"สนธิญาณ" หยัน! "ลิ่วล้อแม้ว" โหนเหตุการณ์ตุรกีปลุกเร้ามวลชน หวังลมๆ แล้ง ๆ เพราะด้านกลับ "ตุรกีโมเดล"เกิดแล้ว คนไทยผนึกคสช. ต้านนักการเมืองชั่ว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tnews.co.th

รายการ "สถาพรถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 18 กรกฎาคม 2559  ออกอากาศทางช่อง ทีนิวส์ ดำเนินรายการโดย คุณสถาพร เกื้อสกุล (ถา) ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย)  กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ทีนิวส์ทีวี โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้


สถาพร :เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงวันเสาร์เกิดสถานการณ์ที่หลายคนให้ความสนใจ คือเกิดการรัฐประหารขึ้นในประเทศตุรกี ที่จะโค่นล้มอำนาจของประธานาธิบดี  เรเจป ไตยิป เอร์โดอาน แต่ผู้ก่อการก็ทำไม่สำเร็จ แน่นอนว่าฝ่ายในส่วนหนึ่งของประเทศไทยมีนักการเมืองบางคนก็ยกเอาประเด็นนี้มาเทียบเคียง มาปลุกให้กับคนไทยในประเทศนั้นลุกขึ้นมาต่อสู้กับเผด็จการเช่นเดียวกัน

 

สนธิญาณ : ก็เป็นเรื่องที่ควรจะทำนะครับ สำหรับคนที่อยู่ในระบอบทักษิณ ถ้าไม่ฉวยโอกาสตอนนี้ก็ไม่รู้จะไปฉวยโอกาสตอนไหนแล้วนะครับ แต่ผมคิดว่าเป็นการฉวยโอกาสที่ไม่เข้าท่า ไม่ได้หมายความว่า คือเป็นเรื่องของการไร้ความเข้าใจในทางการเมืองอยู่กับความฝันเฟื้อง หลายคนที่ออกมาไม่ว่าจะเป็นคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณวัฒนา เมืองสุข คุณจตุพร พรหมพันธุ์ เครือข่ายต่าง ๆ ของระบอบทักษิณที่ออกมาถือว่าขาดความเข้าใจในทางการเมือง หรือแบบคุณจาตุรนต์จะบอกว่าขาดความเข้าในทางการเมืองก็ไม่ได้เพราะเขาก็มีประสบการณ์ทางการเมืองในฐานะผู้นำนักศึกษาเคยเข้าป่าในสถานการณ์หนึ่งแต่วันนี้ มุมมองของการมองทางการเมืองก็อาจจะแคบ เพราะว่ามีอัตตาหรือสิ่งที่ตัวเองกำลังเผชิญหรือเจออยู่ ทำให้มาบังตาที่ทำให้การวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ คลาดเคลื่อนไป ผมเรียนว่าจากที่คุณสถาพรได้รายงานคุณผู้ชมไปเมื่อสักครู่ การรัฐประหารในประเทศตุรกีเป็นการทำโดยกลุ่มทหารกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่กองทัพทุกเหล่าทัพ ดังนั้นเวลาเกิดรัฐประหารแบบนี้ก็ต้องไล่เรียงไปก่อนว่า ไม่ใช่ว่าจู่ ๆ เขาคิดเพียงวันเดียว ต้องมีขบวนการแลกเปลี่ยนคบคิดว่า ใครจะทำอะไร จะวางกำลังจะต้องทำอะไรอย่างไร ต้องพูดคุยกันเยอะพอสมควร แต่ก็แสดงว่าเป็นการพูดคุยจากคนกลุ่มเดียวและคาดหวังว่า หลังจากยึดอำนาจแล้วจะใช้สถานการณ์แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โจมตี รุกรบรุนแรง และผลก็ปรากฏเกิดการตาย การยิง การโจมตีรุนแรงเหมือนกันการข่มขวัญในทางยุทธวิธี เพื่อให้อีกฝ่ายค่อนข้างหวาดกลัว แต่การต่อสู้ของฝ่ายที่มีอำนาจทางการเมือง การรัฐประหารก็คือการช่วงชิงอำนาจทางการเมือง มีการวางแผนเตรียมการจากกลุ่มอำนาจกลุ่มหนึ่ง และในทางนี้คือจะมีกลุ่มอำนาจอีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มเดิมจะต้องต่อสู้และช่วงชิง จะใช้หลักว่าประชาธิปไตย ฝ่ายประชาธิปไตย ฝ่ายที่มาจากการเลือกตั้ง อีกฝ่ายเป็นฝ่ายเผด็จการก็แล้วแต่จะใช้ชื่อกันไป แต่คือการต่อสู้ของกลุ่มอำนาจทางการเมือง 2 กลุ่ม แล้วประชาชนอยู่ตรงไหนนั่นคือคำถาม ประชาชนหากจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการต่อสู้และนำการต่อสู้โดยประชาชนเองแบบนั้นจะเรียกว่า การปฏิวัติประชาชน นี่เป็นสิ่งที่ถ้าประชาชนเข้าไปมีส่วนในการต่อสู้ด้วย หมายถึงประชาชนนำต่อสู้ในเหตุสถานการณ์ต่อสู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง กลับมาดูต่อว่าการรัฐประหารแท้ ที่ผมบอกว่าเครือข่ายระบอบทักษิณก็ออกมาตีปี๊บ หมายความว่า ประชาชนมีโอกาสแล้วดูเป็นตัวอย่างไว้ นั่นจะต้องต่อสู้แล้ว ผมเรียนว่าไม่ต้องไปดูตัวอย่างของประเทศตุรกี ดูตัวอย่างประเทศไทยเมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และหนุนหลังกองทัพ กองทัพทุกกองทัพ สนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ พอรัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่ต่อเนื่องมาจากการยึดอำนาจของเหล่าทัพต่าง ๆ เมื่อกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2534 ย้ำว่าเหล่าทัพต่าง ๆ ทุกเหล่าทัพ ทหาร ตำรวจ มีการยึดอำนาจและเป็นเอกภาพมาก เพราะผู้นำเหล่าทัพเป็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกัน ท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้กับประชาชน ฉะนั้นไม่ต้องมาบอกว่าให้ประชาชนทำอะไร ใครที่เห็นร่วมหรือเป็นทางเดียวถ้าต่อสู้กับประชาชนก็แพ้หมด ทีนี้กลับมาดู คสช. สิตอนเขาจะยึดอำนาจ เป็นการยึดอำนาจที่ไปตอบสนองความรู้สึกของประชาชนหรือเปล่า ประชาชนในขณะนั้นคือ กปปส. ที่ออกมาชุมนุมเพราะทนไม่ได้กับพฤติกรรมของรัฐบาล ในการเผด็จการรัฐสภา ใช้อำนาจบาตรใหญ่เกินกว่าเหตุในการใช้ประชาธิปไตย นี่คือรากเหง้าราดฐานที่นะไปสู่การยึดอำนาจ มาจากแบบนั้น เป็นความรู้สึกร่วมของประชาชน เคยเห็นนะครับที่คนออกมาชุมนุมกัน 4 - 5 ล้านคน เป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในโลกนะครับ ในขณะตอนที่เครือข่ายคนเสื้อแดงชุมนุมเมื่อปี 2553 ระดมกันหนัก ส.ส. เกณฑ์รู้อยู่แก่ใจ วนเวียนไปเกณฑ์กันเข้ามายังได้หนึ่งแสนคนเอง นี่คือความแตกต่างกันในแง่ความรู้สึก ความจริงเป็นด้านตรงข้าม ตุรกีโมเดล เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทยก็คือประชาชนร่วมมือกับรัฐบาล นี่ร่วมกันอยู่ในปัจจุบันส่งเสริมที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์อยู่ได้ก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนร่วมปกป้องรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ดูแลรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์อยู่ จากการก่อเหตุ ระวังป้องกันปัญหาต่าง ๆ ของประเทศชาติไม่ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น ซึ่งมีคนคิดจะทำอย่างนั้น และทำมาตลอดจัดตั้งในทางลับก่อการระเบิด เตรียมการในการที่จะก่อความวุ่นวายขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าภาษาชาวบ้านหรือผมเขียนลงไปให้เห็นในทีนิวส์ แบบสรุปสั้น ๆ คือขำหนักมากกับพวกโหนกระแส ขำจริง ๆ โหนโดยตัวเองขาดความเข้าใจทางการเมืองอย่างนายวัฒนา เมืองสุข โดดออกมาเล่นการเมืองได้เพราะเป็นลูกเขยของซีพีต่อเนื่องไม่ได้ไต่เต้าทางการเมืองหรอกครับ มาแสดงบทบาททางการเมืองให้เข้าตานายไม่ใช่คนตาประชาชน วันนี้มาแอบอ้างยืนหยัดสร้างภาพว่าอยู่เคียงข้างประชาชน ไม่มีผล ส่วนคนอื่น ๆ อาจจะอยู่กับประชาชน เติบโตมาจากประชาชนจำนวนหนึ่งแต่สิ่งที่เป็นอยู่คืออัตตาของตัวเองที่มาบังตา จนทำให้การวิเคราะห์ทางการเมืองคลาดเคลื่อน มองไม่เห็นข้อเท็จจริง สิ่งที่จะติดตามมาก็จะนำพาไปสู่การไม่บรรลุเป้าหมายในสิ่งที่คาดหวัง ไปสร้างความหวังลม ๆ แล้ง ๆ หรือได้แค่โหนกระแส ความจริงที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ จะอยู่ในความขัดแย้งที่อยู่ระหว่าง ประชาชนกับผู้มีอำนาจในรัฐ นั่นจะนำพาไปสู่การปฏิวัติประชาชน ผู้มีอำนาจขัดแย้งกันเองในตุรกีซึ่งประชาชนแค่ออกมาผสมโรง เป็นประชาชนที่มีความศรัทธากลุ่มคนข้างใดข้างหนึ่งออกมาผสมโรง จึงแปรเปลี่ยนไป สถานการณ์การแพ้-ชนะในตุรกี ความชี้ขาดอยู่ที่กลุ่มที่มีอำนาจจัดการ แต่ประชาชนเป็นองค์ประกอบที่เข้ามาเป็นกระแสที่ทำให้รู้สึกว่า การต่อสู้มีความหมาย มีคุณค่าและมีข้ออ้างในการที่จะต่อสู้เพื่อประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉะนั้นที่ออกมาเรียงลำดับความให้เข้าใจว่า ตุรกีเป็นเรื่องฝันลม ๆ แล้ง ๆ และขำหนักมากจริง ๆ