"สนธิญาณ" ชี้! ไม่น่าแปลก "117 รายชื่อ" มี "ปชป." รวมอยู่กับ "พท." เพราะอ้างประชาธิปไตย แต่จะรู้หรือไม่เข้าทาง"ระบอบทักษิณ" ที่จะหยิบมาปลุกระดมหาก รธน.ไม่ผ่าน

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tnews.co.th

รายการ "สถาพรถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 21 กรกฎาคม 2559  ออกอากาศทางช่อง ทีนิวส์ ดำเนินรายการโดย คุณสถาพร เกื้อสกุล (ถา) ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย)  กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ทีนิวส์ทีวี โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้


สถาพร : เรื่องราวเกี่ยวกับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเหลือเวลาอีก 17 วัน ที่จะมาการลงประชามติกันแล้ว กำหนดไว้วันที่ 7 สิงหาคม เมื่อวานมีความเคลื่อนไหวที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ที่เครือข่ายกลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย ได้บอกว่า ประกอบไปด้วยเครือข่ายประชาสังคมและนักวิชาการต่าง ๆ กว่า 117 รายชื่อ และ 16 องค์กร ได้ทำการออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ขึ้นมา เรียกร้องเรื่องการทำประชามติ

 

สนธิญาณ : น่าสนใจนะครับสำหรับเครือข่ายพลเมืองผู้ห่วงใย ที่น่าสนใจมากที่สุดก็มีผู้ที่ไปลงรายชื่อทั้งสิ้นในครั้งนี้ เป็นองค์กร 17 องค์กรด้วยกัน ไม่ต้องไล่เลียงรายละเอียด แต่สำหรับบุคคลน่าสนใจทั้งสิ้น 117 รายชื่อ ผมคิดว่าแต่ละชื่อนี่น่าสนใจ ประกอบไปด้วยคน 2 กลุ่ม ชื่ออื่น ๆ ก็นักวิชาการนักเคลื่อนไหวอะไรก็ว่ากันไป แต่กลุ่มหนึ่งคือนักการเมือง รายชื่อนักการเมืองที่น่าสนใจประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายบัญญัติ บรรทัดฐาน, นายองอาจ คล้ามไพบูลย์, นายเกียรติ สิทธีอมร, นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ, คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช, นายธนา ชีรวินิจ และ นายสาธิต ปิตุเตชะ

 

สถาพร : เป็นแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ทั้งนั้นเลยครับ

 

สนธิญาณ : ใช่ครับ ก็ต้องถือว่าเป็นหัวหน้าพรรค เป็นแกนนำบุคคลสำคัญ ที่เรียกว่ามีอำนาจในการชี้นำในฐานะพรรคประชาธิปัตย์ได้ โดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรายชื่ออีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเหลือเชื่อว่าจะมารวมกันได้ แต่ก็ได้รวมกันไปแล้ว ประกอบไปด้วย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรี สามีคุณเยาวภา, พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ อยู่พรรคเพื่อไทย, นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตประธานรัฐสภา, ดร.โภคิน พลกุล, ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี, นายภูมิธรรม เวชยชัย, คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา,  นายจาตุรนต์ ฉายแสง, รศ. ชูศักดิ์ ศิรินิล, นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล, ศ. พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ, นายวัฒนา เมืองสุข, น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ, ดร. ภูวนิดา  คุนผลิน, นายนัจมุดดีน อูมา และ ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต เป็นต้น 2 กลุ่มนี้ เป็นพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความเห็นร่วมกันในข้อเรียกร้องซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก ความเห็นร่วมกันในข้อเรียกร้อง 5 ข้อ ข้อที่สำคัญทีสุดคือข้อที่ขอให้ คสช. หรือ พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า ขอให้บอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่หน้าตาจะเป็นอย่างไร และขอให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม สาระสำคัญอยู่ที่ข้อนี้ในข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อ บรรดานักวิชาการ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว ที่ไปร่วมลงชื่อเป็นเรื่องปกติในการแสดงความห่วงใยต่อบ้านเมือง ก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ แต่สำหรับ รศ.ดร. โคทม อารียา ผมคิดว่ามีโจทย์หนึ่งในชีวิตที่ควรต้องตอบ และต้องตอบว่ารู้สึกผิดหรือไม่ด้วย คือตอนที่ได้เสนอให้มีการเอาวัดปทุมวนารามวรวิหาร เป็นเขตอภัยทาน เหตุผลที่เสนอแบบนั้น เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นในเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ก็เพราะว่ามีการยิงกันระหว่างทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐ กับเครือข่ายคนชุดดำ รศ.ดร. โคทม ได้มีบทบาทแสดงออกมาโดยตลอดในฐานะนักสันติวิธี เป็นคนที่เสนอไม่ให้เกิดความรุนแรง แต่สิ่งที่น่าจะพิจารณาเป็นอย่างยิ่งก็คือว่า ขาดความเข้าใจที่แท้จริงแต่สถานการณ์บ้านเมืองที่เป็นอยู่หรือไม่ หรือไม่รู้ขอให้ตัวเองมีบทบาทมีชื่อเสียง หรือมีสถานะในการที่จะได้แสดงออกว่าเป็นนักสันติวิธีก็พอแล้ว เหตุผลเป็นตรรกะที่สมบูรณ์มาก เนื่องจากเขายิงกันจึงขอให้เขตตรงนี้เป็นเขตตรงกลาง มีคำถามว่าทำไมเขาถึงยิงกัน เกิดขึ้นเพราะทหารไปปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนก่อน หรือเพราะมีคนชุดดำหรือกองกำลังติดอาวุธที่ฝ่ายเครือข่ายระบอบทักษิณจัดให้มีขึ้นก่อน ไม่ได้คิดตรงนี้ ถ้าย้อนกลับไปดูปี 2552 ตอนที่คนชุมนุมเหมือนปี 2553 ทหารไม่ได้ใช้อาวุธในการปราบปราม ไม่มีใครเสียชีวิต แต่มีเจ็บกระทบกระทั่งกันบ้าง ในปี 2553 ที่เกิดการยิงขึ้นเพราะมีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธซึ่งได้ประกาศไว้ล่วงหน้าแล้ว แล้วไปเรียกร้องให้มีเขตอภัยทาน เป็นอย่างไรครับ ก็เครือข่ายกองกำลังชุดดำก็ใช้พื้นที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เป็นแหล่งซ่องสุมทันที เพราะถือว่าเจ้าหน้าที่วัดไม่มาหรือ หรือประกาศแล้วว่าพื้นที่นี้เป็นเขตอภัยทาน นำไปสู่การเสียชีวิตหมู่ในวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร  ข้อเท็จจริงรู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะกองกำลังชุดดำต้องการพอคนมาตาย เครือข่ายระบอบทักษิณต้องการพาคนมาตาย ไม่รับผิดชอบต่อพี่น้องที่มาชุมนุม นี่ล่ะครับบทบาทของ รศ.ดร. โคทม ที่ผ่านมา ไปทบทวนกันดู ส่วนบทบาทของพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรคในข้อเรียกร้อง พรรคเพื่อไทยไปตามปกติ ตรงไหนมีกระแสก็ต้องโหนเข้าไปเพื่อจะได้ไปสู่ความต่อเนื่องของเขา แต่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งแน่นอนครับในฐานะพรรคการเมือง ในฐานะนักประชาธิปไตยก็ต้องออกมาดำเนินการ เพราะเป็นเรื่องประชาธิปไตย ไม่ได้ผิด แต่กลับไปถามตัวเองหน่อยครับ ตอนที่ต่อสู้ในสภาเรื่องร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทำไมถึงออกมาชุมนุม ทำไมคุณอภิสิทธิ์ถึงออกมาชุมนุมกับคุณสุเทพ ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ตามทิศทางที่คุณสุเทพนำเสนอ ก็เพราะว่าเกิดเผด็จการขึ้นในรัฐสภา สู้ในสภาไม่ได้แล้วใช่ไหมครับ มาจากเหตุผลเพราะระบอบทักษิณไม่เคารพกฎเกณฑ์ กลไกของประชาธิปไตย ใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นอำนาจเผด็จการรัฐสภา และนำพาบ้านเมืองไปสู่ความเสียหาย ตัวเองเป็นรัฐบาลอยู่ ระบอบทักษิณก็ไปจัดการกองกำลังติดอาวุธซึ่งไม่ได้หาย ตอนตัวเองมาชุมนุมตอนนั้นกองกำลังติดอาวุูธก็มายิงใส่ประชาชน สถานการณ์เหล่านี้ยังไม่ได้หายไป วันนี้มาเรียกร้องให้ดูถ้าทางเป็นประชาธิปไตย แต่สิ่งที่มาชุมนุมนั้นเป็นระบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาหรือไม่ก็ไม่ใช่ ในเงื่อนเวลาเดียวกันถึงตัดสินใจแตกต่างกัน วันนี้ระบอบทักษิณกำลังคิดอะไร ระบอบทักษิณไม่พอใจที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่พอใจได้ เพราะ คสช. ต่อท่ออำนายที่ประชาชนเขาพอใจ และจะเกิดอะไรขึ้น กลับมาดูสิครับ ตัวเองเป็นรัฐบาลอยู่แท้ ๆ ในปี 2553 ตอนปี 2554 ตัวเองก็แพ้ต่อพรรคเพื่อไทย ถึงได้เกิดปัญหาในประเทศจนคนต้องออกมาชุมนุมและบาดเจ็บล้มตายก็เพราะความไร้ประสิทธิภาพของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในการนำพาไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง วันนี้พรรคเพื่อไทยซึ่งทำเพื่อทักษิณมาโดยตลอด ออกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องออกไปประท้วง ในหลักการเดียวกัน คสช. ก็ต่อท่ออำนาจ แน่นอนครับโอกาสที่พรรคเพื่อไทยที่จะชนะการเลือกตั้งมีเหมือนเดิม แต่เที่ยวนี้ไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาลหรอกครับ พรรคเพื่อไทย ระบอบทักษิณไม่มีโอกาสเป็นรัฐบาลเขาต้องทำอย่างไร เพื่อให้บรรลุคำประกาศของทักษิณที่ต้องทำอย่างไรต้องทวงหาความยุติธรรมให้ได้ แม้จะตกไปในนรก แม้จะต้องกระทำทุกวิถีทาง หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ไม่ใช่เอามาเป็นเงื่อนไขครับ แต่ผมเรียนให้ฟังว่า จะกลายเป็นเงื่อนไขที่ระบอบทักษิณนำพาการเคลื่อนไหว และท้ายที่สุดสิ่งที่ต้องการและมีโอกาสอันเดียวและทำให้ระบอบทักษิณกลับมามีอำนาจอีกครั้ง ก็คือจะต้องจุดสงครามประชาชนและสงครามปฏิวัติขึ้น เพราะระบบรัฐสภาถูกปิดทางโดยร่างรัฐธรรมนูญที่ คสช. ต่อท่ออำนาจแล้ว และคิดต่อไปไหมครับ เคยทำโพลเองใช่ไหมพรรคประชาธิปัตย์ว่า กปปส. ที่ออกมาเป็นคนที่สัมพันธ์พรรคประชาธิปัตย์เพียง 10 - 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถ้าคนเหล่านี้เขายังสนับสนุน คสช. อยู่ก็จะเกิดการเผชิญอำนาจในแผ่นดิน ผมพูดแบบนี้แล้วไม่ใช่กลายเป็นเงื่อนไขและต้องไปรับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ผมอยากให้พรรคประชาธิปัตย์ไปคิดและทบทวนดูหน่อย ว่าที่ทำทั้ง 2 ครั้ง 2 เวลา นั้นอยู่คนละหลักการที่อ้างเหมือนกัน ท่านผู้ฟังก็พิจารณาว่า จริง ๆ แล้วสถานการณ์จะเป็นอย่างไร และบทบาทพรรคประชาธิปัตย์กั๊กมาตลอด ยังไม่แสดงออกเลย เอาให้ชัดเลยภายใน 1 - 2 วันนี้ว่า ยืนอยู่ข้าง คสช. จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ผมว่าสังคมประชาชนจะได้ติดสินใจเลือกได้ถูกว่าอะไรเป็นอะไร