สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

หลายปีที่ผ่านมา "ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21" หรือ "ห้องเรียนศตวรรษที่ 21" เป็นแนวคิดที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนมนุษย์ให้เกิดศักยภาพสูงสุด และฟันเฟืองใหญ่ที่จะผลักดันแนวคิดนี้ให้นำไปใช้ได้จริง ล้วนต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์กรด้านการศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาเป็นสำคัญ

 


บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จํากัด (มหาชน) ตระหนักดีถึงความสําคัญนี้ จึงร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน "โครงการสัมมนาผู้นําทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ประจําปี 2559" (หรือ TELS2016) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3  ดึง เคน เคย์ ผู้คิดค้นแนวคิดการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ระดมสุดยอดผู้นำความคิดการศึกษาระดับโลก แชร์ประสบการณ์ภายใต้แนวคิด "เรียนรู้จากนักคิดแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การปฏิบัติในบริบทของประเทศไทย" ปลุกแรงบันดาลใจผู้บริหารสถานศึกษาสู่การปฏิรูปเชิงนโยบายมุ่งชี้แนวทางปฏิบัติสร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ในบริบทประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน พลิกโฉมระบบจัดการการศึกษาไทย สร้างนักเรียนยุคใหม่พร้อมเป็นพลเมืองแห่งอนาคต ตอบรับเศรษฐกิจโลกใหม่

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016

 


นายตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เผยว่า อักษรเชื่อว่า การสร้างประเทศให้เข้มแข็งและมีความสามารถแข่งขันในระดับโลก การศึกษาต้องแข็งแกร่ง เพราะการศึกษาคือพื้นฐานในการสร้างอนาคตชาติ ซึ่งเป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกยุคใหม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด หลายปีที่ผ่านมา บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) จึงได้ร่วมมือกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการสัมมนาผู้นำทางการศึกษาแห่งประเทศไทย 2559 หรือ TELS2016 ซึ่งปีนี้จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์หลักมุ่งสร้างแรงบันดาลใจผู้บริหารสถานศึกษาสู่การปฏิรูปเชิงนโยบาย เพื่อสร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ในบริบทประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม จากการชี้แนวทางปฏิบัติโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาชั้นนำ และเรียนรู้จากต้นแบบห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วในเอเชีย

 


"จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในรับการศึกษาต้องเริ่มจากผู้อำนวยการโรงเรียนก่อน ดังนั้นเราจึงมุ่งจุดประกายกลุ่มผู้นำทางการศึกษาเพื่อก่อให้เกิดการปฏิรูปในเชิงนโยบาย โดยเราหวังว่าการสัมมนาครั้งนี้จะก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายโปรเฟสชั่นแนลเลนนิ่งคอมมูนิตี้ (Professional Learning Community หรือ PLC)ให้กลุ่มผู้บริหารการศึกษาหรือครู มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่อีกขั้นของการสร้างระบบการจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติที่ใช้ได้จริง"

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016

 

 

เคน เคย์ ผู้คิดค้นแนวคิดการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ชี้ให้เห็นบนเวที Tels 2016 ว่า ครูส่วนใหญ่ตระหนักแล้วว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีความสำคัญต่อการสร้างนักเรียนและพลเมืองโลก แต่ก็ยังเผชิญอุปสรรคในการสร้างห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21 นั่นเพราะครูส่วนใหญ่เติบโตและถูกสอนมาในระบบการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคอุตสาหกรรม เน้นสร้างบุคลากรให้มาเป็นแรงงานทำงานซ้ำซาก ทำให้ครูมองภาพการสอนโดยใช้แนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ไม่ชัดเจน ทั้งที่โลกยุคใหม่ในค.ศ. 2020 คาดหวังพลเมืองที่มีคุณสมบัติสามารถแก้ปัญหาได้, มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์,  ความคิดสร้างสรรค์, ทักษะในการบริหารผู้คน และทักษะการสื่อสาร-ประสานงานร่วมกัน โดยยกตัวอย่างโมเดลองค์กรที่สามารถผสมผสานทักษะนี้ได้เป็นอย่างดีและสามารถสร้างบุคลากรเพื่อรองรับเศรษฐกิจยุคใหม่นี้ได้ดี คือ บริษัทระดับโลกอย่าง Google


"ครูควรดึงศักยภาพของนักเรียนออกมาให้มากที่สุด ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการสอนนักเรียนชื่อออสตินวัย 7 ขวบ ร่างภาพผีเสื้อตั้งแต่ร่างที่ 1 ถึงภาพร่างที่ 6 เราจะเห็นความแตกต่างในรายละเอียดที่มีความชัดเจนขึ้น พัฒนาการนี้เกิดขึ้นได้ครูต้องร่วมมือและสื่อสารกับนักเรียน โดยทำหน้าที่เป็นเพียงไกด์ไลน์ให้กับเด็ก อย่าหยุดความพอใจแค่ภาพร่างแรก บ่อยครั้งการมองข้ามความร่วมมือและใส่ใจนี้มาตั้งแต่ระดับประถม จึงเป็นเหตุให้นักเรียนมัธยมปลายสอนยากขึ้น" เคน แนะแนวถึงคุณสมบัติครูสำหรับศตวรรษใหม่

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016


กุญแจที่ผลักดันทักษะการศึกษาศตวรรษที่ 21 ให้เกิดขึ้นในเชิงปฏิบัติได้มีสองประการ ได้แก่ 1.โรงเรียนหรือกลุ่มสถานศึกษาต้องระบุขีดความสามารถต่างๆ ที่คนรุ่นใหม่ต้องบรรลุผลสำเร็จได้เมื่อจบการศึกษา 2.แนวทางการสอนต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่วิธีการสอนใหม่ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถตามทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้ โดยครูควรมีคุณสมบัติที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และควรสร้าง Project Learing ร่วมกัน ให้ครูทุกคนช่วยกันระดมไอเดียออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละโรงเรียน เพื่อตอบโจทย์นักเรียนที่มีแตกต่างกัน

 

 

 

ด้าน ดร.เดวิด เคล็ท กรรมการผู้จัดการ บริษัทในเครือเคล็ท กรุ๊ปจากเยอรมนี หนึ่งในบริษัทด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เผยว่า เป็นเรื่องน่ากลัวว่าอนาคตเทคโนโลยีกำลังมาทดแทนแรงงานซ้ำซากของมนุษย์ ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลง ไม่สำคัญเลยว่าโรงเรียนจะมีทุนหรือไม่มีทุน จะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมืองหรือชนบท ทุกโรงเรียนสามารถสร้างห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21 นี้ให้เกิดขึ้นได้ หากยังคงศรัทธาในทรัพยากรหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเด็กทุกคน นั่นคือ "ความอยากรู้อยากเห็น" เพราะการศึกษาทั้งหมดเป็นเรื่องของความอยากรู้อยากเห็น

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016


"บทบาทของครูคือให้พื้นที่กับความอยากรู้อยากเห็นในตัวนักเรียนให้มากที่สุด ไม่ใช่กดดัน หรือปิดกั้น เพราะความอยากรู้อยากเห็นจำเป็นต่อการเตรียมพร้อมให้นักเรียนอยากเรียนรู้ เพียงสามารถกระตุ้นสิ่งนี้ได้ ทุกอย่างก็จะง่ายต่อการสอน" เดวิดกล่าวโดยสรุป


ทั้งนี้ โครงการสัมมนาผู้นำทางการศึกษาแห่งประเทศไทย2559 หรือ TELS2016 ยังระดมสุดยอดแรงบันดาลใจทางการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 มาแชร์ประสบการณ์อีกมากมาย อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยมาไขเคล็ดลับการสร้างห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21 ในบริบทของประเทศไทย และรองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดี สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.วอน กัน ลี ที่ปรึกษานโยบายสถาบันการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติสาธารณรัฐเกาหลี ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ร่วมด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนต้นแบบห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ทั่วเอเชีย ได้แก่ จีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016

 


"การจัดงานที่ผ่านมาเราได้สร้างปรากฏการณ์ให้เกิดขึ้นในห้องเรียน ยกตัวอย่างโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งในบ้านบ้องตี๋ บนเทือกเขาตะนาวศรีได้นำไอเดียทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มาประยุกต์และสร้างความเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนของเขาได้ อีกกรณีอาจารย์ในต่างจังหวัดไม่ได้จบสาขาวิทยาศาสตร์ แต่นำแนวคิดนี้ดัดแปลงจนสอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถม 4 ได้ แม้เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ และเกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอน แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะหากมองภาพใหญ่การจัดการระบบการศึกษาไทยยั่งยืนต้องเปลี่ยนแปลง 5 สเต็ป คือ 1.Vision (วิสัยทัศน์) 2.Inspiration (แรงบันดาลใจ) 3.Empower (ให้อำนาจ) 4.Investment (บริหารทรัพยากรณ์) 5.Trust (ศรัทธาในครู)หน้าที่ของเราคือการทำให้วิชั่นนั้นกระจ่างชัดเจนและขยายผลไปยังขั้นตอนต่อๆ ไปและท้ายสุดคือต้องสร้างศรัทธาในตัวครู เพราะเมืองไทยยังมีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับอาชีพครู ทำให้การกำหนดนโยบายไม่สอดคล้องกับปัญหาที่แท้จริง" นายตะวันเสริมในฐานะผู้จัดงาน


สามารถดูรายละเอียดของงานเพิ่มเติมได้ที่ www.aksorn.com/tels16

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016

 

สุดยอดผู้นำความคิดระดับโลก จุดประกายผู้บริหารการศึกษาไทย ปั้นครูแห่งอนาคต สร้างห้องเรียนศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริง-ยั่งยืน บนเวที TELS2016