แถวบ้านเรียกเอาเปรียบ!!! "ชาญชัย" ปูดมือถือ 3 ค่ายยักษ์ฉ้อฉลค่าโทร.แถมค้านอำนาจกสทช.ยุ่งคุมกลไกราคา??

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

 

            ถือเป็นประเด็นที่สังคมเทคโนโลยีซึ่งต้องหาจุดลงตัว  ระหว่างภาคธุรกิจที่ต้องการแสวงหากำไร  กับการให้บริการที่เต็มไปด้วยรูปแบบการแข่งขัน และรวมถึงการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่เหมาะสม  ล่าสุด  นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ในฐานะอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนฯ   กล่าวถึงกรณี 3 บริษัทมือถือใหญ่   ประกอบด้วย  เอไอเอส-ดีแทค-ทรู   แถลงข่าวคัดค้านการทำหน้าที่ของ กสทช.ในการกำกับดูแลกำหนดเพดานอัตราค่าโทรศัพท์มือถือ    โดยระบุว่าเป็นหลักการอยู่แล้วเมื่อบริษัทมือถือได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม  บริษัทก็ต้องย่อมรับทราบดีอยู่แล้วว่า   ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขของการเข้าประมูลใบอนุญาต หมวด 6 (เงื่อนไขในการอนุญาต) เช่น ข้อ 14 เงื่อนไขในการอนุญาต แบบที่สาม ตลอดจนระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อกำหนด หรือหลักเกณฑ์ใดที่คณะกรรมการฯ กำหนดอย่างเคร่งครัด หรือข้อ 20(5) ที่ระบุว่าผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีบริการที่เป็นธรรม ซึ่งรวมถึงการกำหนดอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค มีความชัดเจนและให้บริการที่มีคุณภาพตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

 

     ทั้งนี้ผู้รับอนุญาตจะต้องกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบริการเสียง และบริการข้อมูล โดยเฉลี่ยแล้วต้องต่ำกว่าอัตราค่าบริการเฉลี่ยของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ใช้คลื่นย่านความถี่ 2.1 GHz ณ วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ หมายถึง บริการคลื่นความถี่ 1800 MHz และคลื่น900 MHz ต้องคิดอัตราค่าบริการต่ำกว่าอัตราคลื่นความถี่ 2.1GHz ในวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ โดยคิดราคาค่าบริการตามการใช้โทรศัพท์จริง (โดยคิดเป็นวินาที ไม่ใช่เหมาคิดเป็นนาที)

 

      “อีกทั้งคณะกรรมการได้มีมติที่ประชุม ครั้งที่ 17/2556 เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2556 เห็นชอบแนวทางการกำกับดูแลค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 27 GHz คือ บริการเสียง 0.82 บาท/นาที บริการข้อความสั้น (SMS) 1.33 บาท/ ข้อความ บริการข้อความมัลติมีเดียและบริการอินเทอร์เน็ต 0.28 บาท/MB และประกาศคณะกรรมการฉบับที่สอง ย่านความถี่ 1800 MHz และย่าน 900 MHz กำหนดอัตราต้องต่ำกว่าย่านความถี่ 2.1 GHz ดังนี้ บริการเสียง 0.69 บาท/นาที บริการข้อความสั้น (SMS) 1.15 บาท/ข้อความ บริการข้อความมัลติมีเดีย 3.11 บาท/ข้อความ บริการอินเทอร์เน็ต 0.26 บาท/MB ”

 

      นายชาญชัยย้ำว่าทั้งหมดนี้คือ  ข้อตกลงเงื่อนไขการเข้าประมูลเพื่อให้ได้ใบอนุญาต และทั้ง 3 บริษัทย่อมรับทราบเป็นอย่างดีมาแต่ต้น และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขประกาศ กฎเกณฑ์โดยเคร่งครัด และจะต้องคิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริง  มิใช่กระทำการฉ้อฉลโดยโฆษณาหลอกลวง หรือเอาเปรียบประชาชนผู้ใช้บริการ หรือต่อรอง หรือคิดราคาค่าโทรเกินจริงจากเงื่อนไขโปรโมชั่นเป็นนาทีละ 1.50บาท/นาที รวมถึงการคิดอัตราค่าบริการส่งข้อความสั้น ที่นาทีละ 3-5 บาท รวมถึงข้อความมัลติมีเดียที่แพงเกินจริงจากเงื่อนไขกำหนด ซึ่งผิดทั้งกฎหมาย ผิดทั้งข้อตกลงเงื่อนไขการเข้าประกวดราคา (ทีโออาร์) และที่ทั้งสามบริษัทเก็บเงินเกินจากประชาชนไปแล้ว จะต้องคืนเงินให้ประชาชนผู้ใช้บริการทุกหมายเลข แม้เจ้าของหมายเลขจะไม่ได้ร้องเรียนต่อกสทช. แต่เมื่อมีการปล่อยปละเลยมาตลอด 2 ปี จึงควรแก้ไขอำนาจ กสทช. ในการกำกับดูแลในกฎหมายใหม่ เพราะจะเป็นการให้อำนาจเบ็ดเสร็จ ทั้งนี้รายละเอียดที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถทอเอาเปรียบผู้บริโภค และโฆษณาที่เกินจริงยังมีอีกมาก จะได้แจ้งให้ประชาชนรับทราบ ต่อไป