แบบไหนต้องประนาม!!! "หมวดเจี๊ยบ" อ้าง "บิ๊กตู่" ละเมิดเสรีสื่อ(ภัยมั่นคง) # ทีนิวส์เทียบยุคยิ่งลักษณ์โดนสตง.ท้วงอัดงบ240ล.จ้างสื่อPRไม่โปร่งใส??

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

    ยังคงเป็นประเด็นที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องกับการใช้มาตรา 44  คุ้มครองกสทช.ในการทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินกิจกรรมของสื่อมวลชน   ไม่ให้กระทำการที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  ซึ่งแน่นอนว่าก็คงมีสื่อเพียงส่วนน้อยที่มีพฤติกรรมแบบนั้นและจะได้รับผลกระทบ ??

 (ข้อมูลประกอบ :    คสช.ใช้ม.44 แค่คุ้มครอง จนท.ให้ปิด"วิทยุ-โทรทัศน์"ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงเท่านั้น !! http://deeps.tnews.co.th/contents/196300/  )

 

     ขณะที่ล่าสุด   ร..หญิง สุณิสา เลิศภควัต  อดีตรองโฆษกรัฐบาล พรรคเพื่อไทย   กลับโพสต์ข้อความลงในเพจส่วนตัว   "หมวดเจี๊ยบ สุณิสา เลิศภควัต"    ระบุข้อความ ขอประณาม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ออกคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 41 /2259 ให้อำนาจคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ( กสทช.)ในการควบคุมสื่อดังกล่าว  เพราะถือเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิและเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน และขอเรียกร้องให้ พล.อ. ประยุทธ์ ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวทันที เพราะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม 4  ประการ คือ

          1. วิธีการออกคำสั่ง ไม่ถูกต้องตามหลักนิติธรรม

          2. เนื้อหาของคำสั่ง ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

          3. ขัดต่อหลักความรับผิดชอบและอาจมีการใช้อำนาจตามอำเภอใจ เพราะคำสั่งดังกล่าวคุ้มครองผู้เกี่ยวข้องให้ไม่ต้องรับผิดใดๆ ทั้งทางแพ่ง ทางอาญาและทางวินัยจากการใช้อำนาจระงับการออกอากาศหรือพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตของผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์                          

        4. การออกคำสั่งดังกล่าวในช่วงก่อนออกเสียงประชามติ อาจทำให้เกิดข้อครหาว่า เป็นการชี้นำประชามติอย่างหนึ่งหรือไม่

     อย่างไรก็ตามกับประเด็นการใช้คำสั่งมาตรา 44  ว่าด้วยการดูแล  ควบคุมสื่อไม่ให้กระทำผิดกฎหมาย และคำสั่งคสช.ว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง   โดยหลักการก็คือมาตรการทางกฎหมายที่คสช.ดำเนินการโดยเปิดเผย   ซึ่งแม้ว่ากับรัฐบาลในอดีตจะไม่มีการใช้กฎหมายในลักษณะนี้อย่างชัดเจน   แต่ก็มีข้อคำถามวิธีปฏิบัติแบบนี้กับการดำเนินนโยบายทางการเมืองกับสื่อมวลชนในบางยุคสมัย   รูปแบบไหนคือความเหมาะสม ถูกต้อง  หรือมีอันตรายยิ่งกัน ???

 

    กรณีตัวอย่างหนึ่งที่สนข.ไทยพับลิก้า   เคยนำเสนอไว้ก็คือ   โครงการสำคัญจ้างทำโครงการ “Roadshow  สร้างอนาคตประเทศไทย Thailand 2020”   สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ได้รับงานไป รวมมูลค่าทั้งหมด 240  ล้านบาท   แต่ภายหลังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือท้วงติงเรื่องความโปร่งใสการจัดซื้อจัดจ้างโครงการดังกล่าว

 

– ตามสัญญาที่ จ.01/2557 สลน. จ้างบริษัทมติชนฯ วงเงิน 40.00 ล้านบาท (ทำสัญญาวันที่ 1 ตุลาคม 2556)

 

– สัญญาที่ จ.17/2557 สลน. จ้างบริษัทมติชนฯ วงเงิน 100.00 ล้านบาท (ทำสัญญาวันที่ 11 ตุลาคม 2556)

 

– สัญญาที่ จ.18/2557 สลน. จ้างบริษัทสยามสปอร์ตฯ วงเงิน 100.00 ล้านบาท (ทำสัญญาวันที่ 11 ตุลาคม 2556)

 

     เนื่องจากทุกสัญญาใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วย “วิธีพิเศษ” ที่ไม่เปิดให้มีการเสนอราคาอย่างกว้างขวาง แต่เป็นการเชิญเฉพาะรายมาเสนอราคาโดยตรง  ส่วนลักษณะของการใช้งบพีอาร์ คือ    จ้างให้บริษัทเอกชนทั้ง 2 แห่ง จัดนิทรรศการ จัดสัมมนา และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ เกี่ยวกับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวม 12 จังหวัด โดยวางเป้าหมายมีผู้เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 250,000 คน

แบบไหนต้องประนาม!!! "หมวดเจี๊ยบ" อ้าง "บิ๊กตู่" ละเมิดเสรีสื่อ(ภัยมั่นคง) # ทีนิวส์เทียบยุคยิ่งลักษณ์โดนสตง.ท้วงอัดงบ240ล.จ้างสื่อPRไม่โปร่งใส??

    ขณะที่ช่วงปลายปี 2556   ส.ส.พรรคฝ่ายค้านขณะนั้น    ได้ตั้งเป็นหนึ่งในประเด็นของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์   พร้อมยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้ามาตรวจสอบ โดยอ้างว่า ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 103/7 ว่าด้วยการประกาศราคากลางการจัดซื้อจัดจ้างไว้บนเว็บไซต์ของ สลน.

 

     อย่างไรก็ตามบริษัทสื่อทั้ง 2 แห่ง ก็ได้ดำเนินโครงการพีอาร์นี้ระหว่างเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน 2556 จนเสร็จสิ้น ครบทั้ง 12 จังหวัด ก่อนที่น.ส.ยิ่งลักษณ์จะประกาศยุบสภาในวันที่ 9 ธ.ค. 2556  ขณะที่ในเดือนมี.ค. 2557  สตง. ได้ส่งหนังสืออีกฉบับถึง นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ   เลขาธิการนายรัฐมนตรี (ในขณะนั้น)  ขอให้ทบทวนการจ่ายเงินในโครงการนี้ เพราะไม่เปิดให้มีการแข่งขันราคาอย่างโปร่งใส  ทำให้อาจเกิดช่องโหว่การจัดจ้างในราคาที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น และอาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว)

 

     ต่อมา บริษัทมติชนฯ ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อ สตง. ระบุว่า ประเด็นที่ สตง. ตรวจสอบ บริษัทสามารถชี้แจงทำความเข้าใจได้ และพร้อมจะเข้าชี้แจงกับ สตง. และทุกหน่วยงานใดที่ยังมีข้อสงสัย  ขณะเดียวกัน บริษัทยังได้ทำหนังสือถึง สลน. ขอให้ชำระเงินค่าจ้างตามสัญญา เนื่องจากการจัดงานดังกล่าวผ่านไปอย่างราบรื่นตามสัญญา โดยบริษัทได้สำรองจ่ายไปเป็นเงิน 130 ล้านบาท และขณะนี้เวลาล่วงเลยมาพอสมควรแล้ว 

 

     และภายหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557  สตง. ก็ยังได้ส่งรายงานผลการตรวจสอบการดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์นี้ ถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. โดยระบุว่า “การดำเนินโครงการดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่เกิดประสิทธิภาพหรือเกิดความสูญเปล่า ไม่ประหยัด ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าและไม่เปิดโอกาสให้มีการเข้าแข่งขันราคาอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเป็นธรรม และอาจเป็นการจัดจ้างในราคาที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น หากมีการเบิกจ่ายเงินไม่ถูกต้อง จะต้องมีผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินครั้งนี้”

 

     อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบของ สนข.ไทยพับลิก้า   สรุปสุดท้ายแม้ว่าจะมีข้อทักท้วงจากหลายฝ่ายรวมถึงศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ร่างกฎหมายเงินกู้ 2  ล้านล้านบาทตกไปแล้ว    แต่พบข้อมูลที่เชื่อได้ว่าสลน. ได้เบิกจ่ายงบให้กับบริษัทเอกชนทั้ง 2 แห่งเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ต้นปี 2557 หรือก่อนคสช.จะเข้ายึดอำนาจรัฐบาลรักษาการในขณะนั้นได้ไม่นาน   ด้วยเหตุผลว่าบริษัทเอกชนทั้ง 2 แห่ง ได้ทำงานเสร็จสิ้นและมีการส่งมอบงานแล้วตามทีโออาร์  ???