เปิดใจ!!เรือตรีหญิงชยาศรี วสวานนท์ ถ่ายทอดความทรงจำสุดพิเศษนำซอด้วงคันที่ ในหลวง ร.9 ทรงสีมาบรรเลงเพลง"พญาโศก" น้อมถวายส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

เปิดใจ!!เรือตรีหญิงชยาศรี วสวานนท์ ถ่ายทอดความทรงจำสุดพิเศษนำซอด้วงคันที่ ในหลวง ร.9 ทรงสีมาบรรเลงเพลง"พญาโศก" น้อมถวายส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นคีตกวีและนักดนตรีที่ชาวโลกยกย่อง ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์เพลง แยกและเรียบเรียงเสียงประสาน ทรงเป็นครูสอนดนตรีแก่ข้าราชบริพารใกล้ชิดและทรงซ่อมเครื่องดนตรีได้ด้วย ตลอดจนทรงเชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่างๆ อย่างแท้จริง สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา  “อัครศิลปิน”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเริ่มเรียนดนตรีเมื่อมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับครูชาวอัลซาส ชื่อ นายเวย์เบรชท์ โดยทรงเรียนการเป่า แซกโซโฟน วิชาการดนตรี การเขียนโน้ต และการบรรเลงดนตรีสากลต่างๆ ในแนวดนตรีคลาสสิค เป็นเบื้องต้น

ต่อมาจึงเริ่มฝึกดนตรีแจ๊ส โดยทรงหัดเป่าแซกโซโฟน สอดแทรกกับแผ่นเสียงของ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้เป็นอย่างดี เช่น Johnny Hodges และ Sidney Berchet เป็นต้น จนทรงมีความชำนาญ สอดแทรกกับแผ่นเสียง ของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้เป็นอย่างดี และทรงโปรดดนตรีประเภท Dixieland Jazz เป็นอย่างมาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องดนตรีได้ดีหลายชนิด ทั้งประเภทเครื่องลม เช่น แซกโซโฟน คลาริเนต และประเภทเครื่องทองเหลือง เช่น ทรัมเป็ต รวมทั้งเปียโน และกีตาร์์ ที่ทรงฝึกเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประกอบการพระราชนิพนธ์เพลง และเพื่อทรงดนตรี ร่วมกับวงดนตรีส่วนพระองค์

ในด้านดนตรีไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชประสงค์ที่จะอนุรักษ์ดนตรีไทย และนาฏยศิลป์ไทยไว้ให้คงอยู่
คู่ชาติไทยตลอดไป โดยมีพระราชกระแสรับสั่งให้นักดนตรีไทยช่วยกันรักษาระดับเสียงของดนตรีไทยไว้เพื่อเป็นมาตรฐาน

ของวงดนตรีรุ่นหลัง ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์หนังสือ “โน้ตเพลงไทย เล่ม ๑”เพื่อรวบรวมและรักษาศิลปะทางดนตรีไทยไว้ให้เป็นหลักฐานและมาตรฐานต่อไป และทรงสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยบันไดเสียงของดนตรีไทย โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
     
นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีครอบประธานครูโขนละคร และต่อกระบวนรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงในวิชาดนตรีและนาฏยศิลป์ไทยอีกด้วย ซึ่งกิจกรรมทั้ง ๒ อย่างนั้น ดำเนินมาจนถึงจุดที่ใกล้จะสูญสิ้นแล้ว จึงนับได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่อนุรักษ์ศิลปะของไทย เพื่อให้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไป พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นสังคีตกวีแห่งราชวงศ์จักรีพระองค์นี้ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ “เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แม้ด้านดนตรีก็มิได้เว้น

ขณะเดียวกันวันนี้ทางทีมข่าวเจอดี(สำนักข่าวทีนิวส์) จะนำทุกท่านมาทำความรู้จักกับครูดนตรีไทยท่านหนึ่งที่มีโอกาสได้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านการทรงดนตรีไทย

บุคคลท่านนั้นคือ คุณครูศรี "เรือตรีหญิง ชยาศรี วสวานนท์" อายุ 76 ปี ปัจจุบันเป็นครูสอนดนตรีไทยที่โรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ ซึ่งเคยถวายงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ 49 ปีก่อน

เปิดใจ!!เรือตรีหญิงชยาศรี วสวานนท์ ถ่ายทอดความทรงจำสุดพิเศษนำซอด้วงคันที่ ในหลวง ร.9 ทรงสีมาบรรเลงเพลง"พญาโศก" น้อมถวายส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

เปิดใจ!!เรือตรีหญิงชยาศรี วสวานนท์ ถ่ายทอดความทรงจำสุดพิเศษนำซอด้วงคันที่ ในหลวง ร.9 ทรงสีมาบรรเลงเพลง"พญาโศก" น้อมถวายส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

เปิดใจ!!เรือตรีหญิงชยาศรี วสวานนท์ ถ่ายทอดความทรงจำสุดพิเศษนำซอด้วงคันที่ ในหลวง ร.9 ทรงสีมาบรรเลงเพลง"พญาโศก" น้อมถวายส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

หากย้อนกลับไปในอดีตคุณครูชยาศรี เคยถวายงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มา 14 ปี ในการเล่นดนตรีไทย ซึ่งออกอากาศ "วง อส.วันศุกร์ " โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นผู้ควบคุมเสียงและให้คิวในการบรรเลงสด คุณครูชยาศรีเล่าให้ทีมข่าวเจอดี(สำนักข่าวทีนิวส์ฟังว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเคยมีรับสั่งว่า ชยาศรีฝากดูแล ดนตรีไทยด้วยนะ เพราะอีกหน่อยดนตรีตะวันตก เข้ามามากเด็กๆจะสนใจ แล้วลืมดนตรีไทยจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมครูชยาศรีจึงยังสอน ดนตรีไทยอยู่จนทุกวันนี้"

เปิดใจ!!เรือตรีหญิงชยาศรี วสวานนท์ ถ่ายทอดความทรงจำสุดพิเศษนำซอด้วงคันที่ ในหลวง ร.9 ทรงสีมาบรรเลงเพลง"พญาโศก" น้อมถวายส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย

เปิดใจ!!เรือตรีหญิงชยาศรี วสวานนท์ ถ่ายทอดความทรงจำสุดพิเศษนำซอด้วงคันที่ ในหลวง ร.9 ทรงสีมาบรรเลงเพลง"พญาโศก" น้อมถวายส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย