เรื่องนี้ มีพิรุธ!!  เมื่อป้ายแดงหมุนเวียนมีเพียงแสนป้าย แต่กลับมีรถป้ายแดงวิ่งเกลื่อนเมืองกว่าสองแสนคันต่อเดือน

เรื่องนี้ มีพิรุธ!! เมื่อป้ายแดงหมุนเวียนมีเพียงแสนป้าย แต่กลับมีรถป้ายแดงวิ่งเกลื่อนเมืองกว่าสองแสนคันต่อเดือน

อีกหนึ่งประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหู โดยเฉพาะผู้ที่ใช้รถใช้ถนนอย่างเป็นประจำ เมื่อกรมการขนส่งทางบก ประกาศการแก้ไขกฏหมายรถป้ายแดง จุดประสงค์ เพื่อบังคับให้จดทะเบียน(ป้ายดำ) ให้เร็วขึ้น  ซึ่งสิ่งที่เราได้พบได้เห็นทั่วไป ก็คือบรรดา รถป้ายแดงที่วิ่งอยู่บนท้องถนนจำนวนมากมาย และบางคันซื้อมาแล้วเป็นปี ก็ยังไม่เปลี่ยนเสียด้วยซ้ำ

สาระสำคัญ ที่จะแก้ไขกฏหมายนี้ก็คือจะมีการบังคับใช้กฏหมายสำหรับรถส่วนบุคคล ที่ใช้ป้ายแดงในการขับขี่ โดยในส่วนของรถส่วนบุคคลที่ซื้อตั้งแต่ 1 ต.ค. 2560 – 31 ธ.ค. 2560 หากซื้อรถใหม่ป้ายแดงจะต้องจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกภายใน 60 วันนับแต่รับรถ และหากซื้อรถตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป จะต้องจดทะเบียนกับขบ.ภายใน 30 วันนับแต่รับรถ

 

เรื่องนี้ มีพิรุธ!!  เมื่อป้ายแดงหมุนเวียนมีเพียงแสนป้าย แต่กลับมีรถป้ายแดงวิ่งเกลื่อนเมืองกว่าสองแสนคันต่อเดือน

 

แน่นอนว่ากระบวนการดังกล่าวจะทำให้เกิด การตรวจสอบการใช้รถป้ายแดงเข้มงวดมากขึ้นจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ และสิ่งที่เราควรจะรับรู้กฏหมายเดิมของรถป้ายแดง เป็นรถที่ห้ามใช้เพื่อการโดยสาร

โดยสำหรับการใช้รถป้ายแดง กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับอนุญาต จากนายทะเบียนก่อนซึ่งปัจจุบันผู้ที่ขอรับใบอนุญาตจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายเท่านั้น ดังนั้น ประชาชนไม่ต้องเสียค่าป้ายแดง จากนั้นเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว นายทะเบียนจะออก “สมุดคู่มือประจำรถ” และ “เครื่องหมายพิเศษ” หรือที่เรียกกันว่า “ป้ายแดง” ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 27 และมาตรา 28 นั้น อนุญาตให้ใช้รถป้ายแดงได้เฉพาะกรณี เพื่อขาย เพื่อซ่อม เท่านั้น ซึ่งจะสามารถใช้ได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และต้องบันทึกรายการลงในสมุดคู่มือประจำรถเกี่ยวกับยี่ห้อรถ หมายเลขตัวรถ หมายเลขเครื่องยนต์ของรถ ความประสงค์ในการขับรถ ชื่อสกุลของผู้ขับรถ วัน เดือน ปี และเวลาที่นำรถออกไปขับและกลับถึงที่ ส่วนจะออกต่างจังหวัดไปไกลแค่ไหนต้องระบุไว้ในคู่มือก่อนเดินทางด้วย
ทั้งนี้ ไม่สามารถนำรถป้ายแดงมาวิ่งใช้งานตามท้องถนนได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตามและการนำสมุดคู่มือประจำรถสำหรับป้ายแดงมาใช้โดยทั่วไป จึงเข้าลักษณะการใช้รถไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ดังนั้นจึงสรุปว่าการใช้รถป้ายแดง ในทุกวันนี้ เป็นการใช้โดยผิดกฏหมายอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีหลากหลายกรณีที่ประชาชน ผู้ใช้รถป้ายแดงออกมาโวยวาย เมื่อใช้รถป้ายแดงแล้วถูกตำรวจจับ ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วการใช้รถป้ายแดงเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมาย
สิ่งที่น่าสังเกตต่อมาคือจาการที่นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ที่ได้เปิดเผยไว้ว่า ป้ายแดงที่ กรมการขนส่งทางบก.ออกไปอย่างถูกกฎหมายที่ได้ ได้หมุนเวียนในระบบ มีเพียงกว่า 100,000 ป้ายทั่วประเทศ เท่านั้น

 

เรื่องนี้ มีพิรุธ!!  เมื่อป้ายแดงหมุนเวียนมีเพียงแสนป้าย แต่กลับมีรถป้ายแดงวิ่งเกลื่อนเมืองกว่าสองแสนคันต่อเดือน

 

แต่ปรากฏว่าในข้อเท็จจริงจากสถิติรถจดทะเบียนใหม่ป้ายแดงทั่วประเทศประจำปี 2559พบว่ามีผู้นำรถใหม่ป้ายแดงมาจดทะเบียน รวมทั้งสิ้น 2,872,026 คัน เฉลี่ยเดือนละเกือบ 240,000 คัน
ดังนั้นจากที่บอกว่า ป้ายแดงที่หมุนเวียนอยู่ในท้องตลาด มีเพียง100,000ป้าย คำถามที่เกิดขึ้น ส่วนต่างที่เหลือประมาณ 140,000คัน ใช้ป้ายแดงจากไหน??

และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีข่าวปรากฎอย่างเนืองๆ จากกรมการขนส่งทางบกได้ตรวจสอบพบการประกาศขายป้ายแดงในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งพบว่าเป็นการ “ป้ายแดงปลอม” เนื่องจากได้ประสานบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถที่ครอบครองแผ่นป้ายหมายเลขและหมวดดังกล่าวแล้ว พบว่ายังใช้หมุนเวียนกับผู้ซื้อรถรอการจดทะเบียนอยู่ กรมฯ จะดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มมิจฉาชีพทั้งขบวนการ ฐานทำให้ภาครัฐเสียหาย ฉ้อโกงประชาชน ปลอมแปลงเอกสารราชการ

ดังนั้นจึงต้องมาดู กันต่อไปว่า เมื่อ กรมการขนส่งทางบกบอกว่าป้ายมีอยู่แค่100,000ป้าย แล้วการตรวจสอบดำเนินไปอย่างจริงจัง แล้วรถของค่ายต่างๆที่ขาย ออกมาปีหนึ่งสองล้านกว่าคัน นั้นจะนำเอาป้ายแดงจากไหนมาใช้ และเมื่อไม่มีป้ายแดงผู้ประกอบการรถยนต์ จะขายรถยนต์ให้กับประชาชนได้อย่างไร
ฉะนั้นเมื่อป้ายแดงจริงมีอยู่เพียงแสนคัน และจดทะเบียนในหนึ่งเดือน ก็จะได้เพียงล้านกว่าคันเท่านั้น และไม่สอดคลองกับความเป็นจริง

 

เรื่องนี้ มีพิรุธ!!  เมื่อป้ายแดงหมุนเวียนมีเพียงแสนป้าย แต่กลับมีรถป้ายแดงวิ่งเกลื่อนเมืองกว่าสองแสนคันต่อเดือน

นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบว่ามีการนำรถใหม่ป้ายแดงมาใช้งานบนถนนเป็นระยะเวลานาน โดยไม่นำรถจดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีให้ถูกต้อง อาจมีเจตนาหลบเลี่ยงภาษีรถประจำปี หากนำรถไปก่อเหตุอาชญากรรมเฉี่ยวชนแล้วหลบหนี ซึ่วยากต่อการติดตามตรวจสอบอย่างไร ก็ตามก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่ากรมการขนส่งทางบก จะมีนโยบายดำเนินการแก้ไขอย่างไร จะมีการออกจำนวนป้ายแดงเพิ่มขึ้น หรือจะกำหนดปริมาณยอดขายรถหรือไม่ และที่สำคัญเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่จะตรวจสอบเพียงผู้ใช้ ซึ่งเป็นปลายเหตุอย่างเดียวเท่านั้น  กรมการขนส่งทางบกต้องเข้าตรวจสอบบริษัทผู้จัดจำหน่ายรถอย่างจริงจัง