ฉบับเต็ม!!! รายงานสตง.สอบการระบายข้าวยุค"ยิ่งลักษณ์"...พบจุดพิรุธส่อโกงอื้อ??

ติดตามรายละเอียด www.tnews.co.th

      เมื่อเร็ว ๆ นี้  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  ได้เผยแพร่รายงานการตรวจสอบการระบายข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ปีการผลิต 2554/55-2556/57 กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

 

     รัฐบาล (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) มีนโยบายเร่งด่วนในการดําเนินการยกระดับราคาสินค้าเกษตรโดยนําระบบการจํานํา สินค้าเกษตรมาใช้เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านรายได้ให้เกษตรกร โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้พิจารณาอนุมัติกรอบวงเงินในการดําเนินงานโครงการรับจํานําข้าว เปลือก ตั้งแต่ปีการผลิต2554/55 ปี 2555 ปี 2555/56 และปี 2556/57 รวมทั้งสิ้น 1,470,698.22 ล้านบาท

 

     ซึ่งการดําเนินงานโครงการดังกล่าวทําให้รัฐบาลมีปริมาณข้าวในคลังสินค้าจํานวนมาก จึงต้องดําเนินการระบาย   โดยคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานและอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นเลขานุการ ทําหน้าที่พิจารณาหลักเกณฑ์วิธีการ ชนิด ปริมาณ และเงื่อนไขการจําหน่ายข้าวสารในโกดังกลางที่แปรสภาพจากข้าวเปลือกตามโครง การรับจํานําข้าวเปลือกของรัฐบาลรวมทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารอื่น ๆ ที่คงเหลือของรัฐบาล ที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อตลาดโดยรวมและกํากับดูแลแก้ไขปัญหาในทาง ปฏิบัติเกี่ยวกับการระบายข้าวดังกล่าว ตลอดจนพิจารณากําหนดวิธีการระบายข้าวได้ตามความจําเป็นซึ่งที่ผ่านมาคณะ อนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวได้เห็นชอบให้มีการระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาล อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆเช่น ขายแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ขายเป็นการทั่วไปให้กับผู้ประกอบการในประเทศ ขายให้องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

     สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตระหนักถึงความสําคัญจึงได้เลือกตรวจสอบการระบายข้าวตามโครงการรับจํานํา ข้าวเปลือกของรัฐบาล ปีการผลิต 2554/55 – 2556/57 ด้วยวิธีขายแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) และขายเป็นการทั่วไปให้กับผู้ประกอบการในประเทศ เพื่อให้ทราบถึงผลการดําเนินงานและปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องที่เกิดจากการดํา เนินงาน เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อไป

 

จากการตรวจสอบ มีประเด็นข้อตรวจพบและข้อสังเกตที่สําคัญ ดังนี้

 

ข้อตรวจพบที่ 1 การระบายข้าวด้วยวิธีเจรจาขายแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) มีระบบการควบคุมภายในที่ยังไม่มีความรัดกุม และเพียงพอ

     จากการตรวจสอบสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อ รัฐในเทอม Ex-warehouse จํานวน 7 ฉบับ ปริมาณรวม 18.268 ล้านตัน พบว่า ระบบการควบคุมภายในยังไม่มีความรัดกุมและเพียงพอโดยมีความเสี่ยงในการจัดทํา สัญญาซื้อขายการส่งมอบข้าวให้กับตัวแทนที่ได้รับมอบอํานาจจากผู้ซื้อการเบิก จ่ายข้าวและการกําหนดคลังสินค้าเพื่อจ่ายข้าวตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขาย มีรายละเอียดดังนี้

 

1.สัญญาซื้อขายบางฉบับมีรายละเอียดเงื่อนไขสําคัญในบางรายการแตกต่างจากผลการเจรจาซื้อขายตามที่ประธาน อนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวได้ให้ความเห็นชอบ

    

      จากการตรวจสอบ พบว่าสัญญาซื้อขายจํานวน 3 ฉบับ ได้กําหนดในเงื่อนไขการส่งมอบให้ผู้ซื้อนําข้าวที่ได้รับมอบภายใต้สัญญาไป ใช้สําหรับการบริโภคภายในประเทศผู้ซื้อเป็นหลัก โดยผู้ซื้ออาจ นําข้าวที่ได้รับมอบภายใต้สัญญาไปขายหรือบริจาคให้กับประเทศที่สามได้ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวแตกต่างจากผลการเจรจาซื้อขายที่ประธานอนุกรรมการ พิจารณาระบายข้าวได้เห็นชอบตามที่ผู้ซื้อแจ้งความประสงค์เสนอขอซื้อข้าว เพื่อนําไปใช้ภายในประเทศหรือเพื่อการบริจาค

     นอกจากนี้สัญญาซื้อขายอีก 4 ฉบับ ได้กําหนดเงื่อนไขการส่งออกให้ผู้ซื้อนําข้าวที่ได้รับมอบไปใช้สําหรับการ บริโภคภายในประเทศผู้ซื้อเป็นหลักและอาจขายหรือบริจาคให้กับประเทศที่สามได้

     อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลรายงานการส่งออกข้าวที่ผู้ซื้อรายงาน กรมการค้าต่างประเทศภายใต้สัญญาซื้อขายทั้ง 7 ฉบับ จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2557 พบว่าข้าวที่มีการรับมอบภายใต้ สัญญาจํานวนถึง 6 ฉบับ ไม่มีการรายงานการส่งออกไปยังประเทศผู้ซื้อ แต่มีการรายงานการส่งออกไปยังประเทศที่สามเป็นส่วนใหญ่ โดยเป็นการส่งออกไปยังทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นตลาดข้าวที่สําคัญของประเทศไทยถึง ร้อยละ 48.60 ของปริมาณข้าวที่ได้รับมอบและขนย้ายทั้งหมด ซึ่งอาจส่งผลต่อผู้ส่งออกข้าวไทยและการรักษาส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในตลาดต่าง ประเทศ

2.สัญญาซื้อขายบางฉบับมีการแก้ไขรายละเอียดเงื่อนไขสําคัญภายใต้การพิจารณาที่อาจยังไม่รัดกุม เพียงพอ

     จากการตรวจสอบ พบว่า สัญญาซื้อขาย จํานวน 4 ฉบับ มีการแก้ไขรายละเอียดเงื่อนไขสําคัญเกี่ยวกับชนิดข้าว ปริมาณข้าว ระยะเวลาการรับมอบ และวิธีการชําระเงิน โดยจัดทําเป็นข้อบทแก้ไขเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายข้าว (Amendment) จํานวน 11 ครั้ง ซึ่งการแก้ไข ในบางเรื่องเป็นการแก้ไขในสาระสําคัญ ได้แก่ ชนิดข้าวและปริมาณข้าว ซึ่งประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่อง ดังกล่าวตามที่กรมการค้าต่างประเทศเสนอ โดยยังไม่ปรากฏการพิจารณาในรูปของคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางาน เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการดําเนินการเนื่อง จากการแก้ไขเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายแต่ละครั้ง มีผลต่อการระบายข้าวทั้งชนิด ปริมาณ และราคาที่จําหน่าย ซึ่งอาจส่งผลต่อการได้เปรียบเสียเปรียบหรือสถานการณ์ตลาดข้าวได้

 

3.สัญญาซื้อขายยังไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการรายงานการส่งออกข้าว หรือกําหนดแต่ไม่มีการจัดส่งรายงานหรือมีการจัดส่งล่าช้า

     จากการตรวจสอบ พบว่าสัญญาซื้อขายจํานวน3 ฉบับยังไม่มีการ กําหนดเงื่อนไขการรายงานการส่งออกข้าวภายใต้สัญญาซื้อขายส่วนสัญญาซื้อขาย อีก 4 ฉบับ มีการกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ซื้อต้องรายงานผลการส่งออกข้าวให้กรมการค้าต่าง ประเทศทราบเป็นรายไตรมาส แต่การ รายงานดังกล่าวยังไม่มีการกําหนดรูปแบบข้อมูลที่จําเป็นต้องรายงานและรายการ เอกสารที่ต้องจัดส่งที่ใช้เป็นหลักฐานแสดงการส่งออก เพื่อให้สามารถควบคุมติดตามการดําเนินการส่งออกของผู้ซื้อได้อย่างรัดกุม

 

     นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ซื้อตามสัญญา จํานวน 1 ฉบับ ไม่มีการรายงานการส่งออกข้าวให้กรมการค้าต่างประเทศทราบ ส่วนสัญญาซื้อขายอีก 3 ฉบับ มีการรายงานการส่งออกข้าว แต่ยังล่าช้าไม่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการรายงานข้อมูลการส่งออกข้าวในภาพรวมเป็นรายทวีป ไม่ได้จําแนกเป็นประเทศผู้ซื้อและประเทศที่สาม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการควบคุมตรวจสอบให้เป็นไปตามรายละเอียดเงื่อนไขใน สัญญา และเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการบริหารจัดการการระบายข้าวต่อไป

 

4. กรมการค้าต่างประเทศไม่ได้ส่งเอกสารสําคัญแสดงการมอบอํานาจให้ตัวแทนดําเนิน การในการรับมอบข้าวแทนของผู้ซื้อให้กับองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อกษตรกร(อ.ต.ก.)

 

     จากการตรวจสอบ พบว่า กรมการค้าต่างประเทศมีเพียงหนังสือแจ้งองค์การคลังสินค้า (อคส.)หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้จ่ายข้าวในคลังสินค้าให้แก่ตัวแทนที่ได้รับมอบอํานาจจากผู้ซื้อโดย ไม่มีการจัดส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ซื้อ เช่น หนังสือแต่งตั้งตัวแทนของผู้ซื้อ หนังสือแต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลเพื่อกระทําการแทนบริษัทที่ได้รับแต่งตั้ง จากผู้ซื้อ สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือตัวอย่างลายมือชื่อของตัวแทน เพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการยืนยันตัวบุคคลผู้มีอํานาจในการรับมอบและขน ย้ายข้าวออกจากคลังสินค้า ทําให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าตัวแทนผู้มารับมอบข้าวเป็นผู้ที่ได้รับมอบอํานาจจริงและถูกต้องหรือไม่

 

5.การควบคมการเบิกจ่ายข้าวในสัญญาซื้อขายบางฉบับไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนด

     จากการตรวจสอบ พบว่า กรมการค้าต่างประเทศได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายกับ GUANGDONGSTATIONARY & SPORTING GOODS IMP. & EXP. CORP. (GSSG IMP. & EXP. CORP.) จํานวน 2 ฉบับ โดยสัญญาฉบับที่ 2              กําหนดเงื่อนไขให้ผู้ซื้อต้องรับมอบข้าวชนิดเดียวกันกับในสัญญาฉบับแรกตาม จํานวนที่กําหนดก่อน จึงจะสามารถขอรับมอบข้าวชนิดเดียวกันในสัญญาฉบับที่ 2 ได้เนื่องจากราคาตกลงซื้อขายของสัญญาฉบับที่ 2 ต่ํากว่าสัญญาฉบับแรก

แต่ปรากฏว่าเพียง วันที่ 31 พฤษภาคม 2557 ผู้ซื้อมีการขอ รับมอบข้าวตามสัญญาฉบับที่ 2 ในขณะที่ยังรับมอบข้าวชนิดเดียวกันตามสัญญาฉบับแรกไม่ครบตามจํานวนที่กําหนด ทําให้รัฐสูญเสียเงินรายได้ที่ต่ำกว่าที่ควรได้รับเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 789.38 ล้านบาท

6. การกําหนดคลังสินค้าเพื่อจ่ายข้าวไม่เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขาย

 

     จากการตรวจสอบพบว่าสัญญาซื้อขายกําหน ดเงื่อนไขให้กรมการค้าต่างประเทศในฐานะผู้ขายเป็นผู้กําหนดคลังสินค้าและ แจ้งรายชื่อคลังสินค้าให้ผู้ซื้อทราบ แต่ปรากฏว่ากรมการค้าต่างประเทศไม่ได้เป็นผู้กําหนดคลังสินค้าที่จะจ่ายข้าว เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ แต่แจ้งเป็นการภายในให้ผู้ซื้อประสานรายชื่อคลังสินค้ากับองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เองโดยตรง เพื่อกําหนดคลังสินค้าที่จะขอรับมอบข้าวตามสัญญา ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงในการควบคุมและทําให้เกิดความเสียเปรียบกับคู่สัญญา ได้การระบายข้าว ด้วยวิธีการเจรจาขายแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) มีระบบการควบคุมที่ยังไม่มีความรัดกุมและเพียงพอ ย่อม ส่งผลทําให้อาจเกิดความผิดพลาดในการดําเนินงานต่าง ๆ เช่น การเบิกจ่ายข้าวที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในสัญญาซึ่งทําให้รัฐสูญ เสียเงินรายได้ที่ต่ํากว่าที่ควรได้รับเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า789.38 ล้านบาท และอาจทําให้รัฐเกิดการเสียเปรียบกับคู่สัญญาจากการกําหนดคลังสินค้าเพื่อ จ่ายข้าวที่ไม่ เป็นไปตามเงื่อนไข รวมทั้งส่งผลกระทบต่อแผนการระบายข้าว การรักษาส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และการเสียเปรียบในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย

 

     โดยสาเหตุสําคัญที่ทําให้ระบบการควบคุม ยังไม่รัดกุมเพียงพอ เนื่องมาจากกรมการค้าต่างประเทศยังไม่มีแนวทางในการส่งร่างสัญญาซื้อขายข้าว แบบรัฐต่อรัฐให้หน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายหรือร่างสัญญา เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการทํา สัญญาซื้อขาย การพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทําสัญญาซื้อขายและการขอแก้ไขเงื่อนไขใน สัญญาซื้อขายยังไม่มีการดําเนินการในรูปคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานอย่าง เป็นรูปธรรม การกําหนดเงื่อนไข รูปแบบการรายงานการส่งออกข้าวและการติดตามการส่งรายงานการส่งออกข้าวไปนอก ราชอาณาจักร ยังไม่มีการกําหนดแนว ทางปฏิบัติและการควบคุมติดตามการดําเนินงานนอกจากนี้ตามแนวทางการระบายข้าว ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554 ได้กําหนดให้ดําเนินการระบายข้าวในทางลับ ไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนรวมทั้งไม่เปิดเผยข้อมูลปริมาณข้าวในสต็อกของรัฐบาล จึงทําให้กลุ่มงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเจรจาขาย แบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ไม่ได้ส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับกลุ่มงานอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบในขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ควบคุมตรวจสอบการดําเนินงานให้เกิดความถูกต้อง

 

ข้อเสนอแนะ

     สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีข้อเสนอแนะให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศพิจารณาดําเนินการดังนี้

1. กําหนดแนวทางในการส่งร่างสญญาซื้อขายขาวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายหรือร่างสัญญา โดยควรหารือสํานักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการส่งร่างสัญญาซื้อขายข้าวดังกล่าว ว่ามีผลที่ต้องดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2535 ซึ่งแจ้งโดยหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร 0206/ว 138 ลงวันที่ 9 กันยายน 2535 ในการนําส่งให้อัยการ สูงสุดเพื่อตรวจพิจารณาร่างสัญญาด้วยหรือไม่ เพื่อให้เกิดความรัดกุม และป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ

2. พิจารณาทบทวนแนวทางการพิจารณาจดทำสัญญาและการแก้ไขเงื่อนไขในสัญญาซื้อขาย ข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) เพื่อให้เกิดความรัดกุมรอบคอบ โปร่งใสเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลเช่นเดียวกับวิธีขายเป็นการทั่วไป โดยเฉพาะการพิจารณาในรูปคณะทํางานหรือคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพิจารณากําหนดหลักการในการเสนอและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับเงื่อนไข การส่งออกข้าวไปยังประเทศที่สามเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ โดยไม่ควรทําสัญญาในเทอมEx-warehouse เช่นเดียวกับกรณี 7 สัญญานี้อีก

3. กําหนดแนวทางปฏิบัติและการควบคุมติดตามการดําเนินการตามสัญญาซื้อขายข้าวแบบ รัฐต่อรัฐ (G to G) โดยเฉพาะการกําหนดเงื่อนไขและรูปแบบการรายงานการส่งออกข้าว และการติดตามการดําเนินการตามเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญา เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปอย่างถูกต้องตามสัญญา

4. พิจารณาทบทวนแนวทางการระบายข้าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลที่ จําเป็นต่อ   การดําเนินงาน เพื่อให้กลุ่มงานอื่นภายในหน่วยงานและหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง     สามารถนําข้อมูลสําคัญที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนไปใช้ ประโยชน์ในการสอบยันหรือตรวจสอบความถูกต้องได้โดยอาจกําหนดเป็นชั้นความลับ ตามความสําคัญ

5. ดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีมีการเบิกจ่ายข้าวไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ในสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) และทําให้รัฐสูญเสียเงินรายได้ที่ต่ํากว่าที่ควรได้รับเป็นมูลค่าไม่น้อย กว่า789.38 ล้านบาท หากพบการกระทําผิดให้ดําเนินการตามควรแต่กรณี

 

ข้อ ตรวจพบที่ 2 การระบายข้าวด้วยวิธีขายเป็นการทั่วไปให้กับผู้ประกอบการในประเทศยังดําเนินการได้ต่ำกว่าปริมาณข้าวตามประกาศเชิญชวนและไม่สอดคล้องกับการจัดการคลัง สินค้าที่ดี

     จากการตรวจสอบ พบว่า การระบายข้าวด้วยวิธีดังกล่าวยังดําเนินการได้ต่ำกว่าปริมาณข้าวตามประกาศ เชิญชวนและไม่สอดคล้องกับการจัดการคลังสินค้าที่ดีซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.ปริมาณข้าวที่จําหน่ายด้วยวิธีขายเป็น การทั่วไปดําเนินการได้ต่ำกว่าปริมาณข้าวตามประกาศหรือหนังสือเชิญชวน ประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวได้อนุมัติให้จําหน่ายข้าวด้วยวิธีขายเป็น การทั่วไปให้กับผู้ประกอบการในประเทศ จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 ได้จํานวนทั้งสิ้นเพียง 4.320 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 48.68 ของปริมาณข้าวตามประกาศหรือหนังสือเชิญชวนทั้งหมด 8.875 ล้านตัน โดยเป็นการระบายด้วยวิธีการออกประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจเสนอชนิด ปริมาณและราคาซื้อข้าวสารเพื่อการส่งออกโดยให้ยื่นเสนอซื้อภายในเวลาที่ กําหนด (เปิดประมูล) จํานวน 1.177 ล้านตัน และวิธีให้ผู้ส่งออกที่มีคําสั่งซื้อข้าวในปริมาณมากเสนอซื้อข้าวในสต็อก รัฐบาล จํานวนถึง 3.143ล้านตัน

2. การระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลยังไม่สอดคล้องกับการจัดการสินค้าคงคลังที่ดี คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวมีแนวทางการระบายข้าวโดยให้เร่งระบายข้าว เปลือกและข้าวสารเก่าในสต็อกของรัฐบาลที่มีอายุการเก็บรักษามากกว่า 2 ปี แต่ปรากฏว่ามีคลังสินค้าหรือไซโลคงเหลือที่มีการจัดเก็บข้าวสารปีการผลิต 2554/55 และปี 2555 ซึ่งเป็นข้าวสารที่มีอายุการจัดเก็บเกินกว่า 2 ปีเพียงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 จํานวน 606 แห่ง โดยมีคลังสินค้าหรือไซโลที่ยังไม่เคยได้รับคัดเลือกให้ ประกาศขาย จํานวน 122 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 20.13 ของคลังสินค้าคงเหลือที่มีการจัดเก็บ ข้าวสารปีการผลิต 2554/55 และปี 2555 และมีปริมาณข้าวสารในคลังสินค้าดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 25.79 ของปริมาณข้าวสารคงเหลือในปีการผลิต 2554/55 และปี 2555 ซึ่งชนิดข้าวโดยส่วนใหญ่ ได้แก่ข้าวขาว 5% ปลายข้าว และข้าวท่อนหอมมะลิ 

 

     การระบายข้าวด้วยวิธีการขายเป็นการทั่ว ไปให้กับผู้ประกอบการในประเทศยังดําเนินการได้ต่ำกว่าปริมาณข้าวตามประกาศ เชิญชวนและไม่สอดคล้องกับการจัดการคลังสินค้าที่ดีย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพ ข้าวในคลังสินค้าที่อาจเกิดปัญหาข้าวเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการจัดเก็บ และทําให้มีต้นทุนในการบริหารคลังสินค้าและการเก็บรักษาที่เพิ่มสูงขึ้นตาม ระยะเวลาการเก็บรักษาซึ่งคลังสินค้าหรือไซโลจํานวน 122 แห่ง มีค่าเช่าคลังจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 ประมาณ 499.34 ล้านบาท และยังมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาด้านอื่น ๆเช่น ค่ารมยาอบยาค่าผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวค่าเบี้ยประกันสินค้า เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่จะส่งผลต่อการขาดทุนของโครงการที่อาจจะ เพิ่มขึ้นได้โดยมีสาเหตุสําคัญเนื่องจากผู้ประกอบการค้าข้าวขาดความเชื่อ มั่นในเรื่องคุณภาพข้าว และการประกาศขายในแต่ละครั้ง เป็นการขายแบบรายคลังซึ่งมีปริมาณข้าวมาก ทําให้อาจต้องรับภาระความเสี่ยงเรื่องคุณภาพของข้าว จํานวนมากที่ประมูลได้ และยังทําให้ผู้ประกอบการค้าข้าวรายย่อยไม่สนใจเข้าร่วมประมูล เนื่องจากข้าว มีปริมาณมากเกินความต้องการและเงินทุนของผู้ประกอบการ การกําหนดให้ผู้ส่งออกที่มีคําสั่งซื้อข้าว ปริมาณมากจากต่างประเทศสามารถ เสนอซื้อข้าวในสต็อกรัฐบาลได้ในช่วงเวลาเดียวกันกับการเปิดให้มีการประมูล ข้าวในสต็อกรัฐบาล ทําให้ผู้ส่งออกรายใหญ่ไม่สนใจเข้าร่วมประมูลซื้อข้าวรวมทั้งผลิตภัณฑ์ข้าว บางชนิดที่กําหนดให้สีแปรสภาพส่งมอบเข้าคลังสินค้ามีการเสื่อมสภาพค่อนข้าง เร็ว ซึ่งยังไม่มีการนําปัจจัยด้านคุณลักษณะทางกายภาพของข้าวแต่ละชนิดดังกล่าวมา พิจารณา ทําให้ข้าวบางชนิดเกิดการ เสื่อมสภาพตามระยะเวลาก่อนการประกาศขาย นอกจากนี้การคัดเลือกคลังสินค้าที่จะระบายข้าวมิได้พิจารณาเกี่ยวกับปัจจัย ด้านระยะเวลาก่อน–หลังของการรับมอบข้าวเข้าคลังสินค้าของข้าวปีการผลิตเดียว กัน และต้นทุนในการบริหารคลังสินค้า รวมทั้งผังการจัดกองข้าวในคลังสินค้า มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาระบายข้าวตามหลักการจัดการสินค้าคงคลังที่ดี

ข้อเสนอแนะ

 

     สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศพิจารณาดําเนินการดังนี้

 

1. พิจารณาแนวทางปฏิบัติให้หน่วยงานระดับพื้นที่ โดยเฉพาะคณะอนุกรรมการติดตามกํากับดูแลการรับจํานําระดับจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลกับคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวเกี่ยวกับ สภาพข้าวในคลังสินค้า ความต้องการซื้อข้าวในคลังสินค้าของผู้ประกอบการค้าข้าวในเขตพื้นที่ความรับ ผิดชอบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลตามสภาพจริงในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งให้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับผู้ประกอบการค้า ข้าว โดยเฉพาะข้อมูลด้านคุณภาพข้าวในคลังสินค้าที่มีการประกาศขายที่อยู่ในเขต พื้นที่ความรับผิดชอบ



2. ในโอกาสต่อไปหากมีกําหนดให้ผู้ส่งออกที่มีคําสั่งซื้อข้าวปริมาณมากจากต่าง ประเทศสามารถเสนอซื้อข้าวในสต็อกรัฐบาล ควรกําหนดช่วงเวลาในการดําเนินการที่ไม่ตรงกับระยะเวลาในการประกาศเชิญชวน ให้ผู้สนใจยื่นเสนอราคาซื้อข้าวสารในสต็อกของรัฐบาล (เปิดประมูล) เพื่อให้ผู้ส่งออกสนใจเข้าร่วมประมูลซื้อขายข้าวตามประกาศเชิญชวน

 

3. การคัดเลือกคลังสินค้าที่จะระบาย ควรพิจารณานําปัจจัยด้านคุณลักษณะทางกายภาพของข้าวแต่ละชนิด ระยะเวลาก่อน–หลังของการรับมอบข้าวเข้าคลังสินค้าของข้าวปีการผลิตเดียวกัน ต้นทุนในการบริหารคลังสินค้าและผังการจัดกองข้าวในคลังสินค้ามาเป็นหลัก เกณฑ์เพิ่มเติมประกอบการพิจารณาเพื่อให้เป็นไปตามหลักการบริหารสินค้าคงคลัง ที่ดีและเป็นการลดความเสียหายของปัญหาข้าวเสื่อมสภาพจากการเก็บรักษา

 

ข้อสังเกต 

ข้อ สังเกตที่ 1 ดอกผลที่เกิดจากการเก็บรักษาเงินรับชําระค่าข้าวจากการขายข้าวแบบรัฐต่อ รัฐ(G to G) ตามโครงการรับจํานําข้าวเปลือกของรัฐบาลยังไม่มีแนวทางดําเนินการนําส่งดอก ผลดังกล่าว

     จากการตรวจสอบ พบว่ามีดอกผลที่เกิดจากการเก็บรักษาเงินรับชําระค่าข้าวในสมุดบัญชีออม ทรัพย์ของกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งยังไม่มีการนําส่งให้กับหน่วยงานใด ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 เป็นเงินประมาณ 85.91 ล้านบาท ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 สําหรับดอกผลที่เกิดขึ้นจากการเก็บรักษาเงินค่าชําระสินค้าตามโครงการ ให้หน่วยงานที่ได้ดําเนินการจําหน่ายสินค้า ได้แก่องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ดําเนินการนําส่งดอกผลดังกล่าวเป็นรายได้แผ่นดินทันทีเนื่องจากเป็นโครงการ ที่รัฐบาลรับภาระ และเป็นรายได้ที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ไม่พึงได้อย่างไรก็ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมในส่วนที่กรมการ ค้าต่างประเทศได้รับชําระค่าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ(G to G)

ข้อเสนอแนะ

     สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอ แนะให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศพิจารณาดําเนินการเกี่ยวกับรายการดอกผลที่ เกิดจากการเก็บรักษาเงินชําระค่าข้าวจากการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G)ว่าควรมีการนําส่งให้กับหน่วยงานใดหรือบัญชีใด โดยเร่งรัดดําเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว

 

ข้อ สังเกตที่ 2 ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G)ในเทอม Ex-warehouse บางรายมีสถานะเลิกดําเนินกิจการ

     จากการตรวจสอบสถานะนิติบุคคลของบริษัท ที่เป็นตัวแทนของผู้ซื้อ จํานวน 4 แห่ง ซึ่งยังดําเนินการชําระเงินและรับมอบข้าวไม่ครบถ้วนตามสัญญาซื้อขาย พบว่า บริษัทที่เป็นตัวแทนของผู้ซื้อจํานวน2 แห่ง ได้เลิกดําเนินกิจการแล้ว โดยบริษัทที่เป็นตัวแทนของ Haikou Liangyunlai Cereals and OilsTrading Co.,Ltd. มีการชําระเงินและรับมอบข้าวแล้วเพียงร้อยละ 5.07 ของปริมาณข้าวตามสัญญาซื้อขาย และบริษัทที่เป็นตัวแทนของ Hainan Land Reclamation Commerce and Trade GroupCo.,Ltd. มีการชําระเงินและรับมอบข้าวแล้วประมาณร้อยละ 78.38 ของปริมาณข้าวตามสัญญาซื้อขาย

     ดังนั้นหากผู้ซื้อมีการแจ้งความประสงค์ขอชําระเงินและต้องการรับมอบข้าวในงวดต่อไป กรมการค้าต่างประเทศจําเป็นต้องพิจารณาถึงตัวแทนของผู้ซื้อดังกล่าว รวมทั้งดําเนินการแจ้งให้องค์การคลังสินค้า(อคส.) หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงตัวแทน เพื่อให้การควบคุมการจ่ายข้าวเป็นไปตามระบบการควบคุมที่ดีต่อไป

ข้อเสนอแนะ

     สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอ แนะให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศพิจารณาดําเนินการตรวจสอบสถานะของตัวแทนของ ผู้ซื้อให้เป็นปัจจุบัน และจัดส่งข้อมูลเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการแต่งตั้งตัวแทนให้องค์การคลัง สินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ทราบ รวมทั้งหากมีการเปลี่ยนแปลงผู้แทนให้แจ้งหน่วยงานดังกล่าวทราบด้วยเพื่อให้การควบคุมการจ่ายข้าวเป็นไปตามระบบการควบคุมที่ดี

 

ที่มาข้อมูล :  http://www.oag.go.th/sites/default/files/files/inspection-results/01-%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81.pdf