"สนธิญาณ" เชียร์!! ข้อเสนอกฎหมายโทษสูงสุดประหารชีวิต "นักการเมือง-ข้าราชการ" ที่มีความผิดทุจริตคอร์รัปชั่น

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ได้ที่ www.tnews.co.th

รายการ "ยุคลถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 10 มกราคม 2560 ออกอากาศทางช่อง ไบรท์ทีวี หมายเลข 20 ดำเนินรายการโดย คุณยุคล วิเศษสังข์ (หนึ่ง)  ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย)  กรรมการผู้อำนวยการบริษัท ทีนิวส์ทีวี โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

สนธิญาณ : เมื่อวานเป็นเรื่องที่ผมคิดว่าคนไทยทั้งประเทศรอคอยเรื่องนี้อยู่ ก็คือข่าวที่ว่าหากมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ต้องการโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต เมื่อวานเกิดแสงริบหรี่ขึ้นมาแล้วครับ ปรากฏว่าได้มีการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทางด้านการเมืองซึ่งมีคุณเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธานกรรมาธิการ ได้เสนอเรื่องการปรับโทษในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองและข้าราชการ ข้อเสนอดีมากครับ บอกว่าความผิดทุจริตคอร์รัปชั่น ผู้ใดกระทำความผิดเสนอหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. หากมูลค่าความเสียหายที่เกิดการจากการทุจริตคอร์รัปชั่นจำนวนเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท ต้องระวางโทษไม่เกิน 5 ปี 2. หากโกงเกินกว่า 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000,000 บาท ต้องระวางโทษจำคุก 10 ปี 3. หากโกงเกินกว่า 10,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000,000 บาท ต้องระวางโทษจำคุก 20 ปี 4. หากโกงเกินกว่า 100,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000,000 บาท ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต 5. หากมูลค่าความเสียหายการทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีที่โกงถึง 1,000,000 บาท ต้องระวางโทษประหารชีวิต ประเด็นที่หยิบยกมา เมื่อวาน สปท. ก็ประชุมกัน บอกแล้วว่า สปท. เขามีตัวแทนต่างๆ นะครับ เข้าร่วมกันหลากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ เสื้อแดง เครือข่ายทหาร ตำรวจ เมื่อวานเขาโหวตกันก็ได้คะแนนเสียงร้อยละ 55 ตอบโหวต มีงดออกเสียง 7 เสียง ความน่าสนใจเมื่อวานก็มีนายกษิต ภิรมย์ บอกว่ารับไม่ได้ข้อเสนอนี้ ท่านก็เป็นนักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ก็มาร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้กับระบอบทักษิณเหมือนกัน บอกว่าเป็นข้อเสนอที่ให้ประหารชีวิต เนื่องจากนับถือพระพุทธศาสนา จึงไม่เห็นด้วยที่จะมีการลงโทษขั้นรุนแรงด้วยการประหารชีวิต ท่านก็เป็นนักการทูตมาอาจจะไม่เคยได้ติดตามหรือทำความเข้าใจเรื่องกฎหมาย คุณเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธานกรรมาธิการ การเมืองก็ได้ชี้แจงว่า การเสนออัตราโทษเป็นการเสนอตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 ไม่ได้คิดเอง เพราะฉะนั้นโทษประหารชีวิตก็มีอยู่แล้วในประเทศไทย แต่ในโทษประหารชีวิตนั้นก็อยู่ที่ศาลจะพิพากษาอย่างไร มีหลายคดีที่กำหนดโทษสูงสุดประหารชีวิต แต่ในกรณีอย่างนี้จะมีโทษขั้นต่ำหรือไม่ คือความหมายของคดีอาญาจะเป็นอย่างนี้ครับ จะใช้คำว่าอัตราโทษไว้ ระหว่างนี้ถึงนี้ ข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอแรก แต่เป็นข้อเสนอที่ประชาชนคนไทยรออยู่ว่านักการเมืองทุจริตคอร์รัปชั่น ข้าราชการที่ร่วมมือโทษสูงแบบนี้ประหารชีวิตนะ คนไทยรออยู่แน่นอนครับ ไม่เชื่อก็ถามเสียงจากประชาชนดูได้ ความหมายอัตราโทษเรายกตัวอย่างว่า เหมือนคดีโทษอาญา มีโทษจำคุกระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี เมื่อจะมีโทษจริงๆ จะต้องมีการลงโทษจริงๆ ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยพิจารณาว่าระหว่าง 5 - 10 ปี จะไปลงตรงไหนดี นั่นก็เป็นคำทักท้วงของคุณกษิต เราก็มาดูกันว่าวันนี้ข้อเสนอนี้จะเดินต่อก็ต้องไปที่คณะรัฐมนตรี ไปที่ สนช. หรือ ไปที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานอื่นๆ ที่จะมาให้ความเห็น เช่น ปปช. กกต. หรือคณะสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ความเห็นร่วมกัน แต่จะยกร่างกฎหมายก็ต้องมาที่คณะรัฐมนตรีและ สนช. ก็ต้องจับตารอดูกันครับว่าความเป็นไปได้ของการที่จะนำโทษประหารชีวิตมาใช้สำหรับการทุจริตคอร์รัปชั่นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ ที่ผ่านมาด้วยระบบการเมืองของประเทศไทยในการที่จะทำให้การเมืองจะใสสะอาดที่ประชาชนคนไทยเบื่อกับการทุจริตคอร์รัปชั่น และสาเหตุหลักของการทุจริตคอร์รัปชั่นมาจากการวางระบบการเลือกตั้งเอาไว้ เกี่ยวพันกันนะครับ เพราะระบบการเลือกตั้งที่ไว้แบบเดิมมาจากการที่นักการเมืองคาดหวังว่าจะให้ได้ที่นั่งสูงสุด ฉะนั้นความคิดจะทุจริตคอร์รัปชั่นในการที่ต้องหาเงินมาก็คือ เปรียบคน 350 คนลงเขต รับกันไปเขตละ 1 ล้านบาท ก็ 350 ล้าน บาทต่อคน 2 ล้าน  ก็ 700 ล้านบาท 3 ล้าน  ก็ 1,000 ล้านบาท แต่จริงๆ เป็นแบบนี้ไหมครับ จริงๆ เป็นแบบนี้ ทุกคนรู้ในการเลือกตั้งจะวางเขตจังหวะของการเลือกตั้งไว้แบบนี้ ตัวเด็ดมีโอกาสแน่ๆ 30 ล้านบาท ระดับกำลังช่วงชิงเป็นกระแสอยู่เป็นอันดับสองเอาไปก่อน 20 ล้านบาท เดี๋ยวค่อยไปอัดช่วงสุดท้าย เพราะฉะนั้นต้องใช้เงินกัน 5 พันล้านบาท - 7 พันล้านบาท ต่อพรรค จะพรรคที่แสนดีจะบริสุทธิ์อะไรก็ตามแต่ แต่ต้องหาเงินมาเลือกตั้งแบบนี้ทั้งนั้น ฉะนั้นเมื่อจะหาเงินแน่นอนครับพรรคไหนขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็จะมีเรดาร์ว่ามีนโยบายไหนที่จะทำได้บ้าง เมื่อก่อนไปตัดหัวคิวกันตามโครงการต่างๆ ที่ละ 10 ล้านบาท - 100 ล้านบาท หนักเข้าเห็นชัดเจนที่เกิดขึ้นคือทุจริตเชิงนโยบาย ว่ากันเป็น 1,000 ล้านบาท - 10,000 ล้านบาท ก็ติดคุกกันไปครับ ครั้งนี้เสนอประหารชีวิต ระดับ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนตัวผมสนับสนุนครับแนวลงโทษพวกนี้ คือการที่คิดที่จะทุจริตคอร์รัปชั่นแบบต่อเนื่อง ได้เงินมาใช้ในการเลือกตั้งต่อไป มาเป็นรัฐบาลก็ทุจริตคอร์รัปชั่นต่อไป แล้วก็ทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นรัฐบาลครั้งหน้าอีก ก็หมุนเวียนกระแสอย่างนี้ไป ย้อนกลับไปดูได้เลยครับแบบนี้ ถ้ากฎหมายนี้ใช้มาใน 10 ปีที่ผ่านมา ประหารชีวิตนักการเมืองไป คนที่เป็นรัฐบาลอาจโดนไปถึงครึ่ง แบบนี้สิครับถึงจะทำให้เกิดความรู้สึกกลัว ข้าราชการประจำที่รับใช้ก็จะกลัว ผมยกตัวอย่าง "คดีคลองด่าน" เห็นชัดเจนไหม ไม่ได้โดนแต่นายวัฒนา อัศวเหม บรรดาข้าราชการประจำที่ไปรองรับรับใช้นักการเมืองโดนกันเป็นแถว กฎหมายนี้ใช้นักการเมืองข้าราชการประจำจะได้มีข้ออ้างกับนักการเมืองว่าไม่ทำไม่เอา ท่านจะปลดออกจากตำแหน่งก็ปลดไป เพราะแบบนี้ประหารชีวิตนะครับ ที่ผ่านมามีอายุเกษียณอายุแล้วแต่ติดคุกกัน 10 - 20 ปี ยังไม่ค่อยกลัวครับ กฎหมายกำหนดไว้แบบนั้นแต่ไม่กลัว แต่ครั้งนี้โทษถึงประหารชีวิตนะครับ ฉะนั้นโดยส่วนตัวชูสองมือเชียร์กฎหมายนี้ครับ ก็ต้องรอดูว่ารัฐบาลกับ สนช. มาผลักดันให้เป็นกฎหมายข้อเสนอของ สปท. หรือไม่ ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ