อย่าาปล่อยให้เรื่องเงียบ!! บทเรียน"เนติวิทย์" สร้างบรรทัดฐานจุฬาฯ จี้"อธิการฯ"ให้ความสำคัญมากกว่านี้!! (เจอดี-มีคลิป)

       จากกรณีนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานสภานิสิตจุฬาฯได้มีความพยายามสร้างสถานการณ์เหตุวุ่นวาย
ในงานถวายสัตย์ปฏิญาณตนของนิสิตใหม่ประจำปี 2560ที่พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับเพื่อนโดยอ้างว่าตกลงกับรองอธิการบดี ถ้าฝนตกจะให้นิสิตแค่โค้งคำนับแล้วจบ แต่กลับกลายเป็นว่าให้ถวายบังคมเหมือนเดิมจึงทนไม่ได้จึงร่วมกับเพื่อนเดินออกมา จนกลายเป็นกระแสวิภาควิจารณ์ต่างๆนานๆ เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา

        ต่อมาทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยทางสภาคณาจารย์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนและประมวลข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณของอาจารย์ผู้ปรากฏเป็นข่าวว่ามีการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อนิสิตในเหตุการณ์ดังกล่าว  ขณะเดียวกันคณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิตในฝ่ายกิจการนิสิตซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมและกำกับดูแลให้นิสิต ได้มีการประชุมกันเพื่อเริ่มการสืบสวนและประมวลข้อเท็จจริงในส่วนของกลุ่มนิสิตที่มีความเกี่ยวข้องจากเหตุการณ์เดียวกันแล้ว
 

       หลังจากที่คุณวิรังรอง ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวผ่านทางเฟสบุ๊คส่วนตัว ในการเขียนบทความก่อนหน้านี้ตามที่สำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอไปแล้วถึง ๒ ตอน ทวงถามถึงบทบาทหน้าที่ของ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ
 จนล่าสุดได้ออกมาโพสต์บทความอีกครั้งในตอนที่ ๓ ระบุว่า

ตอนที่ ๓: ทวงถามวันเริ่มพิจารณาและวันตัดสินลงโทษ

บันทึกจุฬาฯ ถึงเนติวิทย์: ต่อข้อ ๓. “คณะกก. ส่งเสริมวินัยนิสิตจะพิจารณาเรื่องของท่านโดยเร็วต่อไป”

วิรังรองถาม: 
- ที่ว่าคณะกก. ส่งเสริมวินัยนิสิตจะพิจารณาเรื่องของท่านโดยเร็วต่อไปนั้น คือเมื่อใด เมื่อกำหนดวันที่แล้ว ขอให้ประกาศวันที่ ที่จะเริ่มพิจารณา และวันที่ ที่จะตัดสินลงโทษให้ทราบเป็นสาธารณะได้หรือไม่???

- ข้อสังเกต: 
- โดยส่วนตัวเห็นว่า การตั้งคณะกก.สอบสวนเนติวิทย์ เป็นเรื่องที่ดีที่ควรทำ แต่ทั้งนี้ต้องจับตาดูต่อไปว่า คณะกก. จะมีกระบวนการพิจารณาและตัดสินอย่างไร ไม่ลงโทษพอเป็นพิธีแบบขอไปทีซึ่งไม่ก่อให้เกิดการหลาบจำ คณะกรรมการฯ จะต้องจัดให้มีคำสั่งลงโทษ การพิจารณาดังกล่าวเป็นการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายปกครอง ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำโดยโปร่งใสและถี่ถ้วนรอบคอบ รายชื่อคณะกก. การกำหนดวันเริ่มพิจารณาและวันตัดสินที่ไม่นานเกินไป จะเป็นตัวชี้วัดด่านแรกของความจริงใจและความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหานี้ของผู้บริหารจุฬาฯ

-ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รุ่น ๓๐ ถือว่าเป็นรุ่นพี่ของเนติวิทย์ สี่สิบเอ็ดปี...เชื่อว่าเนติวิทย์..ซึ่งเป็นคนกล้าคิดกล้ากระทำ มีตำแหน่งเป็นถึงประธานสภานิสิตจุฬาฯ จะมีความอาจหาญยอมรับโทษตามผลของการกระทำที่ได้ทำไปตามสมควรแก่กรรม สมกับเป็น “สิงห์ดำ” ที่เนติวิทย์ใฝ่ฝันที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในคณะนี้ (คิดเองว่าใฝ่ฝัน ถ้าไม่ใฝ่ฝันคงไม่สมัครเข้ามา)

- ข้อควรทำ: 
   - อย่างน้อยที่สุด น้อยที่สุดนะคะ...สำหรับดิฉัน (ถ้าดิฉันเป็นหนึ่งในคณะกก. สอบสวนฯ) เนื่องจากเหตุการณ์อันไม่เหมาะสมดังกล่าวที่เกิดขึ้นในวันนั้น เนติวิทย์ดูเหมือนว่าจะมีเจตนากระทำในฐานะเป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ ดิฉันจึงเห็นว่า ควรจะปลดเนติวิทย์ ออกจากตำแน่งประธานสภานิสิตจุฬาฯ เพราะเพียงจริยธรรมและมารยาทสำหรับการเป็นนิสิตจุฬาฯ ก็ไม่น่าจะให้ผ่านแล้ว (อ้างอิงวินัยนิสิต) นับเป็นนิสิตที่ทำตนเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีไม่งามไม่เป็นมงคล และไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำนิสิตอื่นๆ หรือเป็นประธานอะไรได้อีกหากไม่ปรับปรุงตน

   - นี้คือที่น้อยที่สุด ส่วนการลงโทษที่มากกว่านี้ ก็อยู่ที่ดุลยพินิจของคณะกก. ทั้งนี้นอกจากการลงโทษแล้ว ก็ควรจะต้องมีการอบรม ชี้แจง ปรับทัศนคติ แล้วตักเตือนคาดโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนเป็นทางการและให้เนติวิทย์เซ็นชื่อรับทราบด้วยว่าหากยังมีความประพฤติ หรือแสดงออกด้วยวิธีใดๆ อัน "ผิดวินัยนิสิตจุฬฯ” และ/หรือ ผิดระเบียบจุฬาฯ” แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งอีกเพียงครั้งเดียว ก็ควรได้รับโทษระดับที่สูงกว่าตามลำดับจนถึงขึ้นขับให้ออกจากจุฬาฯ เพราะจุฬาฯ ไม่ใช่ตลาดวิชาทั่วไป แต่เป็นสถานศึกษาที่ผูกพันกับสถาบัน มีจารีต มีประเพณี หากเนติวิทย์ไม่เห็นด้วย ไม่มีความภาคภูมิใจ ไม่คิดจะรักษาจารีตพระเพณีของจุฬาฯ ไว้ ก็ควรให้ออกไปศึกษา ณ ตลาดวิชาที่มีอยู่เกลื่อนกลาดทั่วไป
 

- การจัดการเรื่องนี้อย่างเด็ดขาดเหมาะสม จะเป็นตัวอย่าง เป็นบทเรียน เป็นบันทัดฐานสำหรับปัจจุบันและอนาคตของจุฬาฯ

- วินัยนิสิต ที่ประกาศใช้อยู่แล้วนั้น ชัดเจน ครอบคลุมดีพออยู่แล้ว คงไม่ต้องร่างกันใหม่เหมือนรัฐธรรมนูญ แต่ขอให้นำมาใช้อย่างจริงจัง และควรมีบทกำหนดลงโทษที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืน

- การแก้ที่นิสิตฝ่ายเดียวนั้นคงไม่ได้ เพราะเรื่องทั้งหมดนี้จะสำเร็จได้ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยและคณาจารย์ที่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา ในชั้นต้นคงทำยากแต่จำเป็น...คือเหล่าอาจารย์บางท่านที่ตั้งหน้าตั้งตาเอาแต่ทำวิจัยๆๆๆๆๆ โดยละเลยไม่สนใจความเป็นไปของนิสิตก็ขอความกรุณาหันมาใส่ใจนิสิตให้มากขึ้น (เคยเห็นอ. คนหนี่ง สอนระเบียบวิธีวิจัย แต่บนโต๊ะทำงานและภายในห้อง มีแต่กระดาษที่อ. รับทำวิจัยส่วนตัว ตั้งกองเป็นตั้งๆๆๆๆๆ จนเต็มห้องแทบไม่มีที่เดิน อยู่ชั้นสองน่ะไปดูสิ) และอธิการบดี ตลอดจนอาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ บางท่านที่อาจใช้เวลาส่วนใหญ่ไปนั่งในรัฐสภา เป็นคณะกก. คณะกรรมาธิการ อนุกธก. ต่างๆ เบียดบังเวลาของจุฬาฯ ไม่มีเวลาให้นิสิต รวมทั้งอ.ที่ปรึกษา ทั้งหมดนี้ได้โปรดให้ความสำคัญและให้เวลาแก่นิสิตปริญญาตรี ให้มากกว่าปริญญาโทแลปริญญาเอก เพราะมีเสียงดังแว่วๆ ว่ามีการทุ่มสพรรพกำลังและทรัพยากรไปที่คอร์สปริญญาโทและเอกมากกว่าปริญญาตรี จนนิสิตปริญญาตรีเหมือนถูกละเลยไม่มีความสำคัญ...เรื่องนี้จะจริงหรือไม่...หากไม่จริงก็ช่วยชี้แจงค่ะ...หากจริงก็ขอให้พิจารณาแก้ไข หากอาจารย์อยากรับงานวิจัยเป็นงานหลัก หรืออยากนั่งในรัฐสภา ก็ควรลาออกจากการเป็นอาจารย์น่าจะเหมาะสมกว่า

   สุดท้ายนี้ขอนำ “ระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยวินัยนิสิต พ.ศ. ๒๕๒๗” มาเผยแพร่แปะไว้ตรงนี้ เพราะคณะกก.ฯ จะพิจารณาการกระทำผิดของเนติวิทย์ตามระเบียบนี้ค่ะ ส่วนระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๔๗ มิได้กล่าวในบทความนี้ ได้ขีดเส้นใต้ไว้ เส้นใหญ่ๆ ตรงข้อความที่ดิฉันคิดว่าสำคัญ (เส้นโตกว่านี้ไม่ได้แล้วเพราะติดบันทัดล่างค่ะ)

ถ้ามีเวลาก็ช่วยๆ กันอ่านวินัยนิสิตนะคะ แล้วก็ลองพิจารณากันดูว่า ที่ผ่านมา เนติวิทย์...อาจได้ทำผิดระเบียบว่าด้วยวินัยนิสิตจุฬาฯ กี่ข้อ เขียนบทความนี้เพื่อให้ผู้บริหารจุฬาฯ ทราบว่า ยังมีผู้จับตา ติดตาม และให้กำลังใจ (จริงๆ นะคะ) ขอให้มีความกล้าที่จะทำเรื่องนี้อย่างโปร่งใสเหมาะสมถูกต้องและรวดเร็ว......

  ทั้งนี้ คุณวิรังรองยังได้โพสต์อีกด้วยว่า  "ตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ ต้องขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พึงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ "