ปชป.คือตัวแปรให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ต่อ

ปชป.คือตัวแปรให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯต่อ

ตามที่กล่าวไปข้างต้นยังมีตัวแปรที่จะทำให้พล.อ.ประยุทธ์มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่เช่นกัน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักซึ่งต้องมาพิจารณาจากปัจจัยตามสถานการณ์ดังนี้
1.พล.อ.ประยุทธ์ตั้งพรรคการเมือง ลงสมัครรับเลือกตั้ง
2.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองในนาม กปปส.
3.มีการออกกฎหมายพรรคการเมือง จนนำไปสู่การ เซตซีโร่ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ข้อมูลสนับสนุนคำพูดของนายสนธิญาณเรื่องการตั้งพรรคการเมือง เข้าไปแย่งชิงเก้าอี้ส.ส.ของพรรคการเมืองเดิม โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เพราะมีการยึดครองฐานเสียง ผ่านหัวคะแนน ที่เป็นเครือข่ายมายาวนานนับสิบๆ ปี

 

 


ผลการเลือกตั้งส.ส.เขตเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
กรุงเทพมหานคร 33 เขต เพื่อไทย 10 ประชาธิปัตย์ 23

ภาคกลาง 96 เขต เพื่อไทย 41 ประชาธิปัตย์ 25 ภูมิใจไทย 13 ชาติไทยพัฒนา 11

ภาคใต้ 53 เขต ประชาธิปัตย์ 50 ภูมิใจไทย 1 ชาติไทยพัฒนา 1

ภาคอีสาน 126 เขต เพื่อไทย 103 ประชาธิปัตย์ 5 ภูมิใจไทย 2 ชาติไทยพัฒนา 2

ภาคเหนือ 67 เขต เพื่อไทย49 ประชาธิปัตย์ 13 ภูมิใจไทย 2 ชาติไทยพัฒนา 2
จริงๆแล้ว เมื่อพิจารณาจากทั้ง 3 เงื่อนไขก็จะเห็นได้ว่า ข้อที่ 1 และ 2 นั้น แทบที่จะเป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ว่าหากพล.อ.ประยุทธ์ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องแล้ว ต้องลงสมัครรับเลือกตั้งจากประชาชนจึงจะสง่างาม และไม่เป็นผู้นำไทยที่มีปมด้อยในเวทีนานาชาติ อีกทั้งไม่ควรกลัวประชาชน ต้องเข้าหาประชาชนความสง่างาม ต้องมาจากประชาชนเลือก

พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงแนวคิดการตั้งพรรคทหาร ว่า เป็นแนวคิดของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.เพราะ
ตอนนี้พล.อ.ประยุทธ์ กำลังเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และวางรากฐานอนาคตของประเทศ ส่วน พล.อ.ประยุทธ์จะลงเล่นการเมืองในอนาคตหรือไม่ ตนยังไม่เคยได้ยินจากปากของพล.อ.ประยุทธ์
เมื่อถามว่า มีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ที่พล.อ.ประยุทธ์ จะได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองให้เป็นนายกฯ เช่นเดียวกับ "เปรมโมเดล" พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดของแต่ละคนที่มีมุมมองแตกต่างกัน เป็นการเสนอแนวคิดทั้งนั้น รวมถึงข้อเสนอการตั้งพรรคทหาร ซึ่งเป็นแนวคิดมาจากคนอื่น ไม่เคยมีสิ่งใดที่ออกมาจากหัวหน้า คสช.
เพราะฉะนั้นก็ต้องมาจับตาดูว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์เอง หรือต้องรอให้มีกฎหมายพรรคการเมืองจนนำไปสู่การเซตซีโร่ เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนคะแนนเสียงมาสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ โอกาสนั้นก็จะเปิดกว้างขึ้นมาในทันที

เริ่มเป็นกระแสทางการเมืองมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายลูกต่างๆ โดยเฉพาะกฎหมายพรรคการเมืองที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษว่าจะนำพาไปสู่การปฏิรูปพรรคการเมือง ภายใต้แนวคิดที่ว่า เซตซีโร่ เพื่อรองรับการเลือกตั้งให้ทันปลายปี 2560

แต่ในที่นี้ก็ต้องโฟกัสไปที่ กฎหมายพรรคการเมือง ก่อน เพราะในช่วงสองสามวันนี้เริ่มมีการพูดถึงกันมาก ว่า จะออกมาแบบไหน มีการพูดถึงเรื่องการ เซตซีโร่พรรคการเมือง
ที่เปรียบเสมือนการ ล้างไพ่ ใหม่ โดยให้ทุกพรรคจดทะเบียนใหม่ สำหรับการลงสนามครั้งใหม่ภายใต้กติกาใหม่พร้อมๆ กันสำหรับการเซตซีโร่ที่ว่านี้ เท่าที่พิจารณาจากท่าทีเบื้องต้นก็น่าจะออกมาประมาณว่าให้ทุกพรรคเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่ นั่นคือ จดทะเบียนพรรคกันใหม่

อย่างไรก็ดี นั่นเป็นความหมายภายนอก แต่ในทางการเมืองทางลึกแล้ว นี่คือ การ ย่อยสลาย ซึ่งคาดว่าเมื่อถึงเวลานั้นอาการ ผึ้งแตกรัง ขึ้นมาทันที ถึงตอนนั้นอาจจะได้เห็นการไหลไปมาของบรรดาอดีต ส.ส.ตามพลังดึงดูด และถึงตอนนั้นจะได้เห็นภาพฝุ่นตลบอบอวลอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ จากข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่ามีข้อมูลพรรคการเมืองที่ดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2559 พบว่ามีจำนวน 71 พรรค อาทิ
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มีสมาชิกพรรค 2,896,079 คน 175 สาขา
พรรคเพื่อไทย (พท.) มีสมาชิกพรรค 134,883 คน 5 สาขา
พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) มีสมาชิกพรรค 26,048 คน 9 สาขา
พรรคชาติพัฒนา (ชพน.) มีสมาชิกพรรค 19,582 คน 4 สาขา
พรรคภูมิใจไทย มีสมาชิกพรรค 153,092 คน 5 สาขา
พรรคพลังชล (พช.) มีสมาชิกพรรค 10,807 คน 4 สาขา
พรรคมาตุภูมิ (มภ.) มีสมาชิกพรรค 8,144 คน 4 สาขา
พิจารณาจากองค์ประกอบทั้งหมดก็หมายความว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อหรือไม่ อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง