ปฏิรูปตำรวจ : แตะที่ไหนเน่าที่นั่น

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

โดย วสิษฐ เดชกุญชร

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559 นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ลงชื่อในคำสั่งให้ข้าราช การพลเรือนและตำรวจจำนวน 23 คน ระงับการปฏิบัติราชการ โดยไม่ขาด จากตำแหน่งเดิม และย้ายให้ไปปฏิบัติราชการในหน่วยงานอื่นในสังกัด เดิมเป็นการชั่วคราว

 เหตุผลของการออกคำสั่งนี้คือจึงข้าราชการเหล่านั้นถูกร้องเรียน หรือ กล่าวหาว่าปล่อยปละละเลยให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในพื้นที่รับผิด ชอบของตน หรือมีการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือดำเนินการ หรือไม่ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ จนเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ และมีข้อ มูลอันสมควรตรวจสอบ

 

ข้าราชการพลเรือนที่ถูกย้ายครั้งนี้มีจำนวน 6 คน มีตำแหน่งตั้งแต่ผู้ว่า ราชการจังหวัด รองอัยการจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด และแรงงานจังหวัด
 ส่วนข้าราชการตำรวจที่ถูกย้ายนั้นมียศตั้งแต่พลตำรวจโท พลตำรวจ ตรี พันตำรวจเอก พันตำรวจโท และพันตำรวจตรี เป็นจำนวนถึง 17 คน  พล.ต.ท.ที่ถูกย้ายนั้นมีตำแหน่งสูงเป็นถึงผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 อัน เป็นภาคใต้สุด พล.ต.ต.ที่ถูกย้าย 3 คน คนหนึ่งเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสมุทรสาคร คนหนึ่งเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา และ อีกคนหนึ่งเป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ส่วนนาย ตำรวจอื่นๆที่ถูกย้าย หลายคนก็มีตำแหน่งในจังหวัดสงขลาและสมุทรสาคร บางคนสังกัดกอง บังคับการตำรวจท่องเที่ยวและกองบัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
 ก่อนหน้าที่หัวหน้า คสช.จะมีคำสั่งย้ายฉบับนี้ เมื่อค่ำวันที่ 29 มกรา คม ปีนี้ เจ้าหน้าที่ทหารจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ. รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ได้สนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ จำนวนกว่า 100 นาย บุกเข้าทลายบ่อนการพนันใหญ่กลางนครหาดใหญ่ จับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งชายและหญิง 125 คน และของกลางเป็นอุปกรณ์ สำหรับใช้เล่นการพนัน กับเงินของกลางเป็นจำนวนถึง 11 ล้านบาท
 บ่อนการพนันใหญ่ในจังหวัดสงขลานั้นมีมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้นและ ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมได้หลายหนหลายแห่ง ครั้งแล้วครั้งเล่า ตำรวจถูกย้ายถูก ตั้งกรรมการสอบสวน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าบ่อนหยุดกิจการ หรือจำนวนบ่อน น้อยลง
 ส่วนในจังหวัดสมุทรสาครนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับแรงงานพม่าซึ่งเรื้อรังมานานหลายปี และพัวพันถึงทั้งข้าราชการฝ่ายปกครองและตำรวจ สำหรับ ตำรวจนครบาลนั้น นายตำรวจที่ถูกย้ายตามคำสั่งของหัวหน้า คสช.ล้วนมี ส่วนเกี่ยวข้องกับสถานบริการอาบอบนวด “นาตารีเอ็นเตอร์เทนเมนท์” สถานบันเทิงที่ถูกชุดปฏิบัติการพิเศษของกรมการปกครองและเจ้าหน้าที่ กองอาสารักษาดินแดนบุกเข้าจับกุมฐานนำหญิงต่างด้าวอายุต่ำกว่า 18 ปี มาค้าประ เวณี เมื่อวันที่ 6 เดือนนี้ (มิถุนายน 2559)
 

การออกคำสั่งของหัวหน้า คสช.ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ พล.อ.ประ ยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ แก้ปัญหาบุคลากรตำรวจ และคราวนี้กระทำโดยไม่คอยผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ จะได้ผลอย่างใดหรือไม่ก็คงจะต้องคอยดูกันก่อน แต่ผลที่ เกิดขึ้นแล้วอย่างแน่นอน ก็คือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้น อย่างกระทันหันไม่มีผู้ใดคาดหมาย การเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมกระทบกระ เทือนการบริหารราชการตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างไม่ต้องสงสัย คง ต้องมีการแต่งตั้งนายตำรวจอื่นให้ไปปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ที่ถูกย้ายอย่าง แน่นอน แต่จะมีใครรับรองได้ว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งไปทำหน้าที่แทนนั้นจะมี คุณสมบัติและความสามารถครบถ้วน เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นั้นเพียงใด หรือไม่ และแม้คำสั่งของหัวหน้า คสช.จะระบุว่าในกรณีที่ีไม่พบความผิด หรือไม่ถึงขั้นต้องดำเนินการทางวินัย ให้ผู้ที่ถูกย้ายและสอบสวนกลับไป ดำรงตำแหน่งในระดับเดิมตามความเหมาะสม แต่ผู้ถูกย้ายก็ตกเป็นจำเลย ของสังคมแล้ว และความเสียหายทางใจและส่วนตัวของผู้ที่ถูกย้ายก็เกิด ขึ้นแล้ว
 การทุจริตและหาประโยชน์โดยมิชอบของตำรวจนั้นมีมานานเกินไป และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจะโดยผู้บังคับบัญชาตำรวจเองหรือโดยใช้ อำนาจพิเศษก็ตาม จะได้ผลก็แต่เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ถึงเวลาแล้วที่ จะต้องสังคายนาการบริหารราชการตำรวจทั้งระบบ มิฉะนั้นสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติก็จะยังเป็นขยะหรือสิ่งปฏิกูลกองใหญ่กลางเมืองอยู่ต่อไป เช่นนี้