"สนธิญาณ" ชี้ ! จะปรองดองได้ต้องมี "ภาคประชาชน" ร่วมด้วย ใช่จะมีแต่นักการเมืองหรือนักเคลื่อนไหว ที่มีเงื่อนไขเยอะ!!

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tnews.co.th

 

 

 

 

ยุคล : หัวข้อที่เราจะมาถกแถลงกับคุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวทีนิวส์ ในวันนี้จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่พวกเราคนไทยฝากความหวังเอาไว้กับรัฐบาล คสช. ว่าจะกำหนดทิศทางของประเทศไปในทิศทางไหนอย่างไร และได้ยินมาอยู่บ่อยครั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์พูดถึงเรื่องของการปฏิรูป ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จนกระทั่งล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ ในนามของหัวหน้า คสช. ได้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษขึ้นมาชุดหนึ่ง หรือที่หลายคนน่าจะคุ้นหูกันอยู่แล้วนั้นมีชื่อว่า ปยป. (คณะกรรมการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ  และการสร้างความสามัคคีปรองดอง) โดยมีภารกิจหลักอยู่ 4 หัวข้อ คือ 1.เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 2.เรื่องการปฏิรูป 3.เรื่องการปรองดอง 4.การบริหารราชการแผ่นดิน และหนึ่งในหัวข้อที่มีการพูดถึงมากที่สุดตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาคือหัวข้อของการสร้างการปรองดอง โดยได้มีการมอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าภาพ เรื่องการปรองดองนี่ล่ะครับที่เราจะมาสนทนากับคุณสนธิญาณว่ามีโอกาสมากน้อยขนาดไหนที่เราจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ หรือว่าจะไม่มีทางประสบความสำเร็จเลยในสังคมไทยของเรา ณ นาทีนี้ ในความเข้าใจของคุณสนธิญาณผ่านความคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ ปยป. คืออะไรครับ

.

.

สนธิญาณ : ผมต้องเรียนแบบนี้ก่อนนะครับว่า ความคิดของ คสช. พล.อ.ประยุทธ์ ปยป. พูดถึงกรรมการชุดนี้ชุดเดียวไม่ได้ครับ ทั้งหมดจะแตกออกเป็น 4 ชุด ก็คือ 1.ชุดยุทธศาสตร์ชาติ 2.ชุดการปฏิรูป 3.ชุดการปรองดอง 4.ชุดติดตามการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้ง 4 ชุดผมต้องเรียนว่านี่เป็นการเดินทางครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกครั้ง หลังจากที่เราได้เดินทางมาแล้วครั้งหนึ่ง จะผิดหรือถูกก็ตามแต่ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ การเดินทางที่ว่าคือการกำหนดทิศทางของประเทศอย่างมียุทธศาสตร์และมีทิศทางที่ชัดเจนที่จะเดินไป ก่อนหน้านี้ประเทศไทยก็อยู่ในมือของผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็อยู่ในมือของพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็อยู่ในมือของคณะราษฎร์ อยู่ภายใต้กรอบใหญ่ๆ มีคนที่พยายามจะทำยุทธศาสตร์ชาติขึ้นมาคนแรก คือ นายปรีดี พนมยงค์ ภายใต้สิ่งที่เราเรียกว่าสมุดปกเหลือง แต่ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงในสมัยนั้น เพราะหลายเนื้อหาให้ความเป็นธรรมกับประชาชนแต่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย กลายเป็นสิ่งที่ไปสอดคล้องกับวิธีคิดของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งกำลังเติบโตและโด่งดังอยู่ในรัสเซีย ทีนี้มาถึงผมบอกว่าประวัติศาสตร์ก้าวแรกจริงๆ อย่างการมีแผนยุทธศาสตร์คือในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นเป็นฉบับที่ 1 ก็กลายมาเป็นทิศทางของประเทศ แต่สิ่งที่เราได้เห็นว่าภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่มานับเป็น 10 ฉบับแล้ว โดยข้อเท็จจริงเราก็เห็นได้ว่าประเทศไทยเราแม้จะมีความเหลื่อมล้ำยากจนอยู่ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านก็ถือว่าอยู่ในจุดที่ก้าวมาดีพอสมควร มามีปัญหามากมายช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างขนานใหญ่ แต่แรกเริ่มที่เราบอกว่าประเทศไทยเรามีประชาธิปไตยมา 85 ปี ไม่เป็นความจริงหรอกครับ เพราะอำนาจทางการเมืองตลอดมาอยู่ในมือผู้ปกครองที่เป็นเผด็จการมาโดยตลอด แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคณะราษฎร์ ซึ่งดูเป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นผู้นำพาประชาธิปไตยมาสู่ประเทศนี้ แต่ความจริงตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. 2490 รวม 25 ปี ประเทศไทยอยู่ภายใต้มือของคณะราษฎร์ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งถือว่าเป็นผู้เผด็จการตัวฉกาจ และเป็นผู้นำกองทัพเป็นผู้กุมอำนาจในกองทัพ ถัดมาจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาจนถึงสมัยพลเอกเปรม ต่อเนื่องถึงพลเอกสุจินดา อีก 35 ปี มีการเลือกตั้งเป็นระยะอยู่ในมือนักการเมือง แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ในมือทหารทั้งสิ้น รวมกันแล้วก็ 60 ปีแล้วที่อยู่ในมือทหาร มาเว้นช่วงให้นักการเมืองเล็กๆ น้อยๆ การเมืองมาเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่มาสู่มือนักการเมืองอย่างแท้จริง เกิดขึ้นในสมัยหลังปีที่ทักษิณเข้าสู่อำนาจ เป็นอย่างไรหรือครับที่ต้องเอ่ยชื่อทักษิณ ชินวัตร อีกครั้ง เพราะทักษิณเป็นตัวเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะในเนื้อหาของสังคม พ่อหน้านี้ผมเรียนย้ำว่าอำนาจทางการเมืองอยู่ในมือของทหาร ปล่อยให้มีการเลือกตั้งให้นักการเมืองเข้ามาเป็นระยะ ประกอบไปด้วย ครู ทนายความ อดีตข้าราชการเกษียณ เล่นการเมืองกัน นี่เป็นพรรคฝ่ายค้าน นี่เป็นพรรครัฐบาล เถียงกันไปเถียงกันมา แสวงหาผลประโยชน์ไป แล้วทหารก็เข้ามายึดอำนาจ กลับมาเลือกตั้งเถียงกันไปเถียงกันมา ทำนู่นทำนี่แสวงหาผลประโยชน์ไป ทหารเข้ามายึดอำนาจเป็นวงจรอุบาทว์ แต่สมัยทักษิณเข้ามา ทักษิณเป็นพ่อค้า เป็นนักธุรกิจนำพากลุ่มทุนขนานใหญ่เข้าสู่อำนาจทางการเมือง เป็นนักเรียนเตรียมทหารมีเพื่อนอยู่ในเหล่าทัพทุกเหล่าทัพและในสำนักการตำรวจแห่งชาติ คุมอำนาจข้าราชการประจำที่ทรงอำนาจอย่างเต็มที่ ธุรกิจทักษิณเกี่ยวโยงกับทุนนิยมสามานย์ที่เปิดเสรีทางการเมืองเชื่อมโยงโลกทั้งประเทศเข้าหากัน ทุนนิยมสามานย์ เสรีนิยมถูกครอบงำด้วยกลุ่มคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่บงการอำนาจรัฐของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่เชื่อมโยงกับทักษิณ กระบวนการดังกล่าว นักการเมืองซึ่งเคยเป็นลูกไล่ของทหารกลับข้าง ทักษิณใช้นโยบายนิยม ใช้ทุกสิ่งทุกอย่าง ใช้ทิศทางการเมืองทางการตลาด ประชาชนมีความรู้สึกมีความหวัง แต่ท้ายที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างจบสิ้นลงด้วยการใช้อำนาจเกินขอบเขตและทุจริตในเชิงนโยบาย นี่คือความเป็นมาของทางการเมืองจะต้องชัดเจนก่อน เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ความขัดแย้งของชาติไทย และเราจะเห็น ... ของฝ่ายสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ สนับสนุนสถาบันเจ้ากับทหารฝ่ายสนับสนุนคณะราษฎร์ ซึ่งมีพระยาพหลพยุหเสนา กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นคนบัญชาการการรบ ปะทะสู้รบกันตายเรียกว่าเป็นเบือครับ แล้วหลังจากนั้นฝ่ายคณะราษฎร์ชนะ ก็ดำเนินการจัดการกับบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งคิดว่าอยู่เบื้องหลังหรือมีอำนาจทางการเมืองมาแต่เดิม เนรเทศจัดการบางคน ส่วนที่ไม่ใช่พระบรมวงศานุวงศ์แต่เป็นทหารก็ประหารชีวิต ฆ่ากันตายเป็นว่าเล่น ฆ่ากันตายเป็นว่าเล่นครับก่อนหน้านี้ มาถึงความขัดแย้งครั้งสำคัญ ซึ่งถือเป็นความขัดแย้งที่ลงสู่รากฐานทางสังคม คือความขัดแย้งในการเกิดขึ้นของพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย และปลุกเร้าประชาชนให้ลุกขึ้นสู้กับอำนาจรัฐ อำนาจรัฐในขณะนั้นเป็นอำนาจรัฐที่ควบคุมด้วยเผด็จการทหารต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน คอมมิวนิสต์เติบโตมาอย่างเต็มที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 - 2528 ภายใน 20 ปีเต็มกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มจากไม่กี่ร้อยคนจนถึงหมื่นคน เพราะอำนาจรัฐที่กดขี่และใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง ประชาชนลุกขึ้นสู้จึงทำให้เราเห็นความขัดแย้งเป็นระหว่างประชาชนกับกองทัพ หรืออำนาจรัฐที่มีกองทัพสนับสนุน ปรากฏว่ามีผู้ที่มีสายตายาวไกล พิจารณาปัญหานี้อย่างถ่องแท้ ตัวเองเป็นผู้นำเหล่าทัพ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พิจารณาแล้วเห็นว่าคนไทยที่มาฆ่ากันเองไม่สมควร ไปขัดแย้งกันด้วยอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ออกนโยบาย 66/23 ประเทศไทยที่เคยฆ่ากันตายหันหน้าเข้าหากัน ไม่มีการมาจับมือปรองดองอะไรกับครับ ปรากฏว่าค่อยๆ คลี่คลายคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชน ผมเรียนว่าตอนที่ขัดแย้งและฆ่ากัน ทหารใช้วิธีการเอาประชาชนมาสู้กับประชาชน แปลว่า ตั้งทหารพราน อส. ขึ้นมา เอาประชาชนในพื้นที่ อีกฝั่งหนึ่งที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์เป็นทหารป่า ทหารบ้าน ก็เป็นญาติพี่น้องกันแต่ฆ่ากันตายเป็นหมื่นรายใน 20 ปี ถามว่าทำไมหลังจากนั้นประเทศไทยสามารถคลี่คลายบรรยากาศและเข้าสู่ทิศทางความร่วมมือสมานฉันท์และเกิดความปกติสุขกลับมาสู่สังคม เพราะความเป็นธรรม เพราะสิ่งที่ถูกต้องถูกผลักดันออกไปสู่สังคมโดยมีกรอบของกฎหมาย อีกครั้งหนึ่งปี พ.ศ. 2535 พฤษภาทมิฬ ชัดเจนครับเกิดกระบวนการต่อสู้ระหว่างประชาชนกับกองทัพ ซึ่งค่อยๆ ผ่อนคลายสถานการณ์ลงมาแล้วนะครับในสมัย พลเอกเปรม  ถดถอยบทบาทมา กลับมายึดอำนาจอีกครั้งท้าทายอำนาจประชาชน การต่อสู้ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง แต่การความขัดแย้งครั้งนั้นจบลงง่าย เพราะอีกฝั่งหนึ่งเป็นประชาชน อีกฝั่งหนึ่งเป็นกองทัพ พลเอกสุจินดาเป็นนายทหารถึงแม้จะถูกตราหน้าว่าเป็นเผด็จการ แต่ยังดีกว่านักการเมืองในยุคนี้เยอะ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เรียกทั้งสองฝ่ายมานั่งอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ และให้ฟังว่าประเทศชาติจะเสียหายอย่างไร พลเอกสุจินดาก้มกราบแล้วนำพาไปสู่การปฏิบัติ ลาออกถอยตัวเองออกจากการเมืองนับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ ถือเป็นเผด็จการคนหนึ่งที่น่านับถือน้ำใจ

.

.

ยุคล : นี่ยังไม่ถึงปัจจุบันเลยนะครับ อันนี้ไปจบปี พ.ศ. 2534  -2535 คุณสนธิญาณต้องการให้เข้าใจบริบทของสังคมไทยก่อนว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้นและมีที่มาที่ไปอย่างไร

.

.

สนธิญาณ : และเกี่ยวข้องกับบริบทสังคมโลกด้วย

.

.

ยุคล : เดี๋ยวมาตามต่อในเบรคหน้า ฟังคุณสนธิญาณไปก็เคลิ้มและคล้อยตาม เดี๋ยวช่วงหน้ามาว่ากันต่อครับ

 

 

ยุคล : ตามกันต่อนะครับ กลับยุคลถามตรงสนธิญาณฟันธงตอบ ผมย้ำหัวข้อกันอีกครั้งนะครับปรองดองอยู่ไม่ไกลถ้าไปถูกทาง เบรกที่แล้วคุณสนธิญาณพยายามที่จะไล่เรียงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ชาติไทยว่า มีคู่ขัดแย้งที่เป็นประชาชนกับอำนาจรัฐ และได้ลงรายละเอียดในแต่ละยุคแต่ละสมัยให้เข้าใจตอนพักเบรกก็กลับไปคิดนะครับจริงๆมีหลักคิดอยู่อย่างหนึ่ง หากเราเรียนรู้อดีตและเข้าใจปัจจุบันก็จะทำให้มองเห็นอนาคตคุณสนธิญาณกำลังพูดถึงอดีตให้เราได้เข้าใจกันก่อนเพื่อ ให้เรียนรู้ปัจจุบันและมองเห็นอนาคต เพราะฉะนั้นเดี๋ยวไปต่อกับคุณสนธิญาณกันต่อหลังปี พ.ศ. 2534 - 2535 ความขัดแย้งของสังคมไทย เป็นอย่างไร

.

.
 
สนธิญาณ : เราต้องกลับมาดูนะครับ การเมืองกลับมาอยู่ในเมืองของพรรคการเมืองค่อยข้างที่จะเต็มรูปแบบ หลายฝ่ายก็คาดหวังว่าจะเกิดประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ หลังจากเหตุการณ์พฤษภา 35 ที่ผมได้เรียนไปแล้วว่าเกิดปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมไทยขึ้น นั่นก็คือกลุ่มชนซึ่งนำโดยทักษิณ ชินวัตร ได้นำพาทุนใหม่ ประเทศไทยเกิดสิ่งที่น่าสนใจ เกิดสิ่งที่เราเรียกว่าเปิดเสรีทางการเงิน เราถูกองค์กรทางการเงินระหว่างประเทศบีบบังคับ ไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก บอกว่าถ้าไทยจะทำให้เดินไปตามเส้นทางประชาธิปไตยจะต้องเปิดเสรีทางการเงินให้เงินไหลเข้าไหลออกได้ ไม่ใช่มาตั้งหลักมาปิดกั้นอยู่ เหตุผลลึกๆ ก็คือ ทุนสามานย์ทั้งหลายต้องการเข้ามาสวาปามประเทศไทย กระบวนการของทุนไทยก็เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยวิธีการง่ายๆ คือการไปเอาสัมปทานรัฐมา จึงไปจ่ายค่าตอบแทนถูกๆ และให้เห็นกำไรอยู่เยอะๆ แล้วเขียนแผนให้ฝรั่งเห็น ฝรั่งก็เข้ามาร่วมทุนให้เงินกู้ปรากฏว่าเกิดความหายนะขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ฝรั่งเข้ายึดครองธุรกิจหลักของประเทศไทยหมดในระหว่างนั้นมีอยู่คนหนึ่งไม่ได้จมหายตายจากไปด้วย เพราะเริ่มเข้ามาแต่กับอำนาจทางการเมือง เขามาเล่นการเมืองผ่านพรรคพลังธรรมของพลเอกจำลอง ศรีเมือง คือคุณทักษิณ ชินวัตร เข้ามาแต่กับพรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศลดค่าเงินบาทส่งผลกระทบหมด ทักษิณ ชินวัตร รู้ก่อนจากคนในรัฐบาล ซึ่งถือว่ามีความผิดอย่างมหันต์ สามารถที่จะยืนหยัดอยู่ได้ หลังจากนั้นก็ระดมกลุ่มทุนก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และสิ่งที่เราเองคือการทุจริตในเชิงนโยบาย ซึ่งข้อมูลไม่ต้องมาแจกแจงกันหรอกครับ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนำพามาสู่การต่อต้านของประชาชนอย่างขนาดใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย เวลาเราพูดถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และอำนาจรัฐไปกระทำต่อประชาชน ประชาชนรู้สึกคลั่งแค้น ลุกฮือขึ้นโค่นล้มอำนาจรัฐนั่นคือ 14 ตุลาคม แต่การต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเรียกว่า สะสมกำลังสะสมความรู้สึก ของผู้คนในสังคมนักวิชาการก็ไปเขียนข้อมูลเปิดโปงให้รู้ทันทักษิณ กลุ่มอำนาจรัฐที่ทักษิณคุมอยู่ก็พยายามปิดกั้น นักธุรกิจอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกกีดกันทางการค้าก็มาสนับสนุนให้การรวมตัวเกิดการสามัคคีประชาชาติต่อสู้กับอำนาจของทักษิณซึ่งคุมอำนาจรัฐอยู่โดยมีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทางแกนนำนำพาการเมืองเกิดการชุมนุมประท้วง ต่อเนื่องเป่านกหวีดผู้คนหลั่งไหลกันออกมาไม่คณามือทักษิณตายที่สุดมีการยึดอำนาจ คมช. มีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ขึ้นมายึดอำนาจ ในเดือนกันยายน พ. ศ. 2549 เมื่อยึดอำนาจเสร็จเว้นวรรคไป 1 ปีร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเลือกตั้งกลับมาเหมือนเดิม
.


ยุคล : พรรคพลังประชาชนกลับมา
.


สนธิญาณ : ซึ่งเป็นร่างทรงหรือพักที่เปลี่ยนสภาพมาจากพรรคไทยรักไทยเป็นพรรคพลังประชาชน โดยคุณสมัคร  สุนทรเวช จากการที่ทักษิณสนับสนุนและให้เป็นนายกก็ได้เป็นนายกอีก ในจังหวะที่พอดีคือศาลรัฐธรรมนูญชี้คุณสมัครหลุดโหวตให้ใหม่ไม่ให้คนสมัครเป็นให้คุณสมชาย ซึ่งเป็นน้องเขยขึ้นมา เป็นจัดการตัดบทบาทของเนวินออกไป ต่อมาเมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพุทธสมชายอีก คุณเนวินก็แตกพวกแตกพรรคออกมา เพราะรัฐธรรมนูญการเมืองเปิดช่องให้มาสนับสนุนคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เลือกตั้งใหม่คุณทักษิณก็ชนะอีก ส่วนคุณอภิสิทธิ์พ่ายแพ้อย่างยับเยินขนาดส่งคุณยิ่งลักษณ์น้องสาวที่ไม่เคยรู้เรื่องรู้ราวทางการเมือง ไม่ต้องพูดว่าเธอมีคุณสมบัติในการที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ แสดงว่าในความเป็นจริงกลไกในระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองยังให้การสนับสนุนคุณทักษิณอย่างหนาแน่นรอบหลังนี้นะครับเกิดองค์การพิทักษ์สยามขึ้นทุกคนฮือฮาชุมนุมกันครั้งแรกเอาหนักครั้งที่ 2 อำนาจรัฐเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ยิงแก๊สน้ำตา พลเอกบุญเลิศสั่งสลาย โดยกลัวว่าประชาชนจะเสียหายจนเกิด กปปส. ขึ้น เราจึงเห็นประวัติศาสตร์การชุมนุมคนเป็นล้านคนที่เกิดขึ้น อย่างที่ไม่เคยคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นมาก่อนเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากพันธมิตรมาสู่การพิทักษ์สยาม มาสู่ กปปส. ผมอยากจะให้เห็นข้อเท็จจริง ในระหว่างอีกฟากฝั่งหนึ่งมี นปช. ซึ่งพัฒนาขึ้นมา ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2552 ความจริงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 นับตั้งแต่มีการยึดอำนาจมาชุมนุมที่ท้องสนามหลวงเป็น นปก. ต่อมาพัฒนาเป็น นปช. นี่คือกลุ่มพลังมวลชนที่เป็นอยู่และอีกฟากฝั่งหนึ่ง เปลี่ยนรูปลักษณ์  เนื้อหาที่ต่อสู้ทางการเมืองมาโดยตลอดพันธมิตรประชาชน ที่ผมบอกว่ามีเป็นประชาชาติ นักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ก็ไปหนุนคุณสนธิ ลิ้มทองกุล นักธุรกิจก็หนุน นักแรงงานก็หนุน เกษตรกรนักวิชาการก็หนุนหมด แต่พอเปลี่ยนคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี พันธมิตรส่วนหนึ่งไม่เอา ก็เริ่มมีการแตกแยกกันเสียแล้วกับคนที่เคยหนุนพรรคประชาธิปัตย์ องค์การพิทักษ์สยามมีความหวังขึ้นมา แต่ท้ายที่สุดก็มาตกที่ กปปส. กปปส.ก็มาแบบเดิม ต้นกำเนิดต้องบอกเลยว่ากลุ่มที่แตกมาจากพันธมิตรมาแตกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย กองทัพ ประชาชน ก็ต่อสู้กันไป กปปส. ก่อรูปขึ้นมาจากพรรคประชาธิปัตย์ ผมถามว่าวันนี้ กปปส. กับพรรคประชาธิปัตย์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไหม ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียว กันในระหว่างที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณสนับสนุนพลเอกประยุทธ์สุดลิ่มทิ่มประตูต้องพูดแบบนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฉบับผ่านประชามติ ก็ กปปส. สุดขีด พรรคประชาธิปัตย์ไม่เอาด้วย แต่ในขณะที่ นปช. เกาะเกี่ยวกันมาอย่างเป็นเอกภาพ เพราะแกนมีแกนเดียวคือทักษิณ ชินวัตร เชื่อมโยงมาที่ไม่ว่าจะเปลี่ยนแกนนำ นปช. คนไหนก็ตามแต่ แต่แกนหลักคือทักษิณ ทักษิณไม่พอใจคนนั้นก็ซวยไป เมื่อฝั่งของ นปช. อยู่ภายใต้กรอบ การสั่งการของหัวหน้าตัวจริงคือทักษิณชินวัตรตราบใดที่ทักษิณ ชินวัตร คิดเห็นเป็นอย่างไร ของ นปช. ก็ต้องเป็นแบบนั้น ขนาดตอนที่มาเจรจากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การเจรจากำลังลงตัวไปด้วยดี ในขณะที่คุณวีระกานต์ มุสิกพงศ์ กำลังพูดคุยอยู่มีโทรศัพท์สายพิเศษโทรเข้ามาจตุพรรับผิดทางการเจรจาจะเปลี่ยนทันที นี่คือรูปธรรมที่ผมยกตัวอย่าง และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น กลุ่มมวลชนเหล่านี้ มีประชาชนเป็นฐาน เกิดวางผันแปรกลุ่มประชาชนตลอดเวลา วันนี้ การที่จะอยู่ต่อไปเรียก คนที่บอกว่าเกี่ยวข้อง พรรคการเมืองทุกพรรค มาลงนามกรรมการกลุ่มการเมืองทุกกลุ่มมาลงนามกัน ถ้าเป็นแบบนี้ จะสำเร็จได้นะครับ ก็คนที่มาลงนาม มีอำนาจจริง
.


ยุคล : นั่นหมายความว่าต้องเชิญคุณทักษิณเข้ามาร่วมลงนามด้วยหรือครับ
.


สนธิญาณ : ก็ไม่ใช่เขาไม่มาหรอกครับเพราะถ้ามาก็โดนจับทันที ก็ต้องดูว่าทัศนคติที่แท้จริงของคุณทักษิณคิดอย่างไร นี่คือทางฝั่ง นปช. แต่อีกครั้งฟังหนึ่งที่คัดค้านทักษิณอยู่ ก็ไม่เป็นเอกภาพ พันธมิตร เดิมที่ยังเหลืออยู่ เกาะกลุ่มมาเหนียวแน่น ก็ยังมี กลุ่มสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ก็มี กลุ่ม กปปส. ที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ก็มี คนเหล่านี้ไม่ได้คิดเห็นไปในทางเดียวกัน เมื่อไม่ได้คิดเห็นไปทางเดียวกันผมถึงบอกว่าแกนนำหรือผู้นำทั้งหลาย เป็นตัวแทนประชาชนที่แท้จริงหรือคำว่าตัวแทนที่ผมพูดอยากเรียนท่านผู้ชมว่าท่านผู้ชมคิดและตัดสินใจเอาเองได้เองว่า แท้จริงแล้วคนที่กำหนดทิศทางทางการเมืองเป็นแกนนำหรือเป็นประชาชน เห็นท่านผู้ชมเอง ถ้าท่านผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมือง การประชุมไปร่วมกับแกนนำคนไหนก็เพราะเขาคิดเหมือนท่านถ้าเขาไม่คิดเหมือนท่านท่านก็คงไม่ไปร่วมหรอก
.


ยุคล : คิดเหมือนกัน
.


สนธิญาณ : ต้องคิดเหมือนประชาชน ทฤษฎีเขาบอกแบบนี้ครับคุณยุคล ก้าวหน้าไป มวลชนตามไม่ทันก็ไม่สำเร็จ ล้าหลังไปมวลชนล้ำหน้าก็ไม่สำเร็จ ต้องเดินให้พอดี เราจึงเห็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจากเคยยิ่งใหญ่ก็หดเล็กลง กปปส. ลองคิดเคลื่อนไหวสวนทางกับประชาชนโดยสิครับ จากกำนันสุเทพก็ต้องกลับมาเป็นเทพเทือกเหมือนเดิม
.


ยุคล : มันคิดไปไกลจากประชาชนมากเกินไปก็ไม่ดี
.


สนธิญาณ : ก็ไม่ได้เพราะไม่สอดคล้องกับการเมืองเพราะฉะนั้นวันนี้การปรองดองที่แท้จริง จะต้องลงไปที่ประชาชน เนื้อหาหลักต้องอยู่ที่ประชาชนไม่ใช่คิด ว่าถ้าแกนนำหรือผู้นำภาพมาจับมือกันแล้วจะจบ ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยเฉพาะคณะของพลเอกประวิตรต้องทบทวน ถ้าคิดว่ามีอะไรที่ลึกซึ้งว่านั้นก็ต้องแสดงให้ประชาชนเห็นไม่ใช่ว่าจู่ๆ เดี๋ยวก็เรียกมาคุยแล้วก็จบ แต่ผมเรียนนะครับพลเอกประยุทธ์คิด ลึกซึ้งกว่านั้น
.


ยุคล : ส่วนลึกซึ้งยังไงคุณผู้ชมเบรกสุดท้ายมาตามกันต่อเพราะว่าเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาในการแถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ก็พูดถึงสาระกับใช้คำว่าที่แท้จริงก็ได้ ของคำว่าการสร้างความปรองดอง เดี๋ยวมาตามต่อกันในเบรกหน้าช่วงนี้พักกันสักครู่เดียวครับ

 

 

 

ยุคล : สรุปว่าการสร้างความปรองดองนั้นเป็นแค่เพียงการเชิญตัวแทน หรือว่าแกนนำของแต่ละกลุ่มพูดคุยจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะกระบวนการสร้างความปรองดองที่แท้จริงจะต้องประกอบด้วยประชาชนและเราก็ได้จริงใช้ จะต้องกลับไปที่ประชาชน และเราได้เพียงรู้เอาไว้ว่า พลเอกประยุทธ์นั้นมองเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง สืบเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาในการแถลงตอนหนึ่ง พลเอกประยุทธ์ได้พูดถึงการสร้างความปรองดองเอาไว้แบบนี้นะครับว่า เรื่องการปรองดองไม่ใช่เฉพาะแค่นักการเมืองแต่มีเรื่องที่ดินและความเหลื่อมล้ำความไม่เท่าเทียมก็สั่งการไปแล้วจำทั้งหมดซึ่งมีประมาณ 10 หัวข้อที่ฝ่ายการเมืองพูด โดยจะให้ประชาชนรับทราบด้วยในสิ่งที่ทุกพรรคพูด แต่จะให้ทีละพรรค เพราะถ้าให้มาพร้อมกันคงไม่ได้พูดก็ทะเลาะกันอีก จึงต้องให้มาที่ทีละพรรค ตั้งคณะกรรมการจัดส่งอีกทีว่าจะทำกันอย่างไร เรื่องกฎหมายนัดเอาไว้ทีหลัง คุณผู้ชมครับคำพูดว่าเรื่องกฎหมายนั้นเอาไว้ที่หลังต้องพูดเรื่องของประชาชนความเหลื่อมล้ำความไม่เท่าเทียมที่ดินเรื่องระหว่างเราได้ที่บอกว่ามีสักประมาณ 10 เรื่องเดี๋ยวไปถามคุณสนธิญาณกันว่าการที่พลเอกประยุทธ์พูดแบบนี้หมายความว่าอย่างไร

.

.
 
สนธิญาณ : ต้องเรียนแบบนี้ก่อนนะครับ เมื่อเราพูดถึงการปรองดองสิ่งที่จะถูกหยิบยกมาเป็นเรื่องแรกๆ คือการนิรโทษกรรม เรื่องในการที่จะไปดูแลผู้ที่กระทำความผิดในทางการเมืองในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา พร้อมดูแลและแก้ไขปัญหานี้อย่างไรถึงจะนำพาไปสู่การปรองดอง

.

.
 
ยุคล :  เมื่อกลับไปล้างผิดอยากมีหรือเปล่าครับ

.

.
 
สนธิญาณ :  ต้องกลับไปล้างผิด ที่นี้มาพูดกัน 2 ประเด็น ประเด็นแรกผมเรียนแบบนี้ก่อนว่าพลเอกประยุทธ์พูดถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำ พูดถึงเรื่องกฎหมายซึ่งก็คือเรื่องของการนิรโทษกรรมนั้นเองอย่าลืมนะครับที่คึกคักเป็นอยู่ในขณะนี้และทำให้กระแสเกิดขึ้นไปได้ขนาดนี้ก็คึกคักกันเร็วที่แกนนำและตัวแทนมาถกเถียงกันในเรื่องที่ไร้สาระทั้งสิ้น
 .

.
ยุคล :  ฟังธงเลยนะครับว่าไร้สาระ
 .

.
สนธิญาณ : ทหารเป็นคนกลาง ทหารต้องมาร่วมด้วย ทหารเป็นคู่ความขัดแย้งกฎหมายต่างๆ ไม่มีใครพูดถึง ไม่มีใครพูดว่าปัญหาที่แท้จริงมาจากโครงสร้างของสังคมใช่หรือไม่ ผมถึงต้องกลับไปยกตัวอย่างประวัติศาสตร์การแก้ไขปัญหาของคอมมิวนิสต์ซึ่งฆ่ากันในพื้นที่แทบและทุกหมู่บ้านทุกตำบลในประเทศไทยนั้นคืนกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างไร ต้องกลับไปศึกษา ต้องกลับไปเรียนรู้พลเอกเปรมในที่ผ่าน ที่ถูกต้องนำทางรัฐบาล เข้าไปแก้ไขภาวะความจนจะได้มากได้น้อยก็ตามแต่ แต่ก็ทำอยู่จริงจากสถานการณ์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งในขณะนั้น เป็นส่วนหนึ่งของภาคสมาชิกคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของคนที่อยู่ในชนบทที่เหตุการณ์ยิงกันวางระเบิดการเผาโรงพัก มีการต่อสู้อยู่ตลอดเวลามันคลี่คลายค่อยๆหายไปสังคมไทย ก็กลับคืนเข้าสู่สภาพเดิม เพราะฉะนั้นวันนี้สิ่งที่ผมคิดว่าเราต้องกลับมาดูกัน สังคมไทยมีอยู่ 22 ล้านครอบครัว ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำสุดในวันนี้อยู่เฉลี่ยที่ประมาณ 4,300 บาท และแน่นอนการวัดด้วยตัวเลขแบบนี้ไม่น่าที่จะอยู่ได้สังคมไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วหลังจากสถานการณ์ที่ผ่านมาในช่วง 10 - 20 ปี ที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยทางการศึกษาโดย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เอาข้อมูลมา ผมคิดว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจครอบครัวไทยครึ่งนึงมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน อันนี้เป็นสาระสำคัญถ้าจะเอาแบบเหวี่ยงๆแรงๆ งานศึกษาวิจัยปรากฏว่า ส.ส. 500 ครอบครัว มีทรัพย์สินรวมกัน 40,000 ล้านบาท เท่ากับคนไทย 2 ล้านครอบครัว  คือคิดเป็นทรัพย์สินของคนไทย 10 %
 .

.
ยุคล :  จาก 22 ล้านครอบครัว
 .

.
สนธิญาณ :  เห็นไหมครับนี่คือความเหลือมล้ำ ไม่ต้องคิดอะไรไปไกล  เป็นการเหลื่อมล้ำระหว่างนักการเมืองกับประชาชนก็ย่อมเห็นได้ชัด ประชาชนไม่เห็นได้ว่า ส.ส. นักเลือกตั้งรวยมาจากไหนสตาร์ทจากการทำงานทางการเมืองฐานะเป็นอะไรยังไง ไม่รวยด้วยวิธีพิเศษก็ทำธุรกิจที่เหนือกว่าคนอื่น สังคมไทยในปัจจุบันคนไทยที่มีบัญชีเงินฝากเกิน 10 ล้านบาทมี 0.01% ไม่ใช่ 1% นะครับคนไทยที่มีเงินฝากต่ำกว่า 10 ล้านบาทมี 99.99% นี้ว่ากันตามบัญชีเงินฝากแต่ปรากฏว่าคนใน 99.99% มีทรัพย์สินรวมกันแล้ว แค่ 53 เปอร์เซ็นต์ส่วนคน 0.01% มีเงินฝากรวมกันแล้ว 46.5 เปอร์เซ็นต์
 .

.
ยุคล :  ตัวเลขนี้กำลังจะบอกเรื่องความเหลื่อมล้ำ ถูกไหมครับ
 .

.
สนธิญาณ :  ของสังคมไทยที่เป็นอยู่คนไทยส่วนใหญ่ในวันนี้อยู่ในภาคเกษตรชาวนาใน 22 ล้านครอบครัว เป็น 4 ล้านครอบครัว ชาวสวนยางอีก 2 ล้านครอบครัว ภาคเกษตรเป็นจริงที่มีอยู่ส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกิน พูดแล้วก็จะหาว่าอวยกัน สำหรับพลเอกประยุทธ์ในคำให้สัมภาษณ์วันนั้นบอกว่าจะต้องพูดถึงเรื่องที่ดินด้วย ดังนั้นในวันนี้สิ่งที่ผมอยากจะเรียนกับท่านผู้ชมและเรียนต่อเอาประชาชนที่อยู่ฐานข้างล่างเอาภาคเกษตรกรเอาตัวแทนชุมชน เอาตัวแทนสาขาอาชีพมาพูดเรื่องการปรองดอง แต่ไม่ใช่มาพูดกับพวกกับนักเคลื่อนไหวกับนักเลือกตั้งนักการเมือง ต้องเอาฐานเกษตรมาพูดด้วยก็เขาเป็นรากฐานที่แท้จริงเขาเป็นคนไทย เป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริง ไม่ใช่คนที่อยู่ในระดับแกนนำ หัวหน้าพรรค เป็นนักการเมือง ผมคิดว่าเริ่มอย่างพร้อมๆ กัน ไม่เช่นนั้นกระแสของการพูดเรื่องการปรองดองก็กลับเข้าสู่วงจรอุบาทว์เหมือนเดิมกลับไปสู่เรื่องของการนิรโทษกรรมกลับไปสู่เรื่องของการที่จะคลี่คลาย การจัดสรรอำนาจกันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ให้มาทะเลาะกันหลังการเลือกตั้ง อย่าตีกันผมบอกแล้วว่าครั้งนี้เป็นครั้งประวัติศาสตร์ครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยกำลังกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดการปฏิรูปเพราะฉะนั้นรากฐานให้รับรู้ประชาชนให้กลับไปดูองค์กรประชาชนมวลชนที่อยู่พื้นฐานทั่วประเทศและนำเขาไม่พูดด้วยไม่ใช่ให้พวกนี้มาพบกัน
 .

.
ยุคล :  กังวลเรื่องความขัดแย้งนี้ด้วยหรือเปล่าครับ ถ้านักการเมืองไม่รู้สึกว่าทุกอย่างมันลงตัว เป็นการขัดแย้งขัดขวางการเลือกตั้งมองไปเรื่องพวกนั้น
 .

.
สนธิญาณ :  ผมมองย้อนไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มาถึงปัจจุบันการชุมนุมของอีกฝั่งหนึ่งมีอำนาจต่อรองเพราะใช้กองกำลังติดอาวุธการชุมนุมของ กปปส. มวลชนออกมาเยอะทั้งที่เมื่อก่อนปฏิเสธคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เพราะความรู้สึกที่มีต่ออำนาจรัฐ นั่นคือความรู้สึกของมวลชน ผมเรียนว่าวันไหนที่คุณสุเทพเดินผิดทาง เราจะเห็นบทเรียนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ถดถอยลงเกิดเป็นปรากฏการณ์แบบนั้น ฉะนั้นที่ผมเรียนว่าไม่ได้หมายความว่าอย่าไปทำเรื่องที่เอาพวกนี้มาพูดมาคุยกันทำไปเถอะครับ และนี่ไม่ใช่ทางออกแต่เป็นเพียงองค์ประกอบเล็กๆ แต่พอเริ่มจะพูดเรื่องการพูดคุยกันก็กลับไปที่กรอบเดิมเดี๋ยวมาประชุม 3 เดือน แล้วเดี๋ยวก็จะรู้เรื่อง ความจริงไม่รู้เรื่องหรอกครับท่านจะรู้เรื่องได้อย่างไรถ้าชาวบ้านก็ไม่รู้เรื่องด้วยก็ต้องกลับมาที่เดิมคุณสุเทพ กปปส. ปลุกให้ประชาชนขึ้นมาได้ ไม่ใช่เพราเขาชอบคุณสุเทพแต่เพราะประชาชนเขารู้สึกซึ้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ต่ออำนาจรัฐการทุจริตคอรัปชั่นที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรจะทำ สำหรับคณะกรรมการชุดปรองดองจะต้องทำรูปทำให้ปรากฏในภาคประชาชนด้วย ไม่ใช่เริ่มต้นพูดในเรื่องพวกนี้ กระแสของข่าวสารกระแสทางการเมืองจึงอยู่แต่เรื่องพวกนี้ถกเถียง อันนี้อยากมานี้ไม่อยากมา อันนี้อยากดังอันนี้ไม่อยากดัง อันนี้มีเงื่อนไขนั้นอันนี้มีเงื่อนไขนี้ พวกคุณก็มีเงื่อนไขของพวกคุณไปคุณจะต้องกลับมาพูด ว่าคนไทยมีสถานะเป็นอย่างไรมีคนที่เป็นอาชีพชาวนา ชาวไร่ ชาวสวนยางเท่าไร ชาวไร่อ้อยเท่าไร ชาวสวนปาล์มเท่าไหร่ พื้นที่ทางด้านการเกษตรมีกี่เท่าไหร่ ชาวเกษตรกรเท่าไหร่ที่ไม่มีที่ดินทำกินอยู่เท่าไร  ทุนยักษ์ขนาดใหญ่กดขี่ขูดรีดประชาชนอย่างไร ทุนใหญ่เหล่านั้นวันนี้มาสนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์อยู่เหมือนกันผมต้องเรียนแบบนี้ ต้องหยิบมาพูดต้องคลี่คลายลงให้คนส่วนใหญ่เข้าใจ ถ้าท่านลงมือทำในเรื่องนี้ปฏิรูปเรื่องที่ดิน ไม่ให้ทุนใหญ่กดขี่ขูดรีดจัดสรรระบบน้ำ ให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างทั่วถึงแบ่งเขตเศรษฐกิจเหมือนที่ท่านพูด แต่ท่านต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นกระแสขึ้นมาด้วย ผมเรียนนะครับผมไม่ใช่พลเอกประยุทธ์ไม่คิด ก็ต้องพูด กลับมาเรื่องการเมืองก่อนเห็นด้วยครับว่าเราจะต้องมีการปรองดอง เพราะถ้าไม่มีการปรองดองก็จะปฏิรูปไม่ได้ จะกำหนดแผนยุทธศาสตร์ไม่ได้ก็จะเป็นแบบลอยๆ 
 .

.
ยุคล :  ทั้งหมดทั้งมวลจะทำทันหรือครับ ก่อนการเลือกตั้งปีกว่าๆ
 .

.
สนธิญาณ : ต้องสร้างฐานแต่ขอให้ฐานนี้เป็นฐานที่ถูกต้อง ที่ผมอยากจะตอกย้ำ และสุดท้าย สิ่งที่ยืนยันว่าไม่ควรจะหยิบยกมาพูดกันนี้คือเรื่องการนิรโทษกรรม โดยเฉพาะ 2 เรื่องสำคัญเอาเรื่องทุจริตคอรัปชั่น และเรื่องการกระทำความผิดตามมาตรา 112 การกระทำความผิดตามมาตรา 112 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะกระแสของประชาชน ที่ไม่พอใจ สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เกิดขึ้นเพราะกลุ่มการเมืองและนักการเมืองเข้าไปปั่นป่วนสร้างความเคลื่อนไหวคดีเหล่านี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ถึง พ. ศ. 2547 ตัวเลขมีเพียง 10 กว่าคดี แต่หลังจากเกิดความขัดแย้งทางการเมือง สิ่งที่ปรากฏขึ้นวันนี้มีคดีกระทำความผิดตามมาตรา 112 นับพันครั้งเดินเข้าสู่ศาลแล้ว จำนวน 200-300 คดี ทำให้เห็นได้ชัด ว่านักการเมืองที่กำลังกระทำความผิดตามมาตรา 112 มีการเคลื่อนไหวในเชิงรุกเชิงรับ ไม่หยุดไม่หย่อน ไม่ต้องนับหรอกว่าใครเป็นหัวหน้า
 .

.
ยุคล :  ปิดท้ายนะครับกระบวนการสร้างความปรองดองจะต้องลงไปที่รากฐานของประชาชน และที่ห้ามเลย ก็คือการนิรโทษกรรม การกระทำความผิดคอร์รัปชั่นและการกระทำความผิดตามมาตรา 112
 .

.
สนธิญาณ :  ถ้าทำเรื่องนี้แผ่นดินลุกเป็นไฟรอบ 2
 .

.
ยุคล : สวิงกลับเลย
 .

.
สนธิญาณ :  แน่นอนครับ
 .

.
ยุคล :  ถ้าปรองดองและแผ่นดินจะลุกเป็นไฟ
 
.

.

สนธิญาณ : แล้ววันนี้ไม่มีคนกลางช่วยเคลียร์
 .

.
ยุคล :  เอาล่ะครับเรื่องทั้งหมดนี้ก็คือรายการยุคลถามตรงสนธิญาณฟันธงตอบฉันนั้นกลับมาพบกันอีกครั้งในวันและเวลาเดียวกันนี้ วันนี้ต้องขอบคุณคุณ สนธิญาณ มากนะครับ ลาคุณ ผู้ชมเพียงเท่านี้สวัสดีครับ