เอาให้สุด !?!? ฟังอีกหนึ่งเสียงลุยเต็มที่ "ตัวแทนสหภาพยางฯ" ออกโรงชัดๆไปเลยต่อแต่นี้... เพื่อชาวสวนยาง ยังมีเรื่องเยอะที่ต้องทำ (มีคลิป)

ในรายการทีนิวส์ สด ลึก จริง 22 มีนาคม 2561 ได้นำเสนอข้อมูล สืบเนื่องจาก คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีคําสั่งให้ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ไปปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐประจําสํานักนายกรัฐมนตรี 
ซึ่งจะเป็นผลมาจากก่อนหน้านี้ เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง 14 จังหวัดภาคใต้ ออกมาเรียกร้องให้ พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานบอร์ดการยางแห่งประเทศไทย และ ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ให้ กยท.ยกเลิกประกาศประกวดราคาจัดหาเอกชนรับจ้างบริหารการจัดเก็บเงินเซส ที่กำหนดจะให้มีเอกชนยื่นซองเอกสารข้อเสนอ ในระหว่างวันที่  2- 4 เมษายน  2561 นี้ และให้ยกเลิก TOR 

เพราะฉะนั้น เพื่อความชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เราจะไปฟังเสียง  มานพ เกื้อรัตน์ ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย ที่ได้ให้สัมภาาณ์เอาไว้ในรายการ  (มีคลิป)
 

ขณะเดียวกัน มานพ เกื้อรัตน์ ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย  ได้ให้สัมภาษณ์ระบุถึง ข้อคำถามในส่วนของคำสั่ง ว่า  ในส่วนของสำนักนายกเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของงานได้ก็แก้ไขข้อขัดข้องอะนะก็น่าจะเป็นเรื่องของการบริหารงานที่ ทั้งนี้ยังได้ระบุอีกว่า โดยการปรับปรุงการบริหารจัดการในส่วนของกระทรวงได้เปรียบรัฐมนตรีว่าการใหม่นะครับแล้วก็คนที่เข้ามากำกับดูแลตอนนั้นเนี่ยนั้นหมายความว่าตอนนั้นเนี้ยรัฐบาลเองก็อยากจะแก้ไขปัญหาตรงเนี้ยหนาที่มันถือว่าเป็นวิกฤติมานานโดยเฉพาะเรื่องของราคายาง

โดยส่งผลกระทบโดยตรงกับพี่น้องเกษตรกรและที่สำคัญก็คือเอ่อก่อนเอ่อก่อนหน้านี้นะหะก็จะมีการติดตามข่าวก็คือเรื่องของการพยามที่จะให้เอกชนเก็บเซฟเนี่ยเป็นปัญหาใหม่นะซึ่งทางสหภาพและเพื่อนพี่น้องรวมไปถึงพี่น้องเกษตรกรไม่เห็นด้วย

ไม่เพียงเท่านั้นยังได้มีการขับเคลื่อนซึ่งเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา เนี่ยน้า ก็สถานภาพเอกชนเองก็ได้มีการจัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นนะครับเพื่อมีการขับเคลื่อนเรื่องนี้นะครับโดยหลังจากที่มีประชุมแล้วก็มีการไปยื่นหนังสือนะที่ศูนย์เอ่อรับเรื่องราวร้องทุกข์นะครับเอ่อเพื่อที่จะแจ้งไปยันนายกรัฐมนตรีนะครับเรื่องของการบริหารจัดการว่าเกิดปัญหาเรื่องนี้ขึ้นมาเนี้ยนะนายกเนี่ยได้รับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงประการใด

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจกระทรวงกระเกษตรนะครับเพื่อที่จะยื่นหนังสือและนะก็ร่วมพูดคุยกับทางผู้แทนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัญหาเรื่องนี้ว่าเอ่อที่สุดแล้วเนี้ยสหภาพเองก็ยังจะแล้วก็เพื่อพี่น้องพนักงานอยากจะให้ทบทวนแล้วก็ยกเลิกในเรื่องของการจะเก็บเงินเอ่อยกเลิกการให้เอกชนนะเก็บเงินเซฟรวมไปถึงเรื่องของการปรับปรุงระบบในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนนะครับ

ขณะที่ เงื่อนไขเบื้องต้นจริงๆเราก็มองไปที่เรื่องของการยกเลิกนะเรื่องของการทบทวนการที่  ให้เอกชนเก็บเซฟแล้วก็ยกเลิก TOR ทีนี้เนี้ยเมื่อวันที่21ที่ผ่านมาเนี้ยครับก็มีการประชุมคณะกรรมการแห่งประเทศไทยซึ่งเรื่องนี้ก็อาจจะยังไม่มีความชัดเจนมากนักนะผมก็ต้องตรวจสอบนิดหนึ่งว่าจะบอกได้ว่าให้มีการนำเรื่องนี้เข้าไปพูดคุยกันนะครับว่ามีการดำเนินการเป็นอย่างไรซึ่งผมเชื่อว่าถ้าดูในลักษณะที่เอ่อมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีไม่มีคำสั่งในการที่จะให้ผู้ว่าการนี้นะครับไปปฏิบัติหน้าที่สำนักไหนนายกรัฐมนตรีนี้นะเป็นการพิเศษเนี่ยนะก็ผมเชื่อว่าเรื่องนี้ก็จะต้องเป็นการทบทวนเนื่องจากว่า

ส่วนทิศทางน่าจะดีขึ้น น่าจะดีขึ้นเพราะว่ามัน มันมันมันเป็นเรื่องของการท เราพูดถึงเรื่องคุณภาพชีวิตเกษตรชาวสวนยางเพราะเรื่องนี้ในการให้เอกชนเก็บเงินเนี้ยมันมันส่งผลคุณภาพชีวิตทั้งๆที่ก็มีคุณภาพชีวิตไม่ดีอยู่แล้วนั้นก็คือวิกฤตกาลยางพาราที่มันตกต่ำ ยาวนานเนี้ยนะเพราะฉะนั้นในการซ้ำเติมและผมว่ามันมันไม่ถูกต้อง


 

 

หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ หลังจากที่ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอข้อคัดค้านประเด็นการจัดจ้างเอกชนเก็บเงินเซส  หรือค่าธรรมเนียมการส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร หลังพบแชร์รายได้ให้เอกชน 5%  โครงการจัดจ้างเอกชนเข้ามาจัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยางพารา โดยจะให้เอกชนรับส่วนแบ่งจากรายได้ทั้งหมดจำนวน 5% เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งเดิมแต่ละปี กยท.สามารถจัดเก็บเงินเซสได้ประมาณปีละ 8,000 ล้านบาท ซึ่งหากให้เอกชนเข้ามาจัดเก็บเงินเซส จะทำให้รายได้ตกเป็นของเอกชนปีละ 400 ล้านบาท หรือ 5 ปี รวมเป็นเงินทั้งหมด 2,000 ล้านบาท ชาวสวนยางทุกกลุ่ม รวมทั้ง สร.กยท.จึงไม่เห็นด้วย มองว่าเป็นการจับมือกับนายทุน เพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกัน และสร้างความเสียหายให้แก่ชาวสวนยางและประเทศชาติ จึงนัดชุมนุมใหญ่เพื่อขับไล่


ก่อนหน้าที่จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งให้นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ชะลอโครงการจัดจ้างเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง (เงินเซส) เพราะเป็นเรื่องที่ยากกับการตอบสังคม และเห็นว่าคนของ กยท.สามารถทำได้โดยไม่ต้องว่าจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินงาน

การจัดเก็บเงินเซสต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเป็นรายได้ของรัฐ ไม่ควรปล่อยให้เงินเซสหายไปเพราะนำมาใช้ช่วยเกษตรกรสวนยางทั้งประเทศ เมื่อทดลองใช้คนจำนวนไม่มากเข้าไปทำงานก็ยังทำได้ ก็ไม่ควรต้องจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการ เพราะต้องเสียเงินปีละหลายร้อยล้านและเงินค่าเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบราชการ ไม่มีใครการันตีว่าเอกชนที่จ้างมาจะไม่ทุจริตเพราะตรวจเอง เขียนเอง เก็บเอง

ทั้งนี้ จะให้กรมวิชาการเกษตรไปตรวจสอบกรณีตัวเลขส่งออกยางกับที่ผ่านด่านศุลกากรจึงต่างกันมากเป็นล้านตัน ทำให้รัฐเสียประโยชน์"ได้เรียกผู้ว่าฯ กยท.มาชี้แจงในรายละเอียดโครงการ ซึ่งแจ้งว่า กยท.มีรายละเอียดตัวเลขการส่งออกยางต่างกับที่ผ่านศุลกากรเป็นล้านตัน โดยจัดคนไปประจำด่าน ด่านละ 3คน เก็บตัวเลขก็พบว่ามีตัวเลขต่างกันเก็บเงินได้เพิ่มอีกเป็นพันล้านบาท ดังนั้น เมื่อคนของ กยท.ทำได้และใช้แค่ 3 คน/จุด ก็ให้ใช้คนของ กยท. เพราะไม่เห็นด้วยกับโครงการจ้างเอกชน

 

สำหรับโครงการดังกล่าว กยท.ได้เตรียมประมูลโครงการจ้างเอกชน จัดเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง วาระจ้าง 5 ปี เริ่ม 1 ต.ค. 2561-30 ก.ย. 2566 เอกชนต้องจัดหาที่ทำการในบริเวณด่านศุลกากร จัดหาเครื่อง ชั่ง เจ้าหน้าที่ ระบบเชื่อมต่อศุลกากร ศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย ทั้งนี้เมื่อหมดสัญญาทาง กยท.จะจัดหาเอกชนมาดำเนินการก่อนหมดสัญญา 1 ปีเพื่อให้งานเชื่อมต่อ ยกเว้นรายเดิมเจรจาให้เงื่อนไขดีกว่าเดิม ค่าจ้างไม่เกิน 5% ของเงินเซสที่จัดเก็บได้ปีละประมาณ 8,000 ล้านบาท

 นายธีธัชได้ลงนามในประกาศการยางแห่งประเทศไทย เรื่องประกวดราคาจัดหาผู้รับจ้างบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการส่งยางพาราออกนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 3 ม.ค. 2561

อย่างไรก็ตาม สำหรับกระแสการขับไล่ พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุขประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย และนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เกิดกระแสขึ้นตั้งแต่ที่พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ยังดำรงตำแหน่งเป็น รมว.เกษตรฯ รวมถึงกระแสข่าวเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้มาตรา 44 ปลอด ทั้ง2คนออกจากตำแหน่งอีกด้วย 

อย่างไรก็ตามก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร