ขอฟังชัดๆจากชาวจุฬาฯ !! เมื่อ "เนติวิทย์" บอกไม่ดีหรืองัย  ดัดแปลงเพลงพระราชนิพนธ์  "มหาจุฬาลงกรณ์ " ด้วยเหตุผลแบบนี้??

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

      ถึงนาทีต้องถือว่ากับปรากฎการณ์ผ่านมุมมองความเห็นของผู้คนส่วนใหญ่  ต่อการเปิดประเด็นว่าด้วยพฤติกรรมของนายเนติวิทย์  โชติภัทร์ไพศาล   นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แสดงความห่ามทางอารมณ์ด้วยข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊คว่า  สนใจหาฟัง  “เพลงน้ำใจน้องพี่สีชมพู  แบบ RAP ”    คืออีกหนึ่งลูกโซ่กระบวนการพิจารณาของภาคสังคมที่ควรหาข้อสรุปร่วมกัน    ว่าเราควรจะทำอย่างไรกับบุคคลที่มีทัศนคติแบบนี้???

 

      กลับมาที่ปฏิกิริยาของนายเนติวิทย์  พลันที่กระแสเรื่องนี้กลายเป็นทอล์ค  ออฟ เดอะ  ทาวน์  พบข้อเขียนล่าสุดปรากฏในเพจเฟซบุ๊ค   Netiwit Ntw   ระบุว่าข้อความว่า     “ไม่ได้มีเจตนาจะดูหมิ่นอะไรนะครับ   แค่เสนอและก็สงสัย -   ทำไมเพลงประจำมหา'ลัย จะมีหลายเวอร์ชั่นไม่ได้ -rap ต่ำยังไง !!! 
 

     เพลงที่จะยืนยงคงสมัยคือเพลงที่ไม่อาจแตะต้องได้   ต้องตัวเกร็งร้องเท่านั้นหรือ    หรือถ้าเราดัดแปลงให้เป็นสมัยใหม่   มันผิดยังไง     มันไม่ช่วยทำให้เพลงมหาลัยดูเข้าถึงง่ายโดยไม่ต้องเกินเอื้อม   กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติๆหรอกหรือ??

 

     (จริงๆก็ได้ยินกะซิบมาว่า เพลงที่ว่าก็มีนิสิตไปร้องถึงขั้นแต่งเพลงใหม่ นี่ผมกำลังเสนอให้ดูว่า ทำไม เราไม่ทำให้มันมีเวอร์ชันต่างๆไปเลยล่ะ แทนที่จะทำเป็นแอบร้อง มันเลี่ยงไม่ได้หรอก ใช่ไหม)

 

ขอฟังชัดๆจากชาวจุฬาฯ !! เมื่อ "เนติวิทย์" บอกไม่ดีหรืองัย  ดัดแปลงเพลงพระราชนิพนธ์  "มหาจุฬาลงกรณ์ " ด้วยเหตุผลแบบนี้??

      จากบริบทความคิดอ่านของนายเนติวิทย์ข้างต้น  คงไม่ต้องแปลความหมายเป็นอื่นใด นอกจากสิ่งที่สะท้อนผ่านจากทุกตัวอักษรและแปลความหมายเป็นเช่นอย่างที่ทุกคนเข้าใจ  คือ  นายเนติวิทย์ไม่มีความสำนึกร่วมใด ๆ กับความภูมิใจสูงสุดต่อบทเพลงพระราชนิพนธ์ “มหาจุฬาลงกรณ์”   จึงเลือกการตะแบงถามหาความชอบธรรมให้กับตนเอง   ทั้ง ๆ ที่เป็นคนละประเด็นกับเหตุผลที่นำมากล่าวอ้าง   เรื่องเวอร์ชั่นที่หลากหลายของบทเพลงประจำมหาวิทยาลัย   !!!

 

        ประการหนึ่งของข้ออ้าง   นายเนติวิทย์     อาจทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ว่า   ข้อเขียนดังกล่าวก็เป็นแค่การแสดงความรู้สึกของคนเป็นผู้ที่พิสมัยกับวิวัฒนาการด้านดนตรีแบบไร้กรอบจำกัด   และบิดเบือนเพื่อให้เกิดการเข้าใจผิดว่ากระแสต่อต้านที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความขัดแย้งเรื่องทัศนคติด้านดนตรี     ทั้งที่ไม่มีใครผู้ใดเลยที่ให้ความเห็นดูถูกดูหมิ่น  เรื่องท่วงทำนองเพลง RAP       แต่โดยหลักใหญ่ใจความเชิงลึกแล้ว   สิ่งที่นายเนติวิทย์คิดและเขียน   ทุกคนเข้าใจได้เองว่า   มาจากอุดมคติทางการเมืองส่วนตัวและทัศนคติเชิงลบต่อสถาบันเบื้องสูงมากกว่า   เมื่อย้อนเทียบกับพฤติกรรมในอดีตของตัวเขาเอง

 

     แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโดยวิถีข้อเท็จจริง   ความสำคัญของ บทเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์”  มีรายละเอียดมากกว่า    สมองภายใต้เบ้ากระโหลกของนายเนติวิทย์   จะสามารถเข้าใจได้ในระยะเวลาอันสั้น  แต่ถึงเช่นนั้น "สนข.ทีนิวส์"  ก็ไม่อาจละเลยแสวงหาคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงต่อสาธารณะ   !!!

 

     ในทางตรงข้ามข้อมูลลำดับต่อไปนี้คือบันทึกทางประวัติศาสตร์ของผู้รู้ท่านหนึ่ง   ที่พึงควรได้รับถ่ายทอดต่อไปให้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าใจคุณค่าของบทเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์”  ที่ได้รับบ่มเพาะให้ตั้งใจร้องร่วมกันในทุกวาระสำคัญ ๆ   ...

     “ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล ซึ่งปฏิบัติหน้าที่พระอาจารย์ถวายการสอนภาษาไทยแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ได้เคยเล่าให้นิสิตอักษรศาสตร์ฟังเมื่อ  พ.ศ. 2494    ว่าเมื่อวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 19 สิงหาคม    พ.ศ. 2489  มีเพียงมหาวิทยาลัยเดียวที่ไปส่งเสด็จ ซึ่งก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    นิสิตเกือบทุกคนที่มีอยู่ตอนนั้นประมาณ 2,500 คนต่างพร้อมใจไปส่งเสด็จ พร้อมทั้งถวายโล่ตราพระเกี้ยว และกระเช้าดอกไม้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกลัดเข็มพระเกี้ยวเล็กๆไว้ที่ฉลองพระองค์ ด้วย ยังความปลื้มปิติให้แก่ชาวจุฬาฯ ทุกคน ....”

 

     “โล่พระเกี้ยวที่ชาวจุฬาฯ ถวายให้ในวันนั้นได้ตั้งอยู่บนโต๊ะทรงพระอักษรตลอดเวลา ต่อมาวันหนึ่งในปี พ.ศ. 2492  หลังจากเสด็จออกจากห้องทรงพระอักษรและทรงเล่นเปียโนเพื่อผ่อนคลายพระอิริยา บท ได้มีรับสั่งกับ ม.ร.ว. สุมนชาติว่า การเรียนหนังสือไม่สนุกเลย คนที่เรียนหนังสืออยู่เมืองไทยจะรู้สึกแบบนี้ไหม ม.ร.ว. สุมนชาติได้กราบบังคลทูลว่า หากทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับคนที่เรียนหนังสือที่เมืองไทย ก็ขอพระราชทานเพลงให้แก่พวกเขาเหล่านั้น พระองค์ท่านไม่ทรงรับสั่งใดๆ เลย หลังจากนั้นไม่เกิน 5 วัน ม.ร.ว. สุมนชาติ ได้รับพระราชทานกระดาษ 3 แผ่น ซึ่งเป็นโน้ตเพลง มหาจุฬาลงกรณ์ และทรงรับสั่งแต่เพียงสั้นๆ “ที่ขอมานั้น ได้แต่งให้แล้ว”...”

 

     “ม.ร.ว. สุมนชาติ ได้อันเชิญโน้ตเพลงมหาจุฬาลงกรณ์กลับมายังประเทศไทย และได้ขอให้ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และคุณสุภร ผลชีวิน ผู้เป็นน้องชาย ซึ่งทั้งคู่ต่างก็เป็นนิสิตเก่าจุฬาฯ เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง โดยมีคุณพระเจนดุริยางค์เล่นเปียโนและมีผู้ร้องด้วยเนื้อร้องที่ท่านผู้หญิง และคุณสุภร ผลชีวินแต่งขึ้น เมื่อได้มีการแก้ไขปรับปรุงจนเนื้อร้องกลมกลืนกับโน้ตดนตรีพระราชทานดีแล้ว จึงนำทูลเกล้า ขอพระบรมราชวินิจฉัย ต่อมาได้พระราชทานให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้น บทเพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ จึงเปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวกับชาวจุฬาฯ อย่างหาที่เปรียบมิได้...”

 

     “เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ สำหรับชาวจุฬาฯ ทุกคน เปรียบได้ดั่งเพลงสรรเสริญพระบารมี คือ ยึดถือว่าการร้องหรือบรรเลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อย่างเป็นทางการ ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการร้องหรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นคือการยืนถวายความเคารพ โดยชาวจุฬาฯ ได้ขอให้ท่านศาสตราจารย์ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล กราบบังคลทูลของพระบรมราชานุญาต ในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2493

 

     ดังนั้นในวันแข่งขันฟุตบอล เมื่อบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจบแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ยังคงประทับยืน ขณะที่กองเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคนดูทั่วไปนั่งลง แต่กองเชียร์จุฬาฯ และนิสิตเก่าที่เข้าชมการแข่งขันยังยืนถวายความเคารพ ชาวจุฬาฯ ได้ร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ถวาย เมื่อเพลงจบจึงได้ประทับนั่ง ซึ่งมีความหมายว่าได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตทางอ้อมให้ชาวจุฬาฯ ยึดถือเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีสำหรับชาวจุฬาฯ ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่มีการบรรเลงหรือการขับร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อนั้นชาวจุฬาฯทุกคนจักต้องยืนตรงถวายความเคารพ...”

 

     “บทเพลงมหาจุฬาลงกรณ์จะถูกบรรเลง หรือขับร้องในงานสำคัญๆต่างๆของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่านั้น เหตุเพราะเป็นเพลงที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเพลงที่ชาวจุฬาฯ ยึดถือและเคารพเหนือศีรษะ จึงจะนำมาขับร้องเล่นมิได้ โอกาสสำคัญที่มีการบรรเลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอย่างน้อยผู้ที่เข้ามาศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะได้รับฟังถึงสอง ครั้ง นั่นคือ ในงานปฐมนิเทศนิสิตใหม่ และในงานพระราชทานปริญญาบัตร ที่ขับร้องโดยชมรมนักร้องประสานเสียง สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU Chorus ที่ได้รับการเรียบเรียงเป็นเสียงประสานโดย น.ต. ปิวะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ร.น. นอกจากนี้ในโอกาสงานสำคัญต่างๆที่จัดขึ้นโดยชาวจุฬาฯ อย่างเป็นทางการอื่นๆ จักต้องบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์บทนี้เช่นเดียวกัน...”

 

     ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความรู้  หรือไม่รู้   ของสาธารณชนทั่วไปที่แสดงความเห็นในเชิงตำหนิติเตียน นายเนติวิทย์   แล้ว  นายเนติวิทย์   หยิบยกมาแดกดันผู้อื่นกลับ  โดยเทียบเคียบกรณี  เพลงชาติรัสเซีย  เวอร์ชั่น  rock     มาโปรยล่อ    แล้วส่งท้ายเทียบเคียงด้วยคำว่า  “ความคิดสร้างสรรค์”   แต่รายละเอียดที่ปรากฏเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่มาของบทเพลงพระราชนิพนธ์ “มหาจุฬาลงกรณ์”   มีข้อเท็จจริงในคุณค่าอันเป็นที่ประจักษ์ชัดมาแล้วถึงกว่า   67  ปี  และการที่นายเนติวิทย์เลือกหยิบประเด็นนี้มานำเสนอ  เพราะอะไรย่อมรู้แก่ตนเองดี  ...??

 

ขอฟังชัดๆจากชาวจุฬาฯ !! เมื่อ "เนติวิทย์" บอกไม่ดีหรืองัย  ดัดแปลงเพลงพระราชนิพนธ์  "มหาจุฬาลงกรณ์ " ด้วยเหตุผลแบบนี้??