รวยมาก!!!...” ศิษย์ธัมมชโย” เตรียมจ่าย10ล. หากพระเดชพระคุณหลวงพ่อผิดจริง

รวยมาก!!!...” ศิษย์ธัมมชโย” เตรียมจ่าย10ล. หากพระเดชพระคุณหลวงพ่อผิดจริง

ว่าด้วยเรื่องคดีของพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ซึ่งท้ายที่สุดก็จะต้องพิสูจน์ความจริงว่าพระธัมมชโย ทำผิดตามข้อกล่าวหา รับของโจรและฟอกเงินหรือไม่

โดยที่ลูกศิษย์วัดรายหนึ่งมีความมั่นใจในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อและโชว์ความมั่งมีด้วยการโพสต์คลิปผ่านทางเฟซบุ๊คท้าทายว่าหากใครมีหลักฐานที่แสดงว่าหลวงพ่อผิดจริง จะเอาเงินให้เลย10ล้านบาท

มีสมาชิกผู้ใช้ยูทูบรายหนึ่ง เป็นศิษย์วัดพระธรรมกาย อัดคลิปประกาศแจกเงิน 10 ล้านบาท ให้ผู้ที่มีหลักฐานยืนยันว่า พระธัมมชโย บริสุทธิ์ ไม่ได้มีพฤติกรรมอย่างที่กล่าวหา

 

ในประเด็นข้อกล่าวหาของพระธัมมชโยนั้น จะยึดโยงกับนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยคลองจั่น ซึ่งเป็นผู้ที่โอนเงินมาให้กับพระธัมมชโย ซึ่งในตอนนี้นายศุภชัยก็กำลังชดใช้กรรมอยู่ในเรือนจำ คดียักยอกทรัพย์ของสหกรณ์ โดยล่าสุดยังพบอีกว่านายศุภชัยนั้นมีพฤติกรรมส่อว่าฟอกเงินอย่างต่อเนื่อง

พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เดินทางไปยังเรือนจำบางขวางเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ในข้อหาสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร

พ.ต.ท.ปกรณ์ กล่าวว่า พนักงานสอบสวนได้รับหลักฐานใหม่เป็นเช็คอีก 4-5 ฉบับ ที่สั่งจ่ายเข้าบัญชีผู้ต้องหาบางคนในคดี รวมมูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับเช็คที่ดีเอสไอรวบรวมไว้ก่อนหน้านี้ พบว่ายอดเงินบริจาคตามเช็คที่ มอบให้กับพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัด พระธรรมกาย เพิ่มขึ้นจาก 1,200 ล้านบาท เป็น 1,400 ล้านบาท ในชั้นสอบสวนนายศุภชัยให้การปฏิเสธ ซึ่งดีเอสไอจะเร่งสรุปสำนวนให้เสร็จในสัปดาห์หน้า

นายขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 กล่าวว่า นายศุภชัยให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ส่วนตัวเชื่อว่าพระธัมมชโยจะเข้ามอบตัวใน เร็ววันนี้

สำหรับผู้ต้องหาในคดีนี้มี 5 ราย คือ นายศุภชัย น.ส.ศรันยา มานหมัด นาง ทองพิณ กันล้อม ซึ่งดีเอสไอได้แจ้งข้อ กล่าวหาแล้ว ส่วนผู้ต้องหาอีก 2 คน คือ พระธัมมชโย มีหมายจับของศาลอาญา แต่ยังไม่เข้ามอบตัว ขณะที่ น.ส.ศศิธร โชคประสิทธิ์ ได้หลบหนีไปต่างประเทศ

สาระสำคัญของคดีที่สังคมกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดก็คือความเชื่อมโยงระหว่างนายศุภชัยและพระธัมมชโยหลังจากปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่านายศุภชัยได้โอนเช็คให้กับพระธัมมชโยจริง แต่ทางฝั่งพระธัมมชโยและทีมทนายก็ได้อ้างว่าพระธัมมชโยไม่เคยเห็นเช็ค  เนื่องจากว่ามีพระเลขาเป็นผู้ดำเนินการแทนทั้งหมด การกล่าวอ้างดังกล่าวของพระธัมมชโยและทีมนายถือเป็นสาระสำคัญของการต่อสู้คดี ว่าด้วยเรื่องของเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา ที่แม้ว่าจะมีการรับเช็คจริงก็ตาม แต่เมื่อไม่มีเจตนา ถือว่าไม่มีความผิดใช่หรือไม่

ประมวลกฎหมายอาญาหมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา

 

มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ โดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณี ที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มี เจตนา

กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและ ในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการ กระทำนั้น

 

ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะ ถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ นั้นมิได้

กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่ กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจัก ต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

 

การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย

เมื่อพิจารณาจากหมวด4 เรื่องความรับผิดในทางอาญา องค์ประกอบสำคัญเรื่องเจตนา ซึ่งก็ต้องไปพิสุทธิ์ว่าบุคคลที่รับโอนเงินมาจากนายศุภชัยมีเจตนาหรือไม่ หรือมีลักษณะที่กระทำไป ถือเป็นพฤติการณ์ย่อมเล็งเห็นผลหรือไม่

ทั้งนี้ถ้าหากว่าการกระทำของนายศุภชัยและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าองค์ประกอบ ก็จะถูกตั้งข้อกล่าวหาฉ้อโกงประชาชน ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงถึง3ปีเลยทีเดียว

ประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานฉ้อโกง

 

มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอก ลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทั้งนายศุภชัยและทนายของพระธัมมชโย จะพยายามออกมาให้ข่าวว่าพระธัมมชโยไม่ได้รู้เรื่องการโอนเงินดังกล่าว ซึ่งในความหมายก็คือว่า ไม่ได้มีเจตนารับเงินดังกล่าวนั่นเอง

พิจารณาจากข้อเท็จจริงรวมไปถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องการต่อสู้ของพระธัมมชโยในครั้งนี้ จึงเป็นการต่อสู้เรื่องของเจตนาว่าได้มีส่วนรู้เห็นกับการฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นรวมกับนายศุภชัยหรือไม่

อย่างไรก็ดีการต่อสู้ของพระธัมมชโยเรื่องการรับเช็คบริจาคด้วยวิธีการดังกล่าว อาจจะพอรับฟังได้ว่าพระธัมมชโยนั้นไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับคดีฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่นจริงๆ ถ้าหากว่าคนที่ถวายเงินไม่ใช่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่านายศุภชัยกับพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกาย มีความใกล้ชิดในระดับที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

ในการแถลงข่าวเมื่อวันที4 มิถุนายน2558ผู้สื่อข่าวทีนิวส์ได้สอบถามนายสัมพันธ์ เสริมชีพ ทนายความของวัดพระธรรมกาย ว่าพระธัมมชโยรู้จักกับนายศุภชัยหรือไม่ โดยนายสัมพันธ์ตอบว่า รู้จักในฐานะคนทำบุญทั่วไป

 

การตอบคำถามดังกล่าวของนายสัมพันธ์พบข้อพิรุจอย่างชัดเจน เพราะถ้าหากว่านายศุภชัยเป็นเพียงคนที่มาทำบุญธรรมดาๆทั่วไป เหตุใดพระธัมมชโยถึงตั้งให้นายศุภชัยเป็นไวยาวัจกร ซึ่งในที่นี่ผู้สื่อข่าวทีนิวส์ได้ถามไปยังนายสัมพันธ์ และนายสัมพันธ์เองได้ยอมรับว่าพระธัมมชโยเป็นผู้แต่งตั้งให้นายศุภชัยมาเป็นไวยาวัจกรจริง

 

แน่นอนว่าการที่พระธัมมชโยในฐานะเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้แต่งตั้งให้นายศุภชัยเป็นไวยาวัจกร เป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่านายศุภชัยไม่ใช่คนทำบุญธรรมดาทั่วไป เพราะไม่เช่นนั้นแล้วพระธัมมชโยคงไม่ไว้วางใจและมอบหมายตำแหน่งสำคัญอย่างไวยาวัจกรของวัดพระธรรมกายให้กับนายศุภชัย

เพราะฉะนั้นในวันนี้เราก็จะมาให้ข้อมูลเพื่อที่จะได้พิจารณาร่วมกันว่า จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏเหล่านี้ สรุปแล้วนายศุภชัยกับพระธัมมชโยรู้จักกันมาก่อน ในฐานะคนสนิทหรือเป็นแค่เพียงคนที่มาทำบุญธรรมดาๆทั่วไป

ย้ำกันอีกครั้งว่าใครก็ตามที่ได้เป็นไวยาวัจกรของวัดนั้นๆ ทั้งตามกฎหมาย กฎระเบียบและทำเนียมปฏิบัติจะเป็นที่รับทราบกันดีว่าบุคคลผู้นั้นจะมีความใกล้ชิดและเป็นหนึ่งเดียวกับเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ ซึ่งในรายของนายศุภชัยก็พระธัมมชโยก็ไม่น่าจะมีข้อยกเว้นไวยาวัจกรตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505

มาตรา 23 การแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระภิกษุอันเกี่ยวกับตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ตำแหน่งอื่นๆ และไวยาวัจกรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

มาตรา 45 ให้ถือว่า พระภิกุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวจักร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา

ไวยาวัจกรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

กรณีที่มีการมอบหมายให้ไวยาวัจกรดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินของวัด ไวยาวัจกรมีฐานะเป็น"ตัวแทน" ของวัดในการจัดการทรัพย์สินของวัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่(พ.ศ. 2535)

กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 8 ( พ.ศ. 2506) ว่าด้วยการแต่งตั่งถอดถอนไวยาวจักร

          

ข้อ 3 ในกฎมหาเถรสมาคมนี้  ไวยาวัจกร”  หมายถึง คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต  และมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินของวัด  ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ

หมวด 1

 

ข้อ 5 ในการแต่งตั้งไวยาวัจกรของวัดใด  ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ผู้มีคุณสมบัติตามความในข้อ 4 เมื่อมีมติเห็นชอบในคฤหัสถ์ผู้ใด ก็ให้เจ้าอาวาสสั่งแต่งตั้งคฤหัสถ์ผู้นั้นเป็นไวยาวัจกร โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ

 

ในการแต่งตั้งไวยาวัจกรตามความในวรรคต้น เพื่อความเหมาะสม จะแต่งตั้งไวยาวัจกรคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

 

ในกรณีที่มีไวยาวัจกรหลายคน ให้เจ้าอาวาสมอบหมายการงานแก่ไวยาวัจกรแต่ละคนเป็นหนังสือ

ขณะเดียวไวยาวัจกรที่ระบุตามกฎกระทรวง นั้นก็คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511)ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505

 

ข้อ 6 ให้เจ้าอาวาสจัดให้ไวยาวจักรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดซึ่งเจ้าอาวาสแต่งตั้งทำบัญชีรับจ่ายเงินของวัดและเมื่อสิ้นปีปฏิทินให้ทำบัญชีเงินรับจ่ายและคงเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าอาวาสตรวจตราดูแลให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและถูกต้อง

ข้อ 7 ในกรณีที่วัดเจ้าอาวาสไวยาวจักรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดถูกฟ้องหรือถูกหมายเรียกเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ในเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เจ้าอาวาสแจ้งต่อกรมการศาสนา หรือศึกษาธิการจังหวัด ที่วัดตั้งอยู่ให้ทราบไม่ช้ากว่า ห้าวันนับแต่วันรับหมาย

นอกจากเนื้อหาอันเป็นเรื่องยืนยันไวยาวัจกรกับเจ้าอาวาสของวัดนั้นๆ จะมีความเกี่ยวพันกันทั้ง ทางด้านกฎหมาย กฎระเบียบ อย่างชัดเจนแล้ว ในพระธรรมวินัยก็ได้เล่าให้ฟังถึงบทบาทหน้าที่ความสัมพันธ์ระหว่างไวยาวัจกรกับเจ้าอาวาสเอาไว้ได้อย่างเก็นภาพว่าทั้ง2บุคคลจะต้องมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างยิ่ง

ตอนหนึ่งตามพระวินัย มีไวยาวัจกร ที่ปรากฏในสิกขาบทที่ 10 จีวรวรรคที่ 1 นิสัคคิยปาจิตตีย์ 3 ความว่า"ถ้าใคร ๆ นำทรัพย์มาเพื่อค่าจีวรแล้วถามภิกษุว่า ใครเป็นไวยาวจักรของเธอ ถ้าภิกษุต้องการจีวรก็พึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกว่า ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย

ครั้นเขามอบหมายไวยาวจักรนั้นแล้ว สั่งภิกษุว่าถ้าต้องการจีวร ให้เข้าไปหาไวยาวัจกร ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาเขาแล้วทวงว่า เราต้องการจีวรดังนี้ได้ 3 ครั้ง ถ้าไม่ได้จีวรไปยืนแต่พอเขาเห็นได้ 6 ครั้งถ้าไม่ได้ขืนไปทวงให้เกิน 3 ครั้ง ยืนเกิน 6 ครั้งได้มาต้องนิสัคคิยปาจิตตีย์

 

ถ้าไปทวงและยืนครบกำหนดแล้วไม่ได้จีวรจะต้องไปบอกเจ้าของเดิมว่า ของนั้นไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่ตน ให้เขาเรียกเอาของเขาคืนมาเสีย

อธิบายความตามวินัยมุข 4 เล่ม 1 กัณฑ์ที่ 6 สิกขาบทที่ 10 ว่า อนึ่ง พระราชาก็ดีราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี คฤหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่ายจีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้ว ยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าทูตนั้น เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร

ภิกษุนั้น พึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวร พึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสก ให้เป็นไวยาวัจกรด้วยคำว่า คนนั้นแลเป็นไวยาวจักรของพระภิกษุทั้งหลายถ้าทูตนั้น สั่งไวยาวัจกรนั้น ให้เข้าใจแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล

ภิกษุผู้ต้องการจีวร เข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวงพึงเตือน 2-3 ครั้งว่า เราต้องการจีวร ภิกษุ ทวงอยู่เตือนอยู่2-3 ครั้งยังไวยาวัจกรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั้นเป็นดีถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงเข้าไปยืน นิ่งต่อหน้า 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6 ครั้ง เป็นอย่างมากยังไวยาวัจกรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้

การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั้นเป็นดีถ้าให้สำเร็จไม่ได้ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ดี ส่งทูตไปก็ดีในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมา เพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะภิกษุใด ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่ ท่านจงทวงเอาคืนทรัพย์ของท่าน ทรัพย์ของท่านอย่าง ได้ฉิบหายเสียเลย. นี้เป็นสามีจิกรรม.(คือการชอบ) ในเรื่องนั้น

จากเรื่องราวที่ปรากฏในพระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆก็ยืนยันชัดเจนว่าไวยาวัจกรกับเจ้าอาวาส มีความสนิทสนมกันเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นตามหลักการนี้ นายศุภชัยกับพระธัมมชโยก็ต้องมีความสนิทสนมกันอย่างแนบแน่นใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นการที่ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ ทนายความของวัดพระธรรมกาย ออกมาระบุว่าพระธัมมชโยรู้จักกับนายศุภชัยในฐานะที่เป็นคนทำบุญทั่วไปจึงไม่น่าที่จะสอดคลองกับความเป็นจริง แล้วเพราะเหตุใดทนายความของพระธัมมชโยจึงออกมากล่าวเช่นนั้น ดังนั้นก็จะต้องมีการพิสูจน์ว่าเป็นความพยายามเพียงเพื่อจะต่อสู้คดีในเรื่องของเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญาตามมาตรา59 ใช่หรือไม่

อีกหนึ่งหลักฐานสำคัญที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ ถ้าหากว่าไล่เรียงดูบทบาทของนายศุภชัยกับวัดพระธรรมกายก็คือการที่วัดพระธรรมกายได้ยกย่องให้นายศุภชัยเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของวัด จนเคยได้รับเกียรติครั้งสำคัญที่สุดด้วยการเป็นประธานทอดกฐินเมื่อปี2552 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงปีที่พบว่านายศุภชัยได้โอนเงินจำนวนหลายร้อยล้านบาทไปยังพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกาย

เป็นที่ทราบกันดีว่าการทำบุญด้วยการทอดผ้ากฐินถือว่าเป็นการทำบุญครั้งใหญ่ของวัดนั้นๆ ซึ่งในแต่ละปีก็มีการจัดได้แค่เพียง1ครั้ง และจะเป็นที่ทราบกันดีว่าวัดพระธรรมกายจะมีการประชาสัมพันธ์และจัดงานทอดผ้าพระกฐินอย่างยิ่งใหญ่มาโดยตลอด

ยกตัวอย่างประโยคประชาสัมพันธ์ของวัดพระธรรมกายที่ระบุว่า ครั้งหนึ่งในชีวิต..เราต้องเป็นประธานกองกฐินให้ได้ พร้อมกับให้คำขยายความเพิ่มเติมว่า บางคนบอกว่า.. "ขอให้มีเงินเถิด จะทอดกฐินเมื่อไรก็ทอดได้"

 

อีกทั้งยังบอกต่อว่า.. "เรารวยและมีศรัทธาจะกลัวอะไร

 

ถ้าเราเตรียมปัจจัยและผ้าไตรไว้ให้มาก ๆ

 

อย่างไรที่วัดเขาก็ต้องรับเราเป็นประธานกองกฐินอยู่ดี"

 

แต่เชื่อไหม?...ความคิดเช่นนี้ถือเป็นความเข้าใจที่ผิดมาก !!!

เนื่องจากการทำบุญทอดกฐินมีข้อจำกัดหลายประการ ไม่ได้ทำกันได้ง่าย ๆอีกทั้งยังเป็นบุญที่ไม่สามารถทำได้ทุกวันหรือไม่ใช่นึกอยากจะทอดกฐินวันไหนก็ทำได้เนื่องจากวัดหนึ่งสามารถรับกฐินได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น

ฉะนั้น การทอดกฐินและถวายผ้าไตรจีวรจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ถวายไม่ได้ เพราะสักวันหนึ่งในอนาคตหรือชาติใดชาติหนึ่งเราก็ต้องเป็นนักบวช

พิจารณา โดยสังเกตก็หมายความว่าใครก็ตามที่ได้เข้าไปเป็นประธานในการทอดผ้าพระกฐินของวัดพระธรรมกาย จะเป็นคนที่มีความสำคัญมาก โดยที่ผ่านมาก็จะปรากฏรายชื่อของลูกศิษย์ระดับแถวหน้าที่เคยผ่านการเป็นประธานทอดผ้าพระกฐินของวัดพระธรรมกายมาแล้ว อาทิเช่น นายบุญชัย เบญจรงคกุล นายอนันต์ อัศวโภคิน และนายวัชระ ศรีโรจน์ เพราะฉะนั้นเมื่อนายศุภชัยได้ขึ้นแท่นเป็นประธานทอดผ้าพระกฐินนั้น ก็เป็นเครื่องการันตีว่านายศุภชัยนั้นได้จัดเป็นรู้ศิษย์ระดับแถวหน้าอย่างแน่นอน

การขึ้นแท่นเป็นประธานกฐินปี2552ของนายศุภชัย ได้รับการยกย่องจากวัดพระธรรมกายเป็นอย่างยิ่งโดยได้มีการจัดทำหนังสือสัมภาษณ์พิเศษนายศุภชัยขึ้นมา มีชื่อว่าประธานกฐินปี52 ผมมีวันนี้เพราะคุณยาย ขั้นตอนการก้าวขึ้นทำเนียบเศรษฐีของศุภชัย ศรีศุภอักษร

ในการให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายศุภชัยของหนังสือเล่มดังกล่าว ยังได้พูดถึงความใกล้ชิดที่มีต่อพระธัมมชโย เอาไว้ดังต่อไปนี้ที่ผ่านมา ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเมตตาฝันในฝันให้ผม ปรากฏว่า ชาติที่แล้วผมเข้าวัดมาเจอหมู่คณะตอนที่เขาสร้างวัดสร้างอะไรกันเสร็จหมดทุกอย่างแล้ว เลยไม่ทันทำบุญสร้างอะไรกับเขา และอย่างดีที่สุดก็ได้ไปทำบุญสร้างวัดสาขา จึงส่งผลทำให้ชาตินี้ผมรวยช้ามาก พอผมรู้อย่างนี้ ก็รู้สึกโชคดีมากๆ ที่ชาตินี้ได้เข้าวัดในช่วงที่อะไรหลายๆ อย่างยังสร้างไม่เสร็จ ผมจึงชิงช่วงทุ่มทำบุญเต็มที่

โดยเฉพาะการสร้างอาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์ฯครั้งนี้ เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่เนื่องกับคุณยายอาจารย์ชิ้นสุดท้ายแล้ว ผมจึงทุ่มทำอย่างสุดกำลัง อย่างชนิดที่ว่าไม่เคยทำบุญมากขนาดนี้มาก่อน เพราะไม่อยากพลาดโอกาสเหมือนชาติที่แล้วอีก ผมจึงอยากจะบอกทุกท่านว่า โอกาสมารออยู่ข้างหน้าแล้ว หากเรารอให้พร้อม เราอาจพลาดบุญใหญ่ที่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น เหมือนผมในชาติที่แล้ว

ดังนั้น อย่ารอช้าเลยครับ ถ้าเขาสร้างเสร็จแล้ว แม้เรามีเงินมากตอนนั้น ก็ไม่มีความหมาย เพราะอานิสงส์ของการสร้างอาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์ฯนี้ ได้บุญมหาศาลเกินกว่าที่เราจะคาดถึงจริง ๆ คือ บุญจากการสร้างอาคารหลังนี้จะตามอารักขาเรา ให้เรามีความพร้อมในการสร้างบารมีในทุกด้าน ใครที่มาใช้อาคารนี้ เราก็ได้บุญกับเขาทั้งหมด แม้เราไม่ได้ทำเอง เพราะการให้สถานที่ ขึ้นชื่อว่าให้ทุกสิ่ง อีกหน่อยใครดู DMC ใครอ่านวารสารอยู่ในบุญ อ่านหนังสือธรรมะเล่มใดเล่มหนึ่ง แล้วเปลี่ยนแปลงเป็นคนดี เราก็จะได้บุญกับเขาอย่างไม่รู้จบ

ที่สำคัญที่สุด..การทำบุญครั้งนี้ได้บุญมาก เนื่องจากเป็นบุญกฐิน ซึ่งจัดว่าเป็นกาลทาน อีกทั้งยังเป็นการแสดงความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ที่มีคุณวิเศษทั้งสองท่าน คือ หลวงพ่อและคุณยายอาจารย์ และที่สำคัญการสร้างสิ่งนี้ยังเป็นบุญที่เรียกว่า วิหารทาน ที่จัดว่าเป็นเลิศแห่งทาน เพราะถือว่าให้ทุกสิ่ง

 

และวิหารทานในที่นี้ ก็จะใช้เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม ที่จะทำให้เรามีปัญญาอันไม่มีประมาณ แตกฉานทั้งทางโลกและทางธรรม

จากข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลนี้ น่าที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้แล้วหรือไม่ ว่านายศุภชัยกับพระธัมมชโยมีความรู้จักถึงขั้นสนิทสนม แล้วเพราะเหตุใดทนายความของพระธัมมชโยถึงออกมาระบุว่านายศุภชัยเป็นแค่เพียงคนทำบุญธรรมดาๆทั่วไป แสดงให้เห็นถึงข้อพิรุธในการให้ข้อมูลทางคดีกับพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนพิเศษดีเอสไอใช่หรือไม่