"อดีตนักการทูต" ตั้งคำถามสะกิดต่อมสำนึก "เกล็น เดวีส์" ตอบให้ได้.. แล้วจะรู้ทำไมคนไทยต้องลุกปกป้อง “พ่อ"

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ www.tnews.co.th

นายบุญญ์พัชรเกษม เสริมวัฒนากุล อดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ นักสื่อสารมวลชน และผู้ผลิตสารคดีเทิดพระเกียรติ ได้โพสต์ข้อความ ซึ่งเป็นจดหมายเปิดผนึกถึงเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ฉบับที่ 2 ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Boonpachakasem Jeng Sermwatanarkul" โดยข้อความในจดหมายเปิดผนึกระบุ ดังนี้

 

 

 

"อดีตนักการทูต" ตั้งคำถามสะกิดต่อมสำนึก "เกล็น เดวีส์" ตอบให้ได้.. แล้วจะรู้ทำไมคนไทยต้องลุกปกป้อง “พ่อ"

         

 

"หากท่านยังระลึกได้จากจดหมายฉบับแรกที่ข้าพเจ้าเขียนถึงท่านนั้น ข้าพเจ้าเขียนในฐานะของอดีตนักการทูตและในฐานะของสื่อมวลชนที่เรียกร้องให้ท่านได้โปรดปฏิบัติตนเยี่ยงนักการทูตชาติอื่นๆ ที่เคารพในธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตที่ดีด้วยการให้เกียรติมิตรประเทศและการให้ความเคารพแก่องค์พระประมุขของประเทศไทย

         

 

สำหรับจดหมายฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอเขียนในฐานะลูกคนหนึ่งของพ่อที่พร้อมจะปกป้องพ่อและครอบครัวในทุกกรณี ท่านก็คงน่าจะเข้าใจถึงความรักที่ลูกควรจะมีต่อพ่อ หากท่านได้เรียนรู้แก่นลึกของค่านิยมแห่งสังคมตะวันออกที่ให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะวัฒนธรรมไทยที่ให้ความเคารพอย่างยิ่งต่อหัวหน้าครอบครัวและให้เกียรติกับผู้ที่อาวุโสกว่าด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ

 

 

"อดีตนักการทูต" ตั้งคำถามสะกิดต่อมสำนึก "เกล็น เดวีส์" ตอบให้ได้.. แล้วจะรู้ทำไมคนไทยต้องลุกปกป้อง “พ่อ"

หากเปรียบประเทศๆ หนึ่งคือ "บ้าน" ในบ้านก็ย่อมต้องมีพ่อแม่ลูก และก็เป็นเรื่องปกติที่พ่อจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำและเป็นหลักของครอบครัว ที่ต้องคอยปกครองและปกป้องลูกๆ ให้อยู่ดีมีสุข หากลูกๆ หลายคนมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน พ่อก็ต้องทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและให้ความยุติธรรม ซึ่งในสำนึกของความเป็นพ่อคนเป็นแม่คนนั้น คงไม่มีพ่อแม่คนไหนในโลกที่ไม่รักลูกตัวเองและที่สำคัญพ่อแม่ทุกคนต่างก็รักลูกตัวเองเท่าๆ กัน ตัวท่านเองก็คงเข้าใจถึงความเป็นพ่อ หากท่านมีลูกหลายคน ท่านก็น่าจะยิ่งเข้าใจว่าการรักลูกเท่ากันนั้นรู้สึกอย่างไร เพราะเป็นความรู้สึกที่มิใช่วัดด้วยเหตุผล แต่ต้องวัดด้วย..ใจ       

 

 

เมื่อคนในครอบครัวเราเองจะพูดจะคุย จะปรึกษาหารือกันนั้น ก็มีคำถามว่า

 

          -เราจำเป็นต้องไปขออนุญาตคนบ้านอื่นก่อนหรือไม่ ในการทำกิจวัตรส่วนตัวภายในบ้านเราเอง?

 

          -เราจำเป็นต้องฟังหรือไปขอความเห็นคนบ้านอื่นหรือไม่ หากคนในบ้านเรามีปัญหากันไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่?

 

          -หากมีเพื่อนบ้านสักคนจะเดินเข้ามาในบ้านเรา เขาคนนั้นควรจะต้องขออนุญาตเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?

 

          -หากมีเพื่อนบ้านที่มิใช่รั้วติดกันมายืนชี้นิ้วสั่งการอยู่หน้าบ้าน เราจะยอมให้เพื่อนบ้านคนนั้นกระทำเช่นนั้นหรือไม่?

 

          ทุกคำถามต้องการคำตอบที่มาจากสามัญสำนึกล้วนๆ สามัญสำนึกในความเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม มิได้ต้องการคำตอบที่ต้องการข้อมูลอ้างอิงหรือการค้นคว้าในระดับจุลภาคหรือมหภาคแต่ประการใด

 

 

          คำถามเดียวสำหรับจดหมายฉบับนี้ ในฐานะลูก หากมีใครไปยืนสั่งให้พ่อของท่านห้ามทำอย่างนั้นหรือต้องทำอย่างนี้ในเขตรั้วบ้านของท่าน ท่านจะยอมหรือไม่ และหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในบ้านของท่านจริงๆ ในฐานะลูกท่านจะต้องทำอย่างไร

 

 

          หากท่านได้คำตอบแล้ว ไม่จำเป็นต้องตอบเสียงดังๆ ให้เราได้ยิน แค่ตอบในใจดังๆ ให้ตัวท่านเองได้ฟังอย่างเข้าใจ แล้วท่านก็จะรู้ว่า นั่นคือคำตอบของคนไทยทั้งประเทศ

 

 

          สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด หวังว่าคงไม่ต้องให้ข้าพเจ้าเขียนจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 3 ให้ท่านรำคาญใจอีก ด้วยความปรารถนาดีและการให้เกียรติในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นเสมอมา

 

 

          บุญญ์พัชรเกษม เสริมวัฒนา

 

"อดีตนักการทูต" ตั้งคำถามสะกิดต่อมสำนึก "เกล็น เดวีส์" ตอบให้ได้.. แล้วจะรู้ทำไมคนไทยต้องลุกปกป้อง “พ่อ"

 

นายเกล็น เดวีส์ ตามข้อมูลจากการเผยแพร่ของ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า เกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา Foreign Service จาก Georgetown University และปริญญาโทจาก National Defense University เป็นนักการทูตอาชีพลำดับชั้นอัครราชทูตที่ปรึกษา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน

 

"อดีตนักการทูต" ตั้งคำถามสะกิดต่อมสำนึก "เกล็น เดวีส์" ตอบให้ได้.. แล้วจะรู้ทำไมคนไทยต้องลุกปกป้อง “พ่อ"

 

 

ก่อนหน้านั้น นายเดวีส์ เคยเป็นผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่าง พ.ศ. 2555 - 2557 และปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้แทนสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency - IAEA) ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2555 นายเดวีส์ เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มรองผู้ช่วยรัฐมนตรีและเป็นรองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2549 - 2552 ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาอาวุโสประจำ Leadership and Management School แห่ง Foreign Service Institute (FSI) เมื่อ พ.ศ. 2548 - 2549 รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2548 รองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการยุโรประหว่างปี พ.ศ. 2547 - 2548 และผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองในวาระที่สหรัฐอเมริกาเป็นประธานกลุ่ม G-8 ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2547 และช่วงปี พ.ศ. 2542 - 2546 นายเดวีส์ รับตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษาของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ณ กรุงลอนดอน

      

 

นอกจากนี้ นายเกล็น ยังเคยเป็นผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council - NSC) ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2542 รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และรองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการสาธารณะระหว่าง พ.ศ. 2538 - 2540 และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ (Operations Center) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2535 - 2537 ขณะที่ก่อนหน้านั้น เคยไปปฏิบัติราชการในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และ ซาอีร์

 

 

สำหรับเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนก่อนหน้านี้ คือ นางคริสตี เคนนีย์ ซึ่งหมดวาระการดำรงตำแหน่งไปเมื่อในวันที่ 4 พ.ย. 2557 ก่อนที่จะมีการแต่งตั้ง นายดับเบิลยู แพทริก เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐฯ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเอกอัครราชทูต จนกระทั่งล่าสุดนับเป็นเวลากว่า 6 เดือน กว่าที่ นายบารัค โอบามา จะเสนอชื่อ นายเกล็น เดวีส์ เพื่อดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยคนใหม่ ท่ามกลางกระแสข่าวความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับ สหรัฐฯ ที่ย่ำแย่ลงด้วยท่าทีของสหรัฐฯ ต่อรัฐบาลไทยภายหลังการรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557

 

 

"อดีตนักการทูต" ตั้งคำถามสะกิดต่อมสำนึก "เกล็น เดวีส์" ตอบให้ได้.. แล้วจะรู้ทำไมคนไทยต้องลุกปกป้อง “พ่อ"

 

"อดีตนักการทูต" ตั้งคำถามสะกิดต่อมสำนึก "เกล็น เดวีส์" ตอบให้ได้.. แล้วจะรู้ทำไมคนไทยต้องลุกปกป้อง “พ่อ"

 

 

ก่อนหน้านั้น นายกลิน เดวีส์ ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า สหรัฐฯ ห่วงกังวลอย่างยิ่งกับสิ่งที่เกิดขึ้น และย้ำจุดยืนที่ได้พูดไปโดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐแล้วว่าสหรัฐห่วงกังวลกับการจับกุมนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและเห็นว่าควรต้องมีการเปิดพื้นที่ทางการเมือง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นขัดต่อพันธกรณีของไทยตามหลักสากล

 

ขอบคุณภาพจาก : FB - Boonpachakasem Jeng Sermwatanarkul, FB - U.S. Embassy Bangkok