พบ"ชินวัตร"โกงอีก! "พายัพ"ลูกหนี้ ธพว.จำนองโรงงานกว่า100ล.แต่ขายคืนได้แค่10ล.

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่www.tnews.co.th

ตีแผ่!เบื้องหลัง"บ.ชินวัตรไทย" ของ "พายัพ ชินวัตร " ลูกหนี้ ธพว. จำนองโรงงาน กว่า 100 ล้านบาท แต่ขายคืนได้แค่ 10 ล้านบาท  จนท.ไปตรวจสอบถึงกับ ผงะ!! เหลือ แต่ที่ดินว่างเปล่า
 

     สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตีแผ่ ความไม่ชอบมาพากล ของ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ที่อนุมัติขายลูกหนี้ กองหนี้ภาคตะวันออก  30 ราย มูลค่ารวม 694 ล้านบาท ให้ บ.บริหารสินทรัพย์ ศรีสวัสดิ์ จำกัด ( บบส.ศรีสวัสดิ์) ราคา 210.75 ล้านบาท โดยพบว่ามี บ. ชินวัตรไทย จำกัด ของ นายพายัพ ชินวัตร น้องชาย นายทักษิณ ชินวัตร รวมอยู่ด้วย โดย ขายไปเพียง 10 ล้านบาท จาก ยอดหนี้ทั้งหมดประมาณ 100 ล้านบาท  ซึ่งมีข้อสังเกตว่า หลักประกันสินทรัพย์ ประกอบด้วย ที่ดิน โรงงาน และ เครื่องจักร ที่  เคยประเมินราคาไว้กว่า 93ล้านบาท เมื่อปี 2545 ลดลงเหลือ 15.5 ล้านบาท ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนหรือไม่

     ล่าสุด พบว่า ก่อนการประมูลขายหลักประกันของ นายพายัพ ส่วนที่เป็นอาคารโรงงาน  9 รายการ เครื่องจักร  293 รายการ มูลค่า 80 ล้านบาท ถูกรื้อถอน และขนย้ายออกไปหมด สภาพที่ตั้งโรงงาน บ. ชินวัตรไทย จำกัด ไม่หลงเหลือให้เห็นว่า เคยเป็นโรงงานขนาดใหญ่มาก่อน นอกจากถนนคอนกรีตเก่า ๆ ที่ไม่ถูกทุบออกไป

     ทั้งนี้ เมื่อปี 2552  ธพว.ได้สำรวจหลักประกันเพื่อทบทวนราคาประเมิน พบว่า โรงงานได้ปิดสายการผลิตแล้ว จนท.ไม่สามารถเข้าไปในอาคารโรงงานได้ การทบทวนราคาประเมิน จึงพิจารณาตามสภาพที่เห็น ส่วนเครื่องจักรไม่สามารถตรวจสอบความมีอยู่จริง จึงตั้งสมมติฐานว่า เครื่องจักรอยู่ครบ"ในปี 2552 โรงงานหยุดการผลิตแล้ว และเป็นปีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงมีความเป็นไปได้ว่า เครื่องจักรอาจถูกขนย้ายออกไปแล้ว ในช่วงเวลานั้น ส่วนอาคารโรงงานในปี 2552 ยังคงมีอยู่ แต่อาจทยอยรื้อถอนในช่วงถัดมา" เป็นรายงานจาก จนท.ธพว.

     ต่อมาปี 2555 ได้สำรวจหลักประกันเพื่อทบทวนราคาประเมินอีกครั้ง พบว่า ตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้า และอาคารทุกหลังถูกรื้อถอนออกหมด มีสภาพเป็นป่าละเมาะ เว้นแนวถนนคอนกรีตเดิม แสดงให้เห็นว่า อาคารโรงงานถูกรื้อถอนก่อนปี 2555 โดยคาดว่าเกิดขึ้นหลังปี 2552 ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์เด็ดขาด เมื่อ 22 ธ.ค. 2552 โดยมีข้อมูลระบุว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงโรงงาน แจ้งให้ทราบว่า มีคนนำรถแบ็คโฮพร้อมคนงานเข้าไปรื้อถอน

     ส่วนการรื้อถอนอาคารและขนย้ายเครื่องจักรออกไป กระทำโดย นายพายัพ ชินวัตร  หรือไม่ ไม่มีใครยืนยัน แต่เชื่อว่า  นายพายัพ น่าจะมีส่วนรู้เห็นด้วยเนื่องจาก เป็นทรัพย์สินที่ยังคงอยู่ในความครอบครอง และมีมูลค่าสูง แม้นำไปขายเป็นเศษวัสดุหรือเครื่องจักรเก่า ก็จะมีราคานับสิบล้านบาท จึงเป็นไปไม่ได้ว่า ลูกหนี้จะไม่ให้ความสนใจที่จะนำไปเปลี่ยนเป็นตัวเงิน และไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นการลักทรัพย์โดยบุคคลอื่น ดังนั้น การกระทำของลูกหนี้จึงเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดอาญา ฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 349 และ 350 ซึ่ง ถือ ธพว. ผู้เสียหาย สามารถดำเนินคดีได้