รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

โดย วสิษฐ เดชกุญชร 

 

เหลือเวลาอีก 5 วัน บรรดาผู้มีสิทธิ์ก็คงจะออกไปลงคะแนนเสียง เพื่อแสดงมติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่อาจารย์มีชัย ฤชุ พันธุ์กับคณะเป็นผู้ร่าง ซึ่งผ่านการรับรองของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว

 ผมเป็นผู้มีสิทธิ์ผู้หนึ่งและตั้งใจอย่างแน่นอนว่าจะไปใช้สิทธิ์ของผม ลงคะแนนออกเสียงในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคมที่จะถึงนี้

 ผมได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วหลายเที่ยว ที่ต้องอ่านหลาย เที่ยวนั้นไม่ใช่เพราะติดใจที่อ่านแล้วรู้สึกสนุกหรือตื่นเต้น แต่เพราะร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันยาวถึง 279 มาตรา และบางมาตราก็ยาวมาก อ่าน แล้วลืมจำความไม่ได้ ต้องวกกลับไปอ่านอีก

 จนถึงวันนี้พอจะบอกได้แล้วว่า ส่วนไหนของร่างรัฐธรรมนูญถูกใจ ผมและรับได้ และส่วนไหนที่ผมเห็นว่ายังมีตำหนิและยังรับไม่ได้

 ตรงที่ถูกใจผมที่สุดแห่งหนึ่งนั้นก็คือหมวด 5 ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ถูกใจทั้งหมวด แต่ที่ถูกใจโดยเฉพาะนั้นคือมาตรา 63 ซึ่งบัญญัติให้รัฐต้อง ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการ ทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และจัดให้มีมาตร การและกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่าง เข้มงวด รวมทั้งกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วม ในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้านหรือชี้เบาะแส โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐ

อีกแห่งหนึ่งคือส่วนที่ 2 ว่าด้วยสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะมาตรา 98 ซึ่งกำหนดลักษณะของผู้ที่ต้องห้ามมิให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร อาทิ  ผู้ที่เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการเพราะทุจริตต่อ หน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือ เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ยึดทรัพย์เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมาย ป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นต้น

 นอกจากนั้นก็ยังมีหมวด 9 มาตรา 184 ซึ่งว่าด้วยการขัดกันแห่งผล ประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและรัฐมนตรี ซึ่ง ห้ามสมาชิกสภาและรัฐมนตรีีรับ หรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับ สัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมี ลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้น ส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

 อีกส่วนหนึ่งที่ถูกใจผมมาก และเป็นสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรม นูญฉบับใดมาก่อนคือหมวดที่ 16 ซึ่งว่าด้วยการปฏิรูปประเทศที่ครอบคลุม ถึงทั้งด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระ บวนการยุติธรรม ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ

 โดยเฉพาะด้านกระบวนการยุติธรรมนั้น ได้รวมการปฏิรูปตำรวจเอา ไว้ด้วย ซึ่งที่แล้วมาไม่มีใครสามารถจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้ ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ได้บัญญัติให้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่อำนาจ และภาร กิจของตำรวจ แก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ ตำรวจ โดยมีหลักประกันว่าตำรวจจะต้องได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม ได้ รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้าย ทั้งยังกำหนดให้ใช้ระบบคุณ ธรรมในการให้บำเหน็จ และในการแต่งตั้งโยกย้ายด้วย

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้มีคณะกรรมการปฏิรูปกระบวน การยุติธรรมซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยมีประธานซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมเป็นที่ประจักษ์ และ “ไม่ เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน” เป็นประธาน และให้คณะกรรมการ ดำเนินการปฏิรูปให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

 เพียงเท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ก็จะเห็นว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ โอกาสที่การปฏิรูปประเทศไทย โดยเฉพาะใน ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และการปฏิรูป กระบวนการยุติธรรม อันเป็นปัญหาที่ร้ายแรงและเรื้อรังของประเทศมา นาน  ก็น่าจะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมในไม่ช้า

 ผมจึงจะเป็นผู้หนึ่งที่ไปลงคะแนนเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ครับ