การลงพื้นที่ตรวจโครงการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมมอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนในพื้นที่ 4จังหวัดภาคใต้

 

เมื่อวันที่ 23 และ24 กันยายน 2560ที่ผ่านมา พลเอก พัชรพงษ์ อินทรสุวรรณ อดีตผู้อำนวยการกรมกิจการพิเศษ กรมราชองครักษ์ พร้อมด้วยคณะ โดยมี พลโทธน เชียงทอง รอง ผอ. ศปร.บก.ทท. พลตรี ธีรสาสน์ แสงแก้ว ผอ.สำนักกิจกรรมพิเศษ ที่ 1ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน นายอุทัยวุฒิ ชำนาญแก้ว ผู้อำนวยการส่วนแผนงาน กองแผนงาน กรมชลประทาน

น.ส.เบญจพร ชาครานนท์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน นายประสพโชค บุญมี ประธานรุ่น ผกร.32 ที่ปรึกษาเลขาฯ ศอ.บต.

 

ร่วมเดินทางลงพื้นที่ในจังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี เนื่องจากในช่วงเดือนกันยายน ถึงธันวาคม ของทุกปีในพื้นที่นี้จะเกิดน้ำท่วมซ้ำซากและน้ำแห้งช้า ทำให้การเกษตรกรรม ปศุสัตว์อุปโภคบริโภค ของประชาชนในพื้นที่เสียหายเป็นจำนวนมาก ทางคณะฯจึงได้ลงสำรวจแก้มลิงพรุหลังควาย บ้านท่าธงโครงการแก้มลิงบ้านนาจะแหนโครงการแก้มลิงบ้านเกาะ แก้มลิงบ้านเรือน ระบบระบายน้ำบ้านจะรังตาดงต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา และตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านบาลูกากาปะ ต.เอราวัณ อ.แว้ง จ.นราธิวาส 

เพื่อทำการแก้ไขปัญหาด้านแหล่งน้ำ เพื่อเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และการบริโภค ตามแนวทางทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมส่งเสริมการสร้างอาชีพ การสร้างงานเพื่อก่อให้เกิดรายได้หลายๆทางในครอบครัว ชุมชนเกิดความรักความผูกพันเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน มั่นคงมั่งคั่ง ทั้งนี้ทางคณะฯได้ถือโอกาสมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนบ้านมุนี ม.4 ต.จะแหน อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา และโรงเรียนบ้านตาแปด ม.5 ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลาและโรงเรียนบ้านโต๊ะพราน ม.1 ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา โดยมีพลเอก พัชรพงษ์ อินทรสุวรรณ อดีตผู้อำนวยการกรมกิจการพิเศษ กรมราชองครักษ์ เป็นประธานมอบ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาให้กับนักเรียน ตามพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่10  มีคณะครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาน และนักเรียน ให้การต้อนรับ

นายวาฮับ ดอเลาะ ชาวบ้านโต๊ะพราน กล่าวว่า 30 ปีหมู่บ้านเราจะโดนน้ำท่วมซ้ำซากทุกปีถึงสองรอบ เพราะเป็นพื้นที่ที่จะต้องรองรับการไหลของมวลน้ำสามสายมาประจบที่ตรงนี้ ทำให้การระบายน้ำช้า ส่งผลกระทบและเกิดความเสียหายหลายๆด้าน หลังจากที่ทางรัฐบาลได้สร้างแก้มลิงพรุหลังควายขึ้นตามแนวทางพระราชดำริ รัชกาลที่9 ทำให้แก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากลดลง แต่เกิดการระบายน้ำช้าทำให้น้ำขังในพื้นที่นาน ส่งผลให้พืชผลเกษตรกรรมเน่าเสียจำนวนมาก

หลังจากคณะฯได้ลงสำรวจพื้นที่และแก้มลิงพรุหลังควาย ซึ่งมีพื้นที่กว่า 4 พันไร่ กินพื้นที่ 2 อำเภอ ทุ่งยางแดงกับอำเภอรามัน ทราบปัญหาการระบายน้ำช้าเกิดจากความไม่ร่วมมือของประชาชนทั้ง 2 อำเภอ

การลงพื้นที่ตรวจโครงการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม

การลงพื้นที่ตรวจโครงการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม

 

 

ที่อยู่บริเวณพรุหลังควาย และเกิดหญ้ารกและต้นไม้ขึ้นในร่องน้ำระบาย ทำให้น้ำติดขัดระบายช้า จึงได้สั่งการให้หน่วยงานชลประทานในพื้นที่รีบปรับปรุงแก้ไข และกรมที่ดินประสานประชาชนในพื้นที่ให้ความรู้ในเรื่องการสร้างแก้มลิง พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ไขปัญหาด้านน้ำเพื่อเกษตรกรรม ปศุสัตว์ อุปโภคบริโภค ยกระดับชีวิตของประชาชน ส่งเสริมอาชีพ สร้างงาน เพื่อก่อให้เกิดรายได้เลี้ยงชีพและครอบครัว เกิดความเข้มแข็งมั่นคั่ง มั่นคง ยั่งยืน ตลอดไป

ต่อมาในวันที่ 24 กย.60พลเอก พัชรพงษ์ อินทรสุวรรณ อดีตผู้อำนวยการกรมกิจการพิเศษ กรมราชองครักษ์ พร้อมด้วยคณะ โดยมี พลโทธน เชียงทอง รอง ผอ. ศปร.บก.ทท. พลตรี ธีรสาสน์ แสงแก้ว ผอ.สำนักกิจกรรมพิเศษ ที่ 1ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน นายอุทัยวุฒิ ชำนาญแก้ว ผู้อำนวยการส่วนแผนงาน กองแผนงาน กรมชลประทาน น.ส.เบญจพร ชาครานนท์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน นายประสพโชค บุญมี ประธานรุ่น ผกร.32 ที่ปรึกษาเลขาฯ ศอ.บต.

ได้เดินทางต่อไปในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง เพื่อรับทราบข้อมูล ปัญหา และผลกระทบ สำหรับให้การสนับสนุนและแก้ปัญหาโครงการแหล่งน้ำต่างๆ ณ ห้องรับรอง ในพื้นที่รับผิดชอบ กอ.รมน.ภาค4สน. พร้อมทั้งได้มอบเงินจำนวน 100,000.-บาท โดยมี พลเอก มณี จันทร์ทิพย์ ,พลเอก พัชรพงษ์ อินทรสุวรรณพลโท ธน เชียงทอง, พลตรี ธีรสาสน์ แสงแก้ว, พันเอก สมชาย โปณะทอง ร่วมเป็นสักขีพยานในการรับมอบเงินผ่าน มทภ.4 ให้แก่หน่วยทหารที่ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความยากลำบากในพื้นที่ดังกล่าวด้วย   

จากนั้น คณะได้ร่วมเดินทางต่อเพื่อไปตรวจเยี่ยมโครงการแก้มลิงแม่น้ำปัตตานีสายเก่าฝั่งขวา ระยะที่ 2 และติดตามความคืบหน้าการปรับปรุงคลองระบายน้ำเลียบคันกั้นน้ำฝั่งขวา ต.เมาะมาวี และแก้มลิงบ้านโคกหญ้าคา ต.คลองใหม่ การป้องกันตลิ่งบ้านบาซาเอ ต.ปิตุมุดี พร้อมกันนี้ ได้มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนในพื้นที่ คือโรงเรียนบ้านตาแซะ ม.3 ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง จว.ปัตตานี  โดยมีพลเอก มณี จันทร์ทิพย์ ที่ปรึกษา กอ.รมน.ภาค 4 สน. ซึ่งเป็นผู้แทน ผอ.รมน.ภาค 4 และประชาชน จำนวนประมาณ 500 คน ร่วมให้การต้อนรับ และร่วมเสวนาหารือเพื่อสร้างความสามัคคีให้กับประชาชนในพื้นที่ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่

การร่วมเสวนาหารือในวันนั้นทางผู้แทนพิเศษ พลเอก มณี จันทร์ทิพย์ ท่านได้กล่าวถึงการสร้างมวลชนให้เกิดการรับรู้และเข้าใจร่วมกัน ในบรรดางานพัฒนาแหล่งน้ำตามธรรมชาติเพื่อนำน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจการด้านต่างๆ งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรจัดว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์มากอย่างยิ่ง เพราะน้ำคือชีวิต ในการช่วยให้เกษตรกร สามารถทำการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลิตผลเพิ่มมากขึ้น เกิดการสร้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน

การลงพื้นที่ตรวจโครงการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม

การลงพื้นที่ตรวจโครงการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม

การลงพื้นที่ตรวจโครงการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม

ซึ่งกรมชลประทานโดย ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ท่านเบญจพร ชาครานนท์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน และท่านอุทัยวุฒิ ชำนาญแก้ว ผู้อำนวยการส่วนแผนงาน กองแผนงาน กรมชลประทาน เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง ได้หารือแบบบูรณาการร่วมกัน ทั้งเรื่องดิน น้ำ และความมั่นคง ซึ่งในการพบปะประชาชนทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน ประชาชน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างมาก สอดรับกับเวทีเสวนาที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามแนวทางประชารัฐอย่างแท้จริง

ในปัจจุบัน มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ยังคงอาศัยน้ำฝนและใช้น้ำจากแม่น้ำลำธารตามที่มีเป็นหลัก เนื่องจากไม่มีงานพัฒนาแหล่งน้ำช่วยเหลือ ปีใดที่มีฝนตกโดยเฉลี่ยดีตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ก็จะทำให้การเพาะปลูกในปีนั้นได้รับผลดีตามไปด้วย แต่ถ้าหากปีใดมีฝนตกน้อยหรือไม่มีฝนตกในเวลาที่พืชต้องการ การเพาะปลูกในปีนั้นก็จะได้รับความเสียหายหรือ ไม่ได้รับผลิตผลดีเท่าที่ควร เป็นเหตุให้เกษตรกรในพื้นที่ต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่มี น้ำสำหรับทำนา ปลูกพืชไร่ และใช้เลี้ยงสัตว์ อยู่เสมอทุกปี

โครงการแก้มลิงและการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่มีวัตถุประสงค์หลายๆ อย่างพร้อมกันแบบเอนกประสงค์ สามารถช่วยให้ประชาชนและประเทศชาติพัฒนาได้อย่างเป็นส่วนรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พอสรุปได้ดังนี้

  • ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝน และฤดูแล้ง ช่วยให้ได้

ผลิตผลมากขึ้น และสามารถทำการเพาะปลูกครั้งที่สองได้ เป็นการช่วยให้ราษฎรมีรายได้มากขึ้น

  • ในบางท้องที่เคยมีน้ำท่วมขัง จนไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โครงการระบาย

น้ำออกจากพื้นที่ หรือโครงการกักเก็บน้ำแก้มลิงสามารถทำให้พื้นที่แห้งลงจนสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองเข้าทำกินได้ ช่วยให้ไม่ไปบุกรุกทำลายป่าหาที่ทำกินแห่งอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการช่วยรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรของชาติไว้ได้

  • เมื่อมีการก่อสร้างแก้มลิงขนาดต่าง ๆ ไว้ ก็มีการปล่อยพันธุ์ปลา ทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง

สามารถมีปลาบริโภคภายในครอบครัว หรือเสริมรายได้ขึ้น

  • ช่วยให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะอาดอย่างพอเพียงตลอดปีทำให้ราษฎรมีสุขภาพพลานามัยดี

ขึ้น และยังช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ด้วย

๕. บางโครงการจะเป็นประเภทเพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตชุมชน ช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ และเกษตรกรรม ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐบาลเป็นอันมาก

๖. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร โดยการสร้างฝายเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำลำธารเป็น

ชั้น ๆ พร้อมระบบกระจายน้ำจากฝายต่าง ๆ ไปสู่พื้นที่สองฝั่งของลำธาร ทำให้พื้นดินชุ่มชื้น และป่าไม้ตามแนวสองฝั่งลำธารเขียวชอุ่มตลอดปี ลักษณะเป็นป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟป่าเป็นแนวกระจายไปทั่วบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ต่อไป

จากการลงพื้นที่ตามแนวทางประชารัฐร่วมใจ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และท่านประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้สนับสนุนและดูแลงานในด้าน จิตอาสา ประชารัฐ พัฒนาแหล่งน้ำนั้น จะเห็นได้ว่า คำว่าให้นั้น ไม่สิ้นสุดจริงๆ เป็นภาพที่ทุกๆท่านประทับใจเป็นอย่างมาก

การลงพื้นที่ตรวจโครงการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม

การลงพื้นที่ตรวจโครงการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม