ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9" ก่อนนำไปปร

วันนี้ (24 ตุลาคม 2560) เมื่อเวลา 09.09 น. ทีมข่าวเจอดีสำนักข่าวทีนิวส์ได้เดินทางลงพื้นที่ไปยังลานกลางแจ้ง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อติดตามการจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธานในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

โดยนายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม นายช่างศิลปกรรม พร้อมด้วยช่างราชสำนักและช่างแทงหยวกพื้นถิ่น 4 ภูมิภาค จำนวน 50 คน และนักเรียนโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวังอีกกว่า 100 คน เข้าร่วมกันจัดทำเพื่อถวายความอาลัยในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นครั้งสุดท้าย

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

นายบุญชัย ได้เล่าให้ทีมข่าวเจอดีสำนักข่าวทีนิวส์ว่าในช่วงวันที่ 22 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา ได้มีการการจัดพิธีบวงสรวงสังเวยไหว้ครูช่างแทงหยวกในการจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธานมีการนำน้ำมนต์ธรณีสาร น้ำพระพุทธมนต์ ประพรมเครื่องบวงสรวง เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และต้นกล้วยต้นเอกที่ช่างราชสำนัก ได้ทำพิธีตัดที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งถือเป็นต้นสำคัญที่จะใช้ในการแทงหยวกบริเวณเรือนยอดชั้นที่ 9 ชั้นสูงสุดด้วยลายลูกฟักช่องกระจก ประกอบด้วย ลายฟันปลา และลายฟันสาม

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

 

 

อย่างไรก็ตามการแทงหยวก เป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หาง่ายคือต้นกล้วย มาสร้างงานฝีมือซึ่งมักใช้ในงาน ตกแต่งประดับประดา เมรุเผาศพ งานบวช งานกฐิน และงาน ตกแต่งอื่นๆ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี

กระบวนการแทงหยวกนั้น ต้องเริ่มจากการไหว้ครู เพื่อรำลึกถึงครูอาจารย์ มีธูป 3 ดอก เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่ม ดอกไม้ 3 สี สุรา 1 ขวด ผ้าขาวม้า 1 ผืน เงินค่าครู 142 บาท
      
การแทงหยวกเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์ และสืบทอดคุณค่าทางสังคม โดยการนำความรู้ด้านศิลปะการแทงหยวกไปประกอบอาชีพเสริม และการนำศิลปะการแทงหยวกมาจัดทำเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร หัตถศึกษา อันเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปะการแทงหยวก ให้คงอยู่และพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น

หากย้อนกลับไปศึกษาค้นคว้ารูปแบบของลายแทงหยวก จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.ลายฟันหนึ่ง หมายถึงลายที่มีหนึ่งยอดเป็นลวดลายเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัดแทงหยวกจะต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะความชำนาญ ขนาดของฟันจะต้องเท่ากันทุกซี่ แทงเป็นเส้นตรงไม่คดโค้ง

และต้องฉลุให้เท่ากันทั้งสองด้านลายฟันหนึ่งเป็นลวดลายที่ช่างแทงหยวกใช้กันทุกท้องถิ่นมีทั้งฟันขนาดเล็ก และฟันขนาดใหญ่

ลายฟันหนึ่งขนาดเล็กเรียกว่า ลายฟันปลา ลายฟันหนึ่ง  เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้าง

2.ลายฟันสาม  หมายถึงลายที่มีสามยอดเป็นลวดลายอีกแบบหนึ่งที่ช่างแทงหยวกนิยมใช้กันทุกท้องถิ่น  ขนาดของลายฟันสามโดยทั่วไป

มีขนาดความกว้างประมาณ  8 เซนติเมตร  สูงประมาณ เซนติเมตร ลายฟันสาม  เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้างเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่ง

3.ลายฟันห้า  หมายถึงลายที่มีห้ายอด  มีขนาดใหญ่กว่าฟันสามเล็กน้อย มีขนาดความกว้างประมาณ 9  เซนติเมตร  สูงประมาณ  8 เซนติเมตร  การแทงลายฟันห้ายากกว่าลายฟันสาม

เนื่องจากต้องแทงถึงห้าหยักหรือห้ายอด  หากไม่มีความชำนาญด้านซ้ายและด้านขวาจะมีขนาดไม่เท่ากัน  และโดยเหตุที่ขนาดฟันห้าเป็นลายขนาดใหญ่ การแรลายจึงต้องสอดไส้เพื่อให้ได้ลวดลายที่สวยงามเด่นชัดยิ่งขึ้น  

ลายฟันห้า เมื่อแทงและแยกลายออกจากกันแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทั้งสองข้างเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่งและลายฟันสาม

4.ลายน่องสิงห์หรือแข็งสิงห์ เป็นลายที่ประกอบส่วนที่เป็นเสาและนิยมใช้กันในทุกท้องถิ่นไม่แตกต่างกันลายน่องสิงห์เป็นลายที่แทงยาก  กล่าวคือในการฉลุลายน่องสิงห์เป็นการฉลุเพียงครั้งเดียว

แต่เมื่อแยกออกจากกันจะได้ลายทั้งสองด้านและทั้งสองด้านจะต้องเท่ากันเช่นเดียวกับลายฟันหนึ่ง ฟันสาม และฟันห้า แต่ลายน่องสิงห์ เป็นลายตั้งประกอบเสาด้านซ้ายและด้านขวา

5.ลายหน้ากระดาน  ใช้เป็นส่วนประกอบของแผงส่วนบน ส่วนกลางและส่วนฐาน ชื่อของลายหน้ากระดายที่ใช้กันอยู่ทั่วไป  ได้แก่ ลายรักร้อย ลายก้ามปู ลายเครือเถา ลายดอก เป็นต้น

6.ลายเสา  เป็นลายที่มีความสำคัญเนื่องจากการแทงกระทำได้ยากเช่นเดียวกับลายหน้ากระดานส่วนฐาน ออกแบบลวดลายแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล  

ช่างแทงหยวกมักจะออกแบบลวดลายมีความวิจิตรพิสดาร เพราะลายเสา เป็นลายที่จะแสดงฝีมือของช่างแต่ละคนเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกวดประชันฝีมือกันอีกนัยหนึ่ง ลายที่มักใช้ในการแทงลายเสา  

ได้แก่  ลายเครือเถา เช่น  มะลิเลื้อย ลายกนก  ลายรูปสัตว์ต่าง ๆ  เช่นปลา นก ผีเสื้อ มังกร สัจว์หิมพานต์   ลายดอกไม้ ลายตลก  ลายอักษร ลายสัตว์ 12 ราศี

7.ลายกระจังหรือลายบัวคว่ำ เป็นลายที่ใช้ประกอบกับลายฟันสาม และลายฟันหนึ่ง  นิยมใช้เป็นส่วนยอดและส่วนกลางเท่านั้น  ไม่นิยมใช้เป็นส่วนฐาน มีหลายแบบ ได้แก่ กระจังรวน

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ไม่เพียงเท่านั้นในอดีตที่ผ่านมานายบุญชัย ยังได้มีโอกาสเข้ามาเป็นนายช่างศิลปกรรมประดับประดาพระจิตกาธานในพระเมรุของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ "สมเด็จย่า" สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความงามของลายฉลุรอบพระเมรุที่สมพระเกียรติอีกด้วย

นอกจากนี้ทางอาจารย์บุญชัยยังได้ระบุว่า "เริ่มทำการแทงหยวกตั้งแต่วันที่ 23 และ 24 ตุลาคม โดยต้องแล้วเสร็จภายในเวลา 22.00 น. ของวันที่ 24 ตุลาคม นี้และจะต้องเช็คความเรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปประดับพระจิตกาธานบนพระเมรุมาศโดยนายช่างราชสำนัก 13 นาย ในวันที่ 25 ตุลาคม นี้ และให้เสร็จสิ้นก่อนเวลา 16.00 น. ของวันเดียวกัน

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"

ถวายงานครั้งสุดท้าย!!! นายช่างราชสำนักและจิตอาสานับร้อยคน ร่วมจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ในหลวง ร.9"