สนธิญาณ ชี้!!"วิษณุ"ปัดไม่ได้คุย สปท.ใช้ ม.44ออก"กฎหมายปฏิรูป 36 ฉบับ ตามที่อ้าง เห็นชัด!! แม่น้ำ 5 สายไม่เชื่อมโยงกัน "ลุงตู่"ต้องพิจารณาเร

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

รายการ "ยุคลถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2560 ออกอากาศทางช่อง ไบรท์ทีวี หมายเลข 20 ดำเนินรายการโดย คุณยุคล วิเศษสังข์ (หนึ่ง) ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย) บรรณาธิการอำนวยการ สำนักข่าวทีนิวส์ โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

สนธิญาณ ชี้!!"วิษณุ"ปัดไม่ได้คุย สปท.ใช้ ม.44ออก"กฎหมายปฏิรูป 36 ฉบับ ตามท่ีอ้าง เห็นชัด!! แม่น้ำ 5 สายไม่เชื่อมโยงกัน "ลุงตู่"ต้องพิจารณาเรื่องนี้

                สนธิญาณ : อีกไม่กี่วันนะครับจะครบ 3 ปี การยึดอำนาจของ คสช.นะครับ ซึ่งในที่สุดก็ได้มีการแจกจ่ายแม่น้ำออกเป็น 5 สาย เพื่อสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานเข้าหากันให้เป็นระบบนะครับ แม่น้ำ 5 สายประกอบด้วยต้นสายก็คือ คสช. สองก็คือรัฐบาล สามก็คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สี่ก็คือสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งประเทศไทย และก็ห้า คณะกรรมการร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ แม่น้ำสายที่ห้าได้ทำงานเสร็จสิ้นกันไปแล้วนะครับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ผลักดันให้รัฐธรรมนูญออกมาจนสำเร็จผ่านความเห็นชอบของประชาชนด้วยประชามติ เจ้าหน้าที่ กฎหมายลูกอันเกี่ยวเนื่องกับรัฐธรรมนูญส่งมอบต่อให้กับ สนช.ไปพิจารณา มาถึงวันนี้นะครับมีอีกองค์กรซึ่งบทบาทกำลังจะหมดลงไปนั่นก็คือสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศหรือ สปท.นะคุณยุคล มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งไม่น่าที่จะเกิดนะครับผมย้ำและก็เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าวันนี้แม่น้ำห้าสายไม่ได้ทำงานเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันและอาจจะมีประเภทผมก็ใหญ่ คุณก็ใหญ่นะครับ ทุกคนก็สำคัญ ผมก็สำคัญ คุณก็สำคัญเกิดขึ้น มันสืบเนื่องจากการมีรายงานข่าวฉบับนึงคุณยุคลว่า อาจารย์ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท.ได้ทำหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะ คสช.ให้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ถ่ายโอนอำนาจไปอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วตั้งแต่เดือนกันยายน ให้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูป 36 ฉบับนะครับ หนังสือฉบับนี้นะครับในรายงานข่าวเขาบอกว่าหากดำเนินการไปตามขั้นตอนปกติ กฎหมายจะออกมาบังคับใช้ไม่ทันภายในปี 60 เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนช.มีภาระล้นมือ หารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีและนายสุวิทย์ เมษินทรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะเลขานุการในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือก็คือ ป.ย.ป.นะครับ แล้วเห็นตรงกันว่าควรใช้อำนาจตามมาตรา 44 สาระของกฎหมายตรงนี้สำคัญครับ ผมย้ำให้กฎหมายฉบับนี้เนี่ยเป็นรายงานข่าว กฎหมายฉบับนี้อ้างว่าอาจารย์ทินพันธุ์ทำหนังสือถึงนายก โดยได้หารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีและนายสุวิทย์ เมษินทรี ในฐานะเลขานุการ ป.ย.ป. ให้เห็นควร เห็นตรงกันว่าควรใช้อำนาจตามมาตรา 44 ย้ำนะ ผมเชื่อว่าผู้สื่อข่าวได้จดหมายฉบับนี้มาจริง แม้จะเป็นรายงานข่าวนะครับ เพราะในรายงานของข่าวมันมีรายละเอียดที่ค่อนข้างจะชัดเจน เนื้อหาบอกว่าควรออกมาในรูปมาตรา 44 ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการใช้มาตรา 44 ในเชิงสร้างสรรค์ตามที่โพลทุกครั้งเรียกร้องเสมอมา ยกเว้นบางเรื่องที่ควรกลายเป็นพระราชบัญญัติและอยู่ในดุลยพินิจของนายวิษณุ ให้คำแนะนำและขอให้มอบให้เลขานุการ ป.ย.ป. และ สนช.เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่นี้ไป ความหมายของ สปท.นะครับเขาก็ต้องการผลักดันการทำงานในด้านการปฏิรูปให้บรรลุเป้าหมายนะครับ ก็คิดว่าตอนนี้เนี่ยในแนวทางการปฏิรูปนะน่าจะผลักดันกฎหมายไป 36 ฉบับ ให้ สนช.ไม่ทันก็เลยได้หารือกับนายวิษณุ เครือและนายสุวิทย์ เมษินทรี และเห็นชอบ ย้ำนะครับว่านายวิษณุและนายสุวิทย์เนี่ยเห็นชอบในการที่จะผลักดัน และก็บอกว่าเรื่องไหนที่ไม่จำเป็นก็ละวางได้นะแล้วให้เลขาของ ป.ย.ป.เนี่ยนะครับ กับเลขาของ สนช.เป็นผู้ประสานกัน ด้วยเจตนาดี ปรากฎว่าได้รับคำตอบ เมื่อผู้สื่อข่าวเอาเรื่องนี้มาถามนายวิษณุ ซึ่งค่อนข้างจะตรง นายวิษณุบอกว่ากรณีที่เกิดเป็นข่าวขึ้นนะครับ บอกว่าไม่ทราบเรื่อง และบอกว่าไปเสนอกันที่ไหน ถ้าเสนอมาที่รัฐบาลจะมีแนวพิจารณาในการคิดเหมือนกัน ผมย้ำนะครับว่าจดหมายเป็นรายงานข่าว แสดงว่าผู้สื่อข่าวไปได้มาผิด แล้วเอาเรื่องนี้มาถามนายวิษณุ นายวิษณุตอบแบบไม่มีเยื่อใย บอกว่าไม่ทราบเรื่องดังกล่าว เพราะฉะนั้นถ้ารายงานข่าวและจดหมายฉบับนั้นมีจริง เป็นอย่างนี้ไม่รู้ว่าความจริงคืออะไร ทางฝั่ง สปท.ปรึกษานายวิษณุแล้ว แต่นายวิษณุบอกว่าไม่ได้ปรึกษาหรือไม่ได้ปรึกษาจริงแล้ว สปท.ไปอ้างเอาเองนะครับ นายวิษณุบอกว่าอย่างไรก็ตามกฎหมายมาตรา 44 ไปแล้วได้กำหนดท้ายไว้ว่าออกเป็นพระราชบัญญัติขึ้นมาเพื่อให้สภาพความเป็นมาตรา 44 เพราะฉะนั้นอย่าคิดอะไรมาก อย่าเขียนกลับกัน ผมเชื่อว่า สปท.จะมองว่าล่าช้า แต่ไม่ทันคิดว่าเท่าไหร่ก็เท่านั้น ไม่เห็นต้องทำไปทั้งหมด เรื่องอะไรก่อนที่สำคัญ อย่าคิดทำอะไรมากเกินไป นี่คือสิ่งที่นายวิษณุบอก สปท. เหตุผลเนี่ยนะครับ นายวิษณุก็บอกว่าอีกไม่กี่เดือน สองสามเดือนนี้ก็จะมีการตั้งคณะกรรมปฏิรูปแห่งชาติขึ้นมาแล้ว เมื่อตั้งมาแล้วก็จะเป็นผู้กำหนดแผนและขั้นตอนว่าควรทำอย่างไร เป็นการทำก่อนแล้ว ถ้าทำซัก 35 ฉบับ เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแห่งชาติมา เขาจะทำอะไร เหลือให้เขาทำบ้างซิ เอาล่ะครับ คำตอบแบบนี้นะมันได้สะท้อนออกมานั่นก็คือว่า แม่น้ำ 5 สายที่พลเอกประยุทธ์คาดหวังมันไม่ได้เกิดขึ้นนะครับ การประสานงานไม่มี การเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ไม่มี ว่าเรื่องไหนสำคัญไม่สำคัญ 3 ปีที่ผ่านมาอันไหนควรผลักดัน อันไหนที่ค้างคาควรจะทำให้เกิดผล คำตอบของนายวิษณุก็คือเป็นคำตอบเหมือนคนที่เป็นรองนายกฝ่ายกฎหมาย เป็นข้าราชการประจำ อะไรทำไปก็ทำไปเถอะ ผมเชื่อว่านี่รองนายกควรจะต้องทบทวนด้วย จะเตือนนายวิษณุหรือไม่ หรือจะเรียกประชุมแม่น้ำ 4 สายที่เหลือ จะรวม 5 สาย หรือไม่ เพื่อในการที่จะสรุปงานนะครับ จะแถลงไม่แถลงผลงาน 3 ปี อีกเรื่อง แต่สิ่งที่สะท้อนออกมามันเป็นจุดอ่อนครับ และมันทำให้การทำงานไม่ได้เป็นไปตามโครงข่ายครับ แถมออกมาตำหนิผ่านสื่อเสียด้วยซ้ำ ส่วน สปท.เนี่ยนะครับ จะมีปฏิกริยาอย่างไรก็ต้องติดตามดูกันต่อไปนะครับ เรียนย้ำนะครับความตั้งใจที่ดีไม่ได้หมายความว่าผลจะออกมาดีเสมอไป ถ้าระบบบริหารจัดการและการเชื่อมโยงไม่เกิดขึ้นและแต่ละฝ่ายล้วนมีอัตตาที่ไม่ธรรมดา เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะ คสช.และหัวหน้ารัฐบาลจะต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วยครับ จะผลักดันไม่ผลักดันกฎหมายพระราชบัญญัตินั้นอีกเรื่องนึง แต่ต้องชัดเจน ต้องรู้ แม่น้ำ 5 สาย ว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญ อันไหนควรเร่งปฏิรูปไม่ควรเร่งปฏิรูป อันไหนเร่งปฏิรูปจะต้องทำอย่างไร ไม่ใช่ไปรอคณะกรรมการปฏิรูปแห่งชาติแบบนายวิษณุว่า