เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม

เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม

เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม เรื่องราวเด็กยุค 90 อย่างเราหากย้อนไปตอนอายุ 8-9 ขวบ คงจะหนีไม่พ้น ดีดลูกแก้ว โดดยาง พับจรวด ใช่มั้ย แต่ก็ยังมีตัวอย่างให้เห็นอยู่บ้าง สำหรับเด็กๆ ที่ช่วยพ่อแม่ ทำงานขายของหารายได้เสริม และนี่ก็คือเรื่องที่เราจะพูดถึงกันวันนี้กับ เด็กชายป.4 วัยเพียง 8 ขวบคนนี้ เลือกช่วยพ่อแม่หารายได้เสริม ด้วยการใช้ประโยชน์พื้นที่ข้างบ้านปลูกผักปลอดสารพิษสุดฮิต อาทิ ต้นอ่อนทานตะวัน ต้นอ่อนผักบุ้ง ต้นอ่อนหัวไชเท้า เบบี้คะน้า และผักโตเหมี่ยว ปลูก 7 วัน 

เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม ตัดไปขายตลาดนัด หารายได้เสริมแต่ละเดือนหนึ่งหมื่นบาท ไว้เป็นทุนซื้อของเล่น และจ่ายค่าเทอมคุณอัญชลี หิรัณยรัชต์ หรือคุณแอน คุณแม่ “น้องภูริ” ทองป้อง ปัจจุบันเป็นนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนจันทศิริวิทยาคุณแม่แอน เล่าว่า เมื่อ พ.ศ. 2558 น้องภูริในวัย 8 ขวบ อยากได้โน๊ตบุ๊ค ในฐานะแม่เห็นว่าเป็นของใช้ที่เกินตัว และยังไม่มีความจำเป็นต่อเด็กในวัยนี้ เลยบอกไปว่า ยังเด็กอยู่ แต่หากอยากจะได้จริงๆ ต้องเก็บเงินซื้อเอง เลยเป็นที่มาของการปลูกผักขายแม้จะเสนอเงื่อนไขให้ลูกชายหาเงินเอง แต่ฐานะคนเป็นแม่ก็อดที่จะช่วยเหลือลูกไม่ได้ คุณแอน เลยบอกให้น้องภูริ ปลูกผักขาย เพราะเห็นว่าไม่ยาก เด็กสามารถปลูกได้ อีกทั้งครอบครัวก็ปลูกผักทานอยู่แล้ว ที่บ้านของเรา ปลูกผักง่ายๆ กินกันเองเป็นประจำอยู่แล้ว เลยพอมีพื้นฐาน ประกอบกับค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มว่าผักชนิดไหน ปลูกไม่ยาก โตเร็ว เก็บขายได้ไว หนที่สุดมาเจอต้นอ่อนผักบุ้ง และต้นอ่อนผักต่างๆ

เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม เส้นทางของเด็ก 8 ขวบใฝ่ดี ช่วยพ่อแม่หารายได้ ปลูกผักปลอดสารพิษขาย เก็บเป็นทุน ใช้จ่ายค่าเทอม คุณแอน บอกว่า ที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ย่านหนองแขม ขนาดพื้นที่ 50 ตารางวา บริเวณที่ใช้ปลูกผักอยู่ด้านข้างตัวบ้าน พื้นที่ไม่มาก อุปกรณ์ที่ใช้ปลูกมีตะกร้า นอกจากนั้นยังนำไม้ไผ่มาต่อเป็นชั้นวาง 3 ชั้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกหน้าที่ของคุณแอน เธอเป็นแม่บ้าน ส่วนสามีอาชีพกราฟฟิกดีไซน์ น้องภูริ มีน้องสาว 1 คน ชื่อวาริ หลังจากน้องภูริมีความตั้งใจแน่วแน่แล้วว่าจะเก็บเงินซื้อโน๊ตบุ๊ค คุณแอนก็ลงมือช่วยปลูกผัก มีต้นอ่อนทานตะวัน ต้นอ่อนผักบุ้ง ต้นอ่อนหัวไชเท้า เบบี้คะน้า และผักโตหมี่ยว สาเหตุที่หญิงสาวเลือกปลูกผักประเภทนี้ เธอบอกว่า ปลูกง่าย โตเร็ว เด็กสามารถปลูกได้ไม่ยุ่งยาก

ขั้นตอนการเพาะเมล็ด

1. นำเมล็ดผักบุ้งไปล้างน้ำให้สะอาด จนน้ำใส จากนั้นแช่เมล็ดผักบุ้งในน้ำต่ออีก 12 ชั่วโมง
2. นำเมล็ดผักบุ้งที่ได้แช่น้ำมา 12 ชั่วโมงแล้ว มาเช็ดให้แห้ง และห่อด้วยผ้าเปียกต่ออีก 12 ชั่วโมง
3. เมล็ดผักบุ้งที่ผ่านการแช่น้ำ จะมีรากสีขาวงอกออกมา

ขั้นตอนการเตรียมดิน

1. นำดินละเอียด มาผสมกับแกลบดำ ผสมขุยมะพร้าวละเอียดด้วย ปริมาณ 1 ต่อ 1
2. นำดินเทใส่ภาชนะที่จะปลูก อาทิ ตะกร้า กะละมัง ใส่ดินสูง 1นิ้วครึ่ง
3. นำเมล็ดผักบุ้งโรยลงไปในดิน กะปริมาณให้พอดีกับภาชนะที่จะปลูก รดน้ำให้ชุ่ม หาตะกร้ามาวางทับบนดินอีกที เพื่อให้รากยั่งลึกลงดิน 2 วัน
4. วันที่ 3 เปิดตะกร้าที่วางทับบนดิน เพื่อให้ต้นอ่อนผักบุ้ง โดนแสงแดด รดน้ำ เช้า – เย็น ปลูกต่อไปอีก 7 วัน ก็สามารถตัดไปรัปประทานได้

ราคาเมล็ดผักบุ้ง 1 กิโลกรัม ท้องตลาดขาย 150 บาท เมล็ดผักบุ้ง 1 กิโลกรัม เพาะต้นอ่อน 4 กิโลกรัม สำหรับหน้าที่ที่น้องภูริจะต้องทำ คุณแม่แอนบอกว่า ทำทุกขั้นตอน ตั้งแต่เพาะเมล็ด รดน้ำเช้า – เย็น ยกเว้นตอนตัด เพราะต้องใช้ของมีคม ด้านสถานที่จำหน่ายผัก ปัจจุบันหญิงสาวนำไปขายที่ตลาดนัดในหมู่บ้าน และส่งตามออเดอร์ ราคาขาย เบบี้คะน้า ขีดละ 20 บาท ผักบุ้งอ่อนขีดละ 15 บาท ต้นอ่อนหัวไชเท้าขีดละ 20 บาท รายได้จากการจำหน่ายเฉลี่ย 1 หมื่นบาท

และหลังจากที่น้องภูริปลูกผักขายมาเป็นเวลาเกือบปี คุณแอน บอกอีกว่า มีเงินซื้อโน๊ตบุ๊คแล้ว แต่ทว่าลูกชายกลับไม่ต้องการ เพราะเห็นคุณค่าของเงินกว่าจะทำงานหามาได้นั้นยากลำบาก ไม่ซื้อคบุ๊ค เก็บเงินไว้เป็นทุนการศึกษาแทน

ขอบคุณที่มาอัญชลี หิรัณยรัชต์