??

10. Reaction formation เป็นกลไกของจิตใจซึ่งแรงกระตุ้นอันไม่เป็นที่พึงปรารถนา ถูกเก็บไว้ในจิตไร้สำนึก และแสดงออกตรงกันข้าม เช่น คนที่ก้าวร้าว อาจแสดงออกในลักษณะ เป็นคนที่สุภาพมากผิดปกติ

11. Substitution คือขบวนการทดแทนซึ่งเป็นแบบหนึ่งของ displacement หมายถึง การที่สิ่งหนึ่งซึ่งเราพอใจมาก แต่ไม่สามารถเป็นเจ้าของ ถูกทดแทนด้วยอีกสิ่งหนึ่งซึ่งจิตไร้สำนึก ยอมรับได้ โดยปกติสองสิ่งนี้มักจะมีอะไรบางอย่างคล้ายกัน เช่น ชายคนหนึ่งต้องการแต่งงานกับแพทย์ แต่บังเอิญไม่สมหวัง เลยแต่งงานกับทันตแพทย์

 

12. Restitution เป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะของ substitution คือเป็นขบวนการทดแทนทางจิตใจ ซึ่งเมื่อของมีค่าอย่างหนึ่งหายไป จะมีการทดแทนโดยของอีกอย่างหนึ่ง เช่น เด็กหญิง คนหนึ่งทำตุ๊กตาตัวโปรดหายไปก็เสียใจขาดความสุข จนกระทั่งบิดาซื้อตุ๊กตาตัวใหม่ให้ ซึ่งคล้าย หรือทดแทนตัวเก่าได้ (ทั้งในจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก) ความเสียใจจึงหมดไป

13. Resistance คือปรากฏการณ์ที่พบเป็นครั้งคราวระหว่างการทำจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) และจิตบำบัด (psychotherapy) โดยผู้ป่วยจะแสดงความไม่ร่วมมือในขบวนการ รักษา ทั้ง ๆ ที่ในจิตสำนึกเขาต้องการการรักษา (แต่ในจิตไร้สำนึกไม่ต้องการ เพราะการดึงเอาสิ่งซึ่งอยู่ในจิตไร้สำนึกมาสู่จิตสำนึก ทำให้คน ๆ นั้นเกิดความวิตกกังวลหรือความไม่สบายใจมากเกินไป) ตัวอย่าง ผู้ป่วยบางคนที่นัดมาทำจิตบำบัด มาสายทุกครั้ง หรือไม่สามารถปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะมีอุปสรรคต่าง ๆ (ซึ่งความจริงแล้วไม่น่าจะมีอุปสรรค)

 

14. Dream เป็นขบวนการซึ่งเกิดจากความต้องการอันเป็นความขัดแย้งภายในจิตใจ หรือไม่เป็นทียอมรับในเวลาตื่น ได้รับการตอบสนองขณะหลับในลักษณะของความฝันถึงสิ่งที่ต้องการนั้น หรือสัญญลักษณ์ของสิ่งนั้น เช่น หญิงที่ต้องการแต่งงาน ก็อาจฝันว่าตนได้แต่งงาน หรือฝันเห็นงู

15. Fantasy เป็นขบวนการทางจิต โดยการสร้างเรื่องราวขึ้นในจิตใจเพื่อตอบสนองความต้องการของตน อันไม่ได้รับการตอบสนองในความเป็นจริง เช่น อยากมีบ้านหลังใหญ่ ๆ สักหลัง ก็คิดฝันว่าตนถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ ๑ แล้วเอาเงินมาซื้อบ้านขนาดใหญ่ สวยงามมาก สนามประดับด้วยต้นไม้และก้อนหินแปลก ๆ มีสระว่ายน้ำ ฯลฯ

รู้หรือไม่...เมื่อเราตกอยู่ในภาวะกดดันทางจิตใจ...ร่างกายเราหาทางออกกับสิ่งนั้นอย่างไร??

16. Symbolization เป็นขบวนการทางจิตใจ โดยการใช้ของสิ่งหนึ่งแทนของอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามหรือไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ของที่ใช้แทนกันนี้มีลักษณะคล้ายหรือเป็น สัญญลักษณ์ที่รับรู้กันทั่วไปกับของอีกสิ่งที่กล่าวนั้น เช่น กล้วยหอม เห็ด ไส้กรอก และปืน (ลำกล้อง) มีลักษณะคล้ายหรือเป็นสัญญลักษณ์ของอวัยวะเพศชาย รู โพรง หรือกระเป๋า หมายถึงอวัยวะเพศหญิง พระเจ้าแผ่นดิน ศาลพระภูมิ หรือเจ้า หมายถึง พ่อ เป็นต้น อาจแสดงให้เห็นในความฝัน เช่น ฝันเห็นงู ฝันว่าร่วมเพศกับเจ้า หรือแสดงในเวลาตื่น เช่น การพูดตลกเกี่ยวกับเพศ หรือในการแสดงลำตัด

                        

17. Conversion เป็นขบวนการทางจิต ซึ่งความขัคแย้งภายในจิตใจถูกเปลี่ยนไปเป็นอาการทางกาย ตัวอย่าง หญิงคนหนึ่งทนไม่ได้ที่จะต้องเซ็นชื่อในใบหย่ากับสามีที่อำเภอเลยเกิดอาการอัมพาตของแขนข้างขวา

 

18. Dissociation หมายถึง การแยกบุคลิกภาพบางส่วนออกจากบุคลิกภาพซึ่งเป็นปกติธรรมดาของเขาชั่วคราว เช่น บุคลิกภาพที่ก้าวร้าว อิจฉาริษยา แยกออกจากบุคลิกภาพปกติธรรมดา ซึ่งเป็นคนดี กลไกนี้ใช้บ่อยในโรคประสาทแบบฮีสทีเรีย ได้แก่ พวกบุคลิกภาพ ๒ แบบ (double personality) โดยปกติเป็นคนเรียบร้อย สุภาพ แค่บางขณะเป็นคนก้าวร้าว อิจฉาริษยา หรือในบางคนบางขณะอาจเปลี่ยนไปเป็นคนอื่น เช่น กลายเป็นเจ้าแม่ กลายเป็นเทพเจ้า หรือจักรพรรดิ

การลืม การละเมอพูด และการละเมอเดิน ก็เกิดจากกลไกของจิตชนิดนี้เหมือนกัน

19. Compensation เป็นกลไกของจิต ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเสริมความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง ในด้านร่างกาย บุคลิกภาพ หรือสติปัญญา โดยการเสริมสร้างลักษณะส่วนอื่นของตนให้ดีเด่นขึ้น ตัวอย่าง คนไม่สวย ก็พยายามทำตัวให้เด่นในด้านอื่น เช่น เรียนเก่ง เล่นกีฬาเก่ง หรือ เล่นตนตรีเก่ง คนตัวเล็ก compensate โดยการพูดเสียงดัง และชอบอวดโม้ เป็นต้น

20. Denial เป็นกลไกของจิตที่ผิดปกติ คือ ego ปฏิเสธที่จะยอมรับบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งเป็นความจริง เพราะการยอมรับความจริง ทำให้ ego เจ็บปวดมาก ตัวอย่าง หญิงบางคน ซึ่งสามีเสียชีวิตในสงคราม อาจไม่สามารถยอมรับความจริงนี้ได้ จะแสดงออกโดยเชื่อว่าสามี ไม่ตายแค่ยังไม่กลับมาเพราะสงครามยังไม่สิ้นสุด กลไกชนิดนี้อาจร่วมกับการแปลความเป็นจริงผิดไปด้วย

 

เห็นมั้ยละครับว่าทุกคนล่วนเเล้วเเต่กลไกลการป้องกันโดยที่เราไม่รู้ตัวบางคนอาจจะทำเป็นนิสัยเเล้วก็เป็นได้ซึ่งกลไกลการป้องกันนี่เป็นสิ่งที่ดีเมื่อเราเกิดภาวะเคลียดเเต่เมื่อเราใช้มันมากๆก็จะเกิดผลเสียต่อเราพอสมควรเนื่อหาข้อมูลนี่เป็นเพียงเกร็ดความเพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านรับรู้เเละเข้าใจเพียงเท่านั้น ผิดพลาดประการใดขออภัยมานะที่นี้

 

เอกสารอ้างอิงจาก หนังสืออาชญวิทยาคลินิกหน้า 68-69(Clinical Criminology) เเละเว็บไซต์ www.healthcarethai.com ที่มาของข้อมูล

รูปภาพจาก www.thebestbrainpossible.com ,blogasarea.wordpress.com