เป็นอะไร...ทำไมยอมรับความจริงไม่ได้?! ทนายวัดปากน้ำยัน "สมเด็จช่วง" ยังบริสุทธิ์ ทั้งที่ DSI ประกาศทนโท่

ติดตามข่าวสารที่ www.Tnew.co.th

 

เหมือนกับพรรคการเมืองบางพรรคราวกับดีเอ็นเอเดียวกัน นั่นคือไม่เคยยอมรับความจริงว่าตัวเองผิด หลังนายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายสมเด็จช่วง ออกมายืนยัน "เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ" ยังบริสุทธิ์ แม้ DSI จะแจ้ง 2 ข้อหาปมเบนซ์หรูแล้วก็ตาม โดยอ้างแบบข้าง ๆ คู ๆ ว่า ตนยังไม่เห็นเรื่องดังกล่าว ขณะด้าน พศ. มาทำนองเดียวกันเปี๊ยบ

 

วานนี้ (22 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.สมศักดิ์ โตรักษา ทนายความวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กล่าวถึงกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เผยผ่านสื่อว่า มีการแจ้งข้อกล่าวหา สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และพระมหาศาสนมุนี หรือเจ้าคุณแป๊ะ และผู้ร่วมขบวนการเกี่ยวกับเรื่องรถเบนซ์โบราณนั้น ตนยังไม่เห็นเรื่องดังกล่าวจนกว่าจะเห็นสำนวนจากทางดีเอสไอ และยังไม่ปักใจเชื่อ เนื่องจากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และพระมหาศาสนามุนี หรือเจ้าคุณแป๊ะ อยู่ในฐานะพยาน ยังไม่มีข้อกล่าวหา ที่สำคัญก่อนหน้านี้ทางดีเอสไอ ก็ออกมาระบุว่า ยังไม่สรุปสำนวน เพราะรอหลักฐานจากต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม หากทางดีเอสไอบอกว่าสรุปสำนวนเสร็จแล้วจริง ก็ให้ว่ามาตามกระบวนการกฎหมาย ซึ่งหากจะมีหมายเรียกมา ทางสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ก็ไม่กังวล เพราะตัวท่านเองก็ยืนยันในความบริสุทธิ์อย่างแน่นอน

 


ด้านนายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) หนึ่งในเจ้าพนักงานที่ถูกตั้งข้องสังเกตว่าเอื้อประโยชน์ต่อวัดปากน้ำมาตลอด กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ตามที่มีกระแสข่าวว่า พนักงานสอบสวนของดีเอสไอ จะแจ้งข้อกล่าวหา กรณีรถเบนซ์โบราณ ต่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และพระมหาศาสนมุนี ที่อยู่ในการครอบครองของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช นั้น พศ.ได้สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ยืนยันว่ายังไม่การแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่จะอาจจะมีการขอข้อมูลเพิ่มเติมจากทางวัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งรายละเอียดการตอบคำถามในข้อกฎหมายให้เป็นหน้าที่ฝ่ายกฎหมายกับวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และพศ.ได้ประสานข้อมูลกันอย่างต่อเนื่องแล้ว

 

 


 

 

 

 

ส่วนคำถามที่ว่า ตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีสิทธิ์พิเศษอะไรคุ้มครองตามกฎหมายหรือไม่ นายชยพล กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ไม่ได้มีกฎหมายไหนคุ้มครองผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นกรณีพิเศษ