สนธิญาณ ชี้!!กรธ.สนช.กกต."Primary Vote ควรที่ทุกฝ่ายช่วยกันปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพราะหลักการณ์ถูกต้อง!!!ประชาชนต้องช่วยกันจับตาให้เกิดการปฏ

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

รายการ สดลึกจริง ช่วง "สถาพรถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 28 มิถุนายน 2560 ออกอากาศทางช่อง ไบรท์ทีวี หมายเลข 20 ดำเนินรายการโดย คุณชนุตรา เพชรมูล ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย) บรรณาธิการอำนวยการ สำนักข่าวทีนิวส์ โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

สนธิญาณ ชี้!!กรธ.สนช.กกต."Primary Vote ควรที่ทุกฝ่ายช่วยกันปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพราะหลักการณ์ถูกต้อง!!!ประชาชนต้องช่วยกันจับตาให้เกิดการปฏิรูปการเมืองให้ได้จริง

                ชนุตรา : ตอนนี้ประเด็นที่พูดถึงทางการเมืองคงจะเป็นเรื่องของ Primary Vote ล่ะค่ะ ทางพรรคการเมืองเองก็ออกมาคัดค้าน เสียงของ กรธ. เสียงของ กกต. เสียงของ สนช. ก็เป็นอีกแบบนึงค่ะคุณสนธิญาณคะ

                สนธิญาณ : ก็ต้องถือว่าเป็นสถานการณ์ทางการเมืองนะครับที่ร้อนที่สุดในขณะนี้นะครับ กรณี Primary Vote เนี่ยนะครับคุณชนุตราครับ ท่านผู้ชมครับ ผมเรียนนะครับว่าปัญหาทางการเมืองที่ผ่านมา ย้ำเลยนะครับ เราพูดกันถึงเรื่องระบบประชาธิปไตย พูดกันถึงเรื่องการเลือกตั้ง บอกว่าการเลือกตั้งเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย และก็แน่นอนครับ พรรคการเมืองเป็นผู้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ประชาชนเลือก นั่นก็หมายความว่าพรรคการเมืองเป็นผู้คัดผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งเนี่ยนะครับแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มนึงก็คือลงในแต่ละเขต กลุ่มที่สองก็คือกลุ่มที่เรียกว่าปาร์ตี้ลิสต์ ทีนี้เรามาดูว่าเวลาพรรคการเมืองเขาคัดผู้สมัครลงรับเลือกตั้งเนี่ย เขาคัดใคร แล้วพรรคการเมืองที่เราพูดๆที่เราว่ากันนั้นเนี่ยมันคือใครนะครับ พรรคการเมืองที่เราว่ากัน เราเห็นการพัฒนาการที่ผ่านมานะครับ ผมเรียกได้ว่ายกเว้นพรรคประชาธิปัตย์แล้วเนี่ยนะครับ พรรคการเมืองทุกพรรคมีเจ้าของ มีผู้ที่แสดงตัวตนเป็นเจ้าของอย่างชัดเจน บางพรรคสามารถระบุตระกูล ระบุการสืบทอดอำนาจนะครับได้อย่างชัดเจน ที่บอกว่ายกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีเจ้าของเป็นหนึ่งเดียว แต่แน่นอนที่มีเหมือนกันก็คือผู้บริหารที่เป็นผู้กุมอำนาจในแต่ละช่วง ดังนั้นเจ้าของพรรคหรือผู้ที่กุมอำนาจบริหารในพรรคจึงมีสถานะอันนึงก็คือสถานะที่มีอำนาจเหนือกว่าผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง อำนาจนี้นำพาไปสู่การบีบบังคับให้เป็นพวก การบีบบังคับให้ทำตามประโยชน์ที่เจ้าของพรรคการเมืองต้องการ บางพรรคการเมืองนะครับบีบบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเซ็นใบลาออก ส.ส.เอาไว้ก่อนโดยไม่ลงวันที่หากว่าไม่ปฏิบัติตามความปรารถนาของเจ้าของพรรค นี่เป็นปัญหาที่ดำรงคงอยู่ การที่เจ้าของพรรคกุมผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งที่จะมาเป็ฯ ส.ส.ไว้ได้ สิ่งที่ทุกพรรคการเมืองทำก็คือการทุจริตคอรัปชั่น ผมย่ำนะทุกพรรคการเมือง เพื่ออะไร เพื่อหาเงินมาใช้ในการเลือกตั้งต่อไป บังคับผู้สมัคร เอาเงินผู้สมัคร สร้างอำนาจต่อรอง และเป็นวงจรอุบาท นี่กลายมาเป็นประเด็นปัญหา จนประชาชนออกมาประท้วงกันใหญ่โต กลายเป็นมวลมหาประชาชน นี่ปัจจัยมันอยู่ตรงนี้ พูดถึงเรื่องจะปฏิรูปทางการเมือง การปฏิรูปทางการเมืองจะเกิดขึ้นไม่ได้หรอกครับถ้าไม่ปฏิรูปที่พรรคการเมือง ให้พรรคการเมืองกลายมาเป็นของประชาชน ผมเรียนย้ำหลักการนี้และก็จะพูดซ้ำไปเรื่อยๆให้เห็นว่า พอมาถึงสถานการณ์ที่สนช.เสนอ Primary Vote โดยอ้างอิงตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ไปแล้ว ประเด็นปัญหาวันนี้ พรรคการเมืองออกมาพูดกันประเด็นเดียว ไม่สอดคล้องกับสังคมไทย คุณชนุตรา การปฏิบัติเป็นไปได้ยาก ก็เวลาผมพูดว่าการเลือกตั้งใหญ่ก็ไม่สอดคล้องกับสังคมไทย คุณก็ด่าผมหาว่าฝ่ายเผด็จการ ก็ถ้าเลือกตั้งก็เลือกตั้งให้มันหมดทุกระดับซิ เพื่อที่จะกลับมาสู่หลักการที่ให้สมาชิกพรรคเป็นเจ้าของพรรค ไม่ใช่วันนี้สมาชิกพรรคไม่ต้องสมัคร ไม่ต้องเสียงเงินก็ได้ ทำเป็นใส่ชื่อไว้เป็นแบบนั้นเพื่อที่จะเอาเงินสนับสนุนจากรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง สมาชิกพรรคการเมืองไหนๆไม่เคยมีกิจกรรมร่วมกับพรรคเลย สถานการณ์ที่น่าสนใจตอนนี้ปรากฏว่า กรธ.ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญเองและเขียนให้สมาชิกพรรคเข้ามามีส่วนร่วมเอง กลับมามีความเห็นคล้ายๆนักการเมืองและพรรคการเมืองทั้งหลายว่า การปฏิบัติที่สนช.เขียนออกมาเนี่ยมันจะปฏิบัติยาก แล้วยังระบุถึงว่าถ้าปฏิบัติยากจนถึงขั้นจัดการเลือกตั้งไม่ได้ก็จะขัดกับรัฐธรรมนูญ พรบ.พรรคการเมืองที่ สนช.ปรับปรุงออกมาจะขัดกับรัฐธรรมนูญ แน่นอนล่ะครับประเด็นนี้เนี่ยมันเป็นปัญหาต่อไปว่า ผมคิดว่ากรธ.ก็ไม่น่าจะรีบพูดอย่างนี้ เพราะอาจเห็นไม่ตรงกัน ขั้นตอนต่อไปก็จะต้องมีคณะกรรมาธิการร่วมที่มาจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญหรือ กรธ. 5 คน มาจาก สนช. 5 คน และมาจาก กกต. 1 คน ก็ไปร่วมพิจารณา ประเด็นที่ควรพูดในวันนี้ก็คือว่า หลักการ Primary Vote ถูกต้องหรือไม่ในการที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ให้สมาชิกพรรคเข้ามามีส่วนร่วม วันนี้ข้ออ้างที่บอกว่ามีสมาชิกร้อยคนสิบคน จะมากำหนดผู้สมัครรับเลือกตั้ง แล้วคน 10-20 คนที่เป็นกรรมการบริหาร หรือคนๆเดียวที่เป็นเจ้าของพรรคที่กำหนดออกมา มันไม่ร้ายกว่าไปเหรอ แล้วถ้ามันไม่เริ่มจากจุดแรก มันจะวิวัฒนาการ มันจะพัฒนาการยังไง พูดกันมา 85 ปี ประชาธิปไตยว่าประชาธิปไตยไม่พัฒนา ถ้าไม่พัฒนาจากรากฐานแล้วมันจะพัฒนาได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งที่ควรจะไปพูดคุยกันในคณะกรรมาธิการร่วมก็คือ จะทำภาคปฏิบัติให้เป็นจริงได้อย่างไร ถ้าหลักการมันถูกต้อง ก็มาช่วยกันปรับปรุงมาช่วยแก้ในทางภาคปฏิบัติ ไม่ใช่ออกมาตีโพยตีพายหรืออกมาต่อต้านตั้งแต่ต้น มันทำให้เห็น ฝากฝั่งพรรคการเมืองก็เห็นธาตุแท้ล่ะครับ ก็ไม่อยากได้ก็อยากจะกุมอำนาจของตัวเองต่อไป แต่ด้านคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต้องลดอัตตาที่ตัวเองยกร่างมาก่อนนะครับว่ามันต้องปรับปรุงต้องแก้ไขได้ ถ้าคนอีกจำนวนหนึ่งเขาเห็นไปในทิศทางที่ปฏิบัติได้นะครับแล้วพร้อมตอบ พร้อมจะชี้แจงว่าจะปฏิบัติอย่างไร นี่เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณานะครับ คืองานนี้เนี่ยนะครับ จับตาเถอะครับมันจะเริ่มมันหยดแล้ว มันกลายมาเป็น 4 ขั้วแล้วตอนนี้นะครับ 2 ขั้วก็คือ พรรคการเมืองกับกรธ.เนี่ยก็โน้มเอียงไปด้วยกัน กกต.กับสนช.ก็เห็นคล้อยมาในทางเดียวกัน เพราะฉะนั้นเนี่ยนะครับจับตาเถอะครับ และผมคิดว่าประชาชนคนไทยจะต้องให้ความสนใจ ติดตามในเรื่องนี้นะครับ เรื่องนี้กับเรื่องการปฏิรูปตำรวจเนี่ยนะครับเป็นสองเรื่องใหญ่ที่สำคัญที่เราจะต้องจับตาและติดตามให้เกิดการปฏิรูปขึ้นให้ได้