การลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

สิทธิของผู้สูงอายุ

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ  พ.ศ.๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่๒ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็น กฎหมายที่ให้การคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุได้รับสิทธิในด้านต่าง ๆ รวมทั้งก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์ต่อองค์กรด้านผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปเช่นเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเบี้ยยังชีพ

๑.  มีสัญชาติไทย

๒.  มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ

๓.  มีอายุหกสิบปีขึ้นไป ซึ่งได้ลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อ เทศบาลเมืองบ้านพรุ

๔.  ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ  เบี้ยหวัด  บำนาญพิเศษ  หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้ได้รับเงินเดือน  ค่าตอบแทน  รายได้ประจำหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้ เป็นประจำ  ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘

ขั้นตอนการยื่นคำขอ

ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีให้ผู้ที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปในปีงบประมาณถัดไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเอง ณ สำนักงานเทศบาลเมืองบ้านพรุ หรือสถานที่ที่เทศบาลเมืองบ้านพรุได้กำหนด  โดยมีหลักฐาน ดังนี้

๑.  บัตรประจำตัวประชาชน

๒.  ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา

๓. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารออมสิน  ประเภท     เผื่อเรียก กรณีผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร ในกรณีที่มีความจำเป็นผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้อาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้

การสิ้นสุดการได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

๑.  ตาย

๒.  ขาดคุณสมบัติตามระเบียบฯ

๓.  แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุเป็นหนังสือต่อเทศบาลเมืองบ้านพรุ

สิทธิประโยชน์อื่นสำหรับผู้สูงอายุ

๑.  การให้คำปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ

๒.  การประกอบอาชีพหรือการฝึกอาชีพที่เหมาะสม

๓.  การส่งเสริมความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

๔.  การพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วม

หลักเกณฑ์การจ่ายเงิน

เบี้ยยังชีพที่ได้รับ

ผู้สูงอายุ

– อายุ  ๖๐ – ๖๙  ปี          ได้รับ            ๖๐๐   บาท

– อายุ  ๗๐ – ๗๙  ปี         ได้รับ            ๗๐๐  บาท

– อายุ  ๘๐ – ๘๙  ปี         ได้รับ            ๘๐๐  บาท

– อายุ  ๙๐  ปีขึ้นไป          ได้รับ         ๑,๐๐๐  บาท

ขอบคุณ ข้อมูล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์