"สนธิญาณ" ชี้! "นปช." ตั้งศูนย์ปราบโกงฯ แค่หาช่อง"จัดตั้ง"เชื่อมโยง ปลุกมวลชนรอสถานการณ์ "คสช." ตามไม่ทัน "เดี้ยง" ได้!!

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tnews.co.th

รายการ "สถาพรถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 6 มิถุนายน 2559  ออกอากาศทางช่อง ทีนิวส์ ดำเนินรายการโดย คุณสถาพร เกื้อสกุล (ถา) ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย)  กรรมการผู้อำนวยการ บริษัททีนิวส์ทีวี โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

สถาพร : ยังคงเป็นประเด็นอยู่หลากหลายเรื่องราว โดยเฉพาะเรื่องของวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโยที่น่าสนใจ อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจเช่นกันคือเรื่องการตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติของกลุ่ม นปช.

 

สนธิญาณ : ผมคิดว่าเป็นประเด้นที่น่าสนใจที่ทาง นปช. และเครือข่ายพรรคเพื่อไทยที่มาร่วมกันแถลงข่าวตามที่ทีนิวส์ได้เสนอข่าวไปเมื่อซักครู่ มีประเด็นที่น่าสนใจว่าตอนที่ สนช. เขาออกกฎหมายประชามติมาแล้วมีข้อห้ามไม่ให้รณรงค์ เพราะการรณรงค์ที่ว่าจะนำพาไปสู่ความขัดแย้งหรือก่อรูปของขบวนการของความขัดแย้งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าทางฟากฝั่งของ นปช. หรือคนที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช. ก็ต้องตั้งหลักว่านี่คือการจำกัดสิทธิเสรีภาพ แต่ในข้อเท็จจริง กกต. เขาได้ออกมาแถลงแจกแจงให้เห็นว่าขนาดไหนที่ทำได้หรือทำไม่ได้ ทีนี้กลับมาดูการตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ กระบวนการที่จะทำอย่าลืมว่าหน่วยเลือกตั้งมีหลายหมื่นหน่วยการที่ประกาศรับอาสาสมัครที่บอกว่าไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่ายไหนจะต้องเป็นใคร นำพาไปสู่การสร้างเครือข่ายบุคคลขึ้นมาในระดับหนึ่งตรงนี้น่าสนใจ เครือข่ายบุคคลที่เกิดขึ้นเวลาทำงานต้องมีระบบของการทำงาน

 

สถาพร : มีการสั่งการ มีขั้นตอน กระบวนการ

 

สนธิญาณ :  จากศูนย์กลางไปสู่ภาค จากภาคไปสู่จังหวัด จากจังหวัดไปสู่อำเภอ จากอำเภอไปสู่ตำบลอย่างนี้เป็นต้น และจนถึงหน่วยเลือกตั้ง ในกระบวนการที่ทำเห็นว่าจะต้องมีกระบวนการเชื่อมโยงติดต่อประสานงานทำงาน ภาษาการเคลื่อนไหวทางการเมืองนี่คือการเชื่อมโยงในการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว ฉะนั้นหมายความว่าคนทุกคนที่ลงชื่อจะติดต่อกับใคร จะต้องมีการประชุมทำความเข้าใจ คุณตั้งศูนย์ปราบโกงแล้วคุณให้มีอาสาสมัครมีผู้ปฏิบัติงานลงไป และไม่ได้ชี้แจงทำความเข้าใจว่าต้องทำอย่างไร ผมคิดว่าต้องมีการอบรม ในกระบวนการนี้มีความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า ทำให้เกิดเครือข่ายของการจัดตั้งขึ้น จะโดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของคุณจตุพรของนปช. อย่างไรก็ตามแต่แต่วันหนึ่งเหมือนคุณจตุพรพูดเมื่อสักครู่ว่าโกหกครั้งเดียวระวังจะเหมือนพฤษภา35 นี่โกหกหลายครั้ง โจมตีพล.อ.ประยุทธ์แบบนั้นว่าถ้าพล.อ.ประยุทธ์ไม่ให้ตั้ง ความหมายที่จะเกิดพฤษภา35หรือเกิดการต่อสู้แบบนี้ แน่นอนว่าจะเกิดเครือข่ายการจัดตั้งการเชื่อมโยงมวลชนและประชาชนขึ้นมา ซึ่งในสภาวะปัจจุบันเครือข่ายดังกล่าวเกิดขึ้นไม่ได้ครับ เพราะว่านับตั้งแต่ยึดอำนาจเป็นต้นมากระบวนการเหล่านี้ก็หยุด แต่ถ้าศูนย์ปราบโกงเกิดขึ้นกระบวนการนี้ก็จะฟื้นตัวและทำงานขึ้นมาใหม่ในรูปการก็คือโครงข่ายจัดตั้งของ นปช. สรุปง่าย ๆ ว่าถ้าคสช.ยอมให้เกิดศูนย์ฯนี้ ผมคิดว่า คสช. ก็น่าจะเพรี้ยงพร้ำทางการเมืองแน่นอน ถ้าให้ตั้งโดยใช้สำนวนโวหารในการตอบโต้กันก็จะเหนื่อย ทีนี้เหตุผลที่ คสช. จะต้องแถลงแจกแจงให้ชัดว่าจะมีการโกงได้อย่างไร โกงทำไม คสช. ถึงต้องการให้ประชามติผ่าน ถ้าเหตุผลเพียงว่าถ้าประชามติผ่านจะได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนยอมรับซึ่งไม่จำเป็นครับ เหตุผลเพราะในทางการเมือง คสช. ยังมีมวลชนสนับสนุนอยู่เยอะแยะ ที่บอกว่าพฤษภา35 ไม่มีทางเกิดขึ้น เพราะว่ามวลชนฝ่ายสนับสนุน คสช. มีมากกว่าฝ่ายต่อต้านออกมาตีกันก็กลายเป็นสงครามกลางเมือง ซึ่งทำให้กองทัพและทหารอยู่ยาวไป เว้นแต่ว่าบอกว่าเข้าทางแล้ว บอกสหรัฐฯและต่างชาติให้เข้ามาช่วยหน่อย ซึ่งไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่ คสช. จะโกงเพราะ 1.รัฐธรรมนูญฉบับปี 2557 ไม่เหมือน 2549 ซึ่ง 2549 กำหนดของ คมช. อายุรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไว้ว่าถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้หยิบขึ้นมาฉบับใดฉบับหนึ่งมาทำให้เสร็จแล้วเลือกตั้ง แต่รัฐธรรมนูญฉบับ 2557 ไม่ได้กำหนดแบบนั้นว่ารัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ถึงไหน สมมติถ้าประชามติไม่ผ่าน

 

สถาพร : น่าจะเป็นข้อดีกับ คสช. เสียอีก

 

สนธิญาณ : ถูกต้อง คสช.จะอยู่ไปอีกยาวเท่าไหร่ก็ได้ เพราะกฎหมายรองรับให้อยู่ เขาจะไปดิ้นรนโกงทำไมครับ เขายิ่งไม่ผ่านก็ยิ่งได้อยู่ ยิ่งผ่านอายุรัฐบาลยิ่งสั้น และพล.อ.ประยุทธ์ ก็ยังพูดอยู่ทุกวัน ว่าถ้าไม่เรียบร้อยก็จะอยู่ แล้วจะไปโกงทำไม โกงให้ถูกจับได้ให้เสียรางวัดให้เสียอย่างอื่น แต่ถ้าผ่านถามว่าดีไหมก็มีเหตุผล เพราะว่าจะได้เลือกตั้งกันไป และในผ่านนั้นก็มีบทเฉพาะกาล แม้ คสช. จะไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์แต่ยอมรับกันแล้วว่าพอใจในขณะนั้น แต่การผ่านหรือมไม่ผ่านรัฐธรรมนูญคือจุดชี้เป็นชี้ตายของ คสช. ไม่ใช่แบบนั้น นี่เป็นประเด็นที่ผมคิดว่าจะต้องทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน และกลับไปดูสิว่า คสช. เขาก็ตั้งหลักของเขามาตั้งแต่ต้นว่า คสช. กับ กรธ. เขาให้อิสระในการร่างรัฐธรรมนูญ เขาไม่ได้ถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นของ คสช. เพราะฉบับแรกไม่ผ่านสภาปฏิรูปตามปกติตอนนั้น พล.อ.ประยุทธ์ก็ออกมาเชียร์เสียด้วยซ้ำ เห็นไหมครับฉบับอ.บวรศักดิ์ พล.อ.ประยุทธ์ท่านก็เชียร์ แต่เห็นไหมละครับว่าในที่สุดก็ไม่ผ่านก็ไม่ว่าอะไร ครั้งนี้ก็ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญไม่ใช่ของ คสช. เพราะ คสช. ส่งเรื่องไปให้ กรธ. ซึ่ง กรธ.ก็ไม่เอาทั้งหมด เลือกมาเป็นบางข้อ แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ก็อาจจะพอใจนิดหน่อยแต่ไม่ได้ดังใจทั้งหมด เพราะฉะนั้นด้วยเหตุผลกลใด พล.อ.ประยุทธ์เขาพูดชัดว่านี่เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่กรธ.เขาร่างมา ฉบับปราบโกง ประชาชนก็ตัดสินใจกันเอาเองสิครับ นั่นก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ คำถามคือว่าแล้วจะไปโกงทำไม ไม่เหมือนกับการจะโกงเลือกตั้งซึ่งจะได้คะแนนเสียงเพื่อให้ได้เป็นรัฐบาล นี่รัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะได้เป็นรัฐบาลยาวไป เหตุผลไม่รับในทางตรรกะ ถ้าผมเป็น คสช. ผมไม่ให้ตั้งหรอกครับเพราะจะเสียท่าทางการเมือง