โคตรวิกฤติ !!! ฟังความย่อยยับ "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" ชัดแจ้งสุดท้ายเหลือกี่ขบวน?? (มีคลิป)

ในรายการทีนิวส์ สด ลึก จริง 2 เมษายน 2561 ได้นำเสนอประเด็นที่มีวิพากษ์วิจารณ์หลังจากที่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ประสบปัญหาขบวนรถมีให้บริการเพียง 4 ขบวนจากทั้งหมด 9 ขบวน จนทำให้ผู้โดยสารจำนวนหลายคนประสบปัญหาตกค้าง ซึ่งก่อนหน้านี้ สถาบันอนาคตไทยศึกษา เคยศึกษาโครงการแอร์พอร์ตลิงค์  เพื่อเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยฉายให้เห็นการวาดฝันกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงของโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ 

(มีคลิป)

หากย้อนกลับไปรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เละมาตั้งแต่ริเริ่มโครงการแล้ว ยกตัวอย่างในปี 2557 รถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) ของแอร์พอร์ตลิงค์ขบวนที่4 เบรกเสีย เกิดควันไฟคละคลุ้งไปทั่วบริเวณสถานี ผู้โดยสารตกใจวิ่งหนีอลหม่าน  , การคาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร ตามแผนคาดการณ์จะมีผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน 95,900 คน แต่เปิดบริการมา 5 ปี มีผู้โดยสารเฉลี่ยแค่ 40,811 คนต่อวัน เท่านั้น , แอร์พอร์ตลิงค์ ยังมีเรื่องฉาวๆ ที่ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)เข้ามาตรวจสอบโครงการหลังเกิดรัฐประหาร 9 กันยาฯ 2549 ประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ การที่ ร.ฟ.ท.จ่ายค่าธรรมเนียมการเงินสำหรับโครงการสูงถึง 7% หรือ 1,666 ล้านบาท ขณะที่โครงการอื่นจะไม่เกิน 2.5% 

เกิดอุบัติเหตุและความขัดข้องวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เวลา  นางสาวเอ (นามสมมติ) อายุ 31 ปี ได้พลัดตกลงไปในรางรถไฟฟ้าฝั่งมุ่งหน้าไปสถานีพญาไท ณ สถานีบ้านทับช้าง ในขณะที่รถไฟฟ้ากำลังจะเข้าเทียบชานชาลาในอีก 100 เมตร ทำให้ขบวนรถทับร่างนางสาวเอเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุทันที 

โคตรวิกฤติ !!! ฟังความย่อยยับ  "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" ชัดแจ้งสุดท้ายเหลือกี่ขบวน??  (มีคลิป)
สำหรับ รถไฟความเร็วสูง โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษ ที่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และ รถไฟความเร็วสูง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และโครงการระบบรถไฟความเร็วสูง ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์  มีการให้บริการ อยู่ 8 สถานี
1. พญาไท
2. สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ราชปรารภ
3. สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ มักกะสัน
4. สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ รามคำแหง
5. สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ หัวหมาก
6. สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ บ้านทับช้าง
7. สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ลาดกระบัง
8. สนามบินสุวรรณภูมิ

 

โคตรวิกฤติ !!! ฟังความย่อยยับ  "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" ชัดแจ้งสุดท้ายเหลือกี่ขบวน??  (มีคลิป)

ขณะเดียวกัน ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์ข้อความระบุว่า  แอร์พอร์ตลิงก์วิกฤต! สุดท้ายจะเหลือกี่ขบวน?

เป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่งที่เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวว่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มีขบวนรถที่สามารถวิ่งให้บริการได้เพียง 5 ขบวน จากทั้งหมด 9 ขบวน ทำให้ผู้โดยสารต้องเสียเวลารอนาน จนมีผู้โดยสารแน่นชานชาลา เนื่องจากเมื่อมีขบวนรถไฟฟ้ามาจอดก็ไม่สามารถขึ้นได้ทันทีเพราะมีผู้โดยสารเบียดกันแน่นตู้รถไฟฟ้ามาแล้ว ต้องรอขบวนต่อไป ส่งผลต่อระยะเวลาการเดินทางที่ต้องใช้เวลานานขึ้น

 

โคตรวิกฤติ !!! ฟังความย่อยยับ  "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" ชัดแจ้งสุดท้ายเหลือกี่ขบวน??  (มีคลิป)

ผมได้แสดงความห่วงใยต่อการซ่อมบำรุงรักษารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มาโดยตลอดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยได้ชี้ให้เห็นว่าแอร์พอร์ตลิงก์ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการซ่อมบำรุงรักษา กล่าวคือไม่มีการซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) หลังจากวิ่งได้ถึงระยะทางที่กำหนดไว้ในคู่มือซ่อมบำรุงรักษา เป็นเหตุให้แอร์พอร์ตลิงก์เสียเป็นระยะๆ ดังที่ทราบกันโดยทั่วไป

ผมไม่อยากเชื่อเลยว่าหลังจากผมได้เตือนผู้บริหารของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และเป็นบริษัทภายใต้การกำกับดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้เข้มงวดกวดขันการซ่อมบำรุงรักษาตลอดมา เพราะผมเป็นห่วงความปลอดภัยของผู้โดยสาร แต่แอร์พอร์ตลิงก์ก็ไม่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น กลับมาถึงจุดวิกฤตจนได้

แอร์พอร์ตลิงก์เริ่มเปิดให้บริการเต็มรูปเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2553 โดยมีขบวนรถไฟฟ้าทั้งหมด 9 ขบวน ประกอบด้วยรถไฟฟ้าด่วน (Express Line) ซึ่งจอดเฉพาะสถานีมักกะสันและสถานีสุวรรณภูมิเท่านั้นจำนวน 4 ขบวน และรถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) ซึ่งจอดทุกสถานีจำนวน 5 ขบวน ต่อมามีการปรับเปลี่ยนการให้บริการโดยให้รถไฟฟ้าทุกขบวนจอดทุกสถานี ไม่มีขบวนรถไฟฟ้าด่วน ตลอดการให้บริการที่ผ่านมาปรากฏว่าขบวนรถไฟฟ้าลดลงมาเป็นระยะๆ เนื่องจากรถเสีย ถึงเวลานี้ (ณ วันที่ 29 มีนาคม 2561) มีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่สามารถใช้งานได้เหลือเพียง 5 ขบวน เท่านั้น

ผมได้ตรวจสอบข้อมูลการให้บริการดูพบว่า มีขบวนที่เสีย 3 ขบวน ประกอบด้วย รถไฟฟ้าธรรมดา 2 ขบวน (City 03 และ City 04) และรถไฟฟ้าด่วน 1 ขบวน (Express 03) ขบวนที่อยู่ในระหว่างการซ่อมบำรุงใหญ่ 1 ขบวน (Express 04) และขบวนที่ใช้งานได้ 5 ขบวน ประกอบด้วยรถไฟฟ้าธรรมดา 3 ขบวน (City 01, City 02 และ City 05) และรถไฟฟ้าด่วน 2 ขบวน (Express 01 และ Express 02)

การซ่อมบำรุงรักษาที่ดำเนินไปอย่างล่าช้า ไม่ว่าจะเกิดจากการไม่มีอะไหล่เก็บสำรองไว้ หรือจากการจัดซื้อจัดจ้างที่ใช้เวลานาน หรือจากสาเหตุใดก็ตาม ย่อมหนีความรับผิดชอบของผู้บริหารแอร์พอร์ตลิงก์ไปไม่พ้น จะเอาเหตุผลใดมาอ้างก็ฟังไม่ขึ้น เพราะทุกเหตุผลไม่สำคัญกว่าความปลอดภัยของผู้โดยสาร

น่าเห็นใจพนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานซ่อมบำรุงรักษาที่ได้พยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยการส่งอุปกรณ์ที่เสียไปซ่อมแถวคลองถมแทนการรออะไหล่จากต่างประเทศซึ่งต้องใช้เวลานาน ทำให้สามารถซ่อมรถไฟฟ้าเสร็จไปแล้ว 1 ขบวน ส่งผลให้มีรถไฟฟ้าที่สามารถให้วิ่งบริการได้ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 6 ขบวน

โคตรวิกฤติ !!! ฟังความย่อยยับ  "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" ชัดแจ้งสุดท้ายเหลือกี่ขบวน??  (มีคลิป)

หากการซ่อมบำรุงรักษายังคงดำเนินไปในลักษณะนี้ โอกาสที่รถไฟฟ้าจะเสียอีกบ่อยๆ ก็ยังคงมีอยู่ สุดท้ายจะเหลือรถไฟฟ้าที่วิ่งให้บริการได้กี่ขบวน เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก และที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นก็คืออุบัติเหตุจากการซ่อมบำรุงรักษาที่ไม่ดีพออาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น

แม้ว่าที่ผ่านมาในช่วงรัฐบาลนี้ได้มีการเปลี่ยนคณะกรรมการและผู้บริหารของแอร์พอร์ตลิงก์มาหลายครั้งแล้วก็ตาม แต่การให้บริการของแอร์พอร์ตลิงก์ก็ยังไม่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ลงมือผ่าตัดการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์เสียที ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก สบาย และปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นสำคัญ

ผมเป็นห่วงผู้โดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ทุกคนครับ