ลุ้นเลยใครคือรายต่อไป  !!!  2 ปี สนช.ถอดถอนแล้ว 5 นักการเมือง 1 ขรก.  ตอกย้ำผิดต้องเป็นผิดถึงเวลาให้บทเรียนพวกละเมิดกม.รับใช้ระบอบทักษิณ??

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

 

         นอกเหนือจะเป็นยุคหนึ่งทางการเมืองที่มีการแนวทางชัดเจนเรื่องการปฏิรูปการเมือง โดยรัฐบาล  พล.อ.ประยุทธ์    จันทร์โอชา    ทางด้านสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็มีผลงานหลายเรื่องสำคัญ   นอกเหนือการพิจารณากฎหมายสำคัญ ๆ ของประเทศ    และรวมถึงการพิจารณาความผิดที่เกิดขึ้นกับนักการเมืองที่คั่งค้างมาในหลายปีที่ผ่านมา    ไม่นับรวมข้อเท็จจริงว่าเป็นได้ยากยิ่งในยุคเลือกตั้งปกติ  เนื่องจากการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือ  ส.ส . ถูกกำหนดโดยระบบบเสียงข้างมากลากไป  โดยยึดโยงผลประโยชน์ตอบแทนเป็นสำคัญ

 

       โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติยุคปัจจุบัน     มีการพิจารณาบุคคลที่ถูกถอดถอนและตัดสิทธิทางการเมืองเป็นลำดับตามข้อเสนอของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ  ปปช.  ตั้งแต่มีคำสั่งยุบวุฒิสภาโดยคำสั่งคสช. เมื่อวันที่  24  พ.ค. 2557  ดังนี้

 

       1. คดี นายนิคม  ไวยรัชพานิช  อดีตประธานวุฒิสภา  ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 
       
      2. คดี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
      

     3. คดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและบทกฎหมายในเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว
       
    4. คดีสมาชิกวุฒิสภา 38  คน  จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.

     โดยที่ผ่านมาผลการลงมติของที่ประชุมสนช.มีรายละเอียดดังนี้  

 

ลุ้นเลยใครคือรายต่อไป  !!!  2 ปี สนช.ถอดถอนแล้ว 5 นักการเมือง 1 ขรก.  ตอกย้ำผิดต้องเป็นผิดถึงเวลาให้บทเรียนพวกละเมิดกม.รับใช้ระบอบทักษิณ??

 

     1.วันที่   23 ม.ค. 2558  ที่ประชุม สนช.   มีมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร   อดีตนายกรัฐมนตรี   กรณีโครงการรับจำนำข้าว ด้วยคะแนน 190:18 งดออกเสียง 11 เสียง   ทำให้น.ส.ยิ่งลักษณ์  ถูกตัดสิทธิทางการเมือง  5  ปี

 

     2.วันที่  23   ม.ค.  2558   ที่ประชุมสนช.   มีมติไม่ถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภาด้วยคะแนน ด้วยคะแนน 120:95 งดออกเสียง 4 เสียง และไม่ถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา 115:100 งดออกเสียง 4 เสียง

 

    3.วันที่   12 มี.ค.   2558   ที่ประชุมสนช.  มีมติไม่ถอดถอนอดีต ส.ว. ทั้ง 38 คน ใน  4 กลุ่มฐานความผิด    ในประเด็นการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ   กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.

 

    4.วันที่  8 พ.ค. 2558   ที่ประชุมสนช.  มีมติถอดถอน นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้วยคะแนน 182 : 5 เสียง ไม่ลงคะแนน 2 เสียง บัตรเสีย 1 เสียง   มติถอดถอนนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  ด้วยคะแนน 180 : 6 เสียง  ไม่ลงคะแนน  4 เสียง  และ ถอดถอน  นายมนัส  สร้อยพลอย  อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ  ด้วยคะแนน 158 : 25 เสีย ง ไม่ลงคะแนน 6 เสียง  บัตรเสีย 1 เสียง จากกรณีถูกกล่าวหาทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี)  ในโครงการรับจำนำข้าว มีผลให้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา  5  ปี  โดยในส่วนของ นายมนัส  ถือเป็นข้าราชการระดับสูงคนแรกที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง

ลุ้นเลยใครคือรายต่อไป  !!!  2 ปี สนช.ถอดถอนแล้ว 5 นักการเมือง 1 ขรก.  ตอกย้ำผิดต้องเป็นผิดถึงเวลาให้บทเรียนพวกละเมิดกม.รับใช้ระบอบทักษิณ??

 

     5.วันที่  13 พ.ย. 2558   ที่ประชุมสนช. มีมติไม่ถอดถอน   นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เมื่อสมัยที่ยังดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดตามข้อกล่าวหาว่า  ร่ำรวยผิดปกติ  จากกรณีสร้างบ้านมูลค่ากว่า 16 ล้านบาท ที่ จ.อ่างทอง  ด้วยมติให้ถอดถอน 109 คะแนน  ไม่ถอดถอน 82 คะแนน งดออกเสียง 3 คะแนน และมีบัตรเสีย 1 ใบ  จึงส่งผลให้นายสมศักดิ์ ไม่ถูกถอดถอน เนื่องจากคะแนนเสียงถอดถอนมีไม่ถึง 132 คะแนน  หรือ  3 ใน 5  ของจำนวนสมาชิก สนช.ทั้งหมด

 

 

     6.วันที่  19 ส.ค. 2559   ที่ประชุมสนช.  มีมติถอดถอน นายประชา ประสพดี   เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกจากตำแหน่ง   กรณีแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการองค์การตลาด(อต.)กระทรวงมหาดไทย  ตามคำร้องของปปช.  ใน  มาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 ประกอบมาตรา 64 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนุญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2552    ด้วยคะแนน 182 ไม่ถอดถอน 7  งดออกเสียง 2     

 

     และ 7.  ล่าสุดวันที่ 16  ก.ย. 2559  ที่ประชุม สนช.   มติ 159 ต่อ 27 เสียง ไม่ออกเสียง 1  ให้ ถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล  สุวรรณทัต   พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามคำร้องของปปช.  ตามมาตรา 6 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกอบมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ข้อ 157  จากกรณีใช้สถานะหรือตำแหน่งรัฐมนตรีเข้าไปก้าวก่าย แทรกแซงการปฏิบัติราชการ  หรือ   การดำเนินงานในหน้าที่ประจำของคณะกรรมการปลัดกระทรวงกลาโหม ในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายโอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือนของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งเป็นข้าราชการประจำ และไม่ใช่ข้าราชการของกลาโหม เพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น และพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งการกระทำดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1), (2) และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง ข้อ15 พ.ศ. 2551 มีมูลส่อว่าจงใจในการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และขัดต่อมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง

 

ลุ้นเลยใครคือรายต่อไป  !!!  2 ปี สนช.ถอดถอนแล้ว 5 นักการเมือง 1 ขรก.  ตอกย้ำผิดต้องเป็นผิดถึงเวลาให้บทเรียนพวกละเมิดกม.รับใช้ระบอบทักษิณ??

 

     ขณะเดียวกันยังคงมีสำนวนคดีที่ผ่านการชี้มูลของปปช.เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสนช.อีกหลายกรณี  อาทิ  เช่น   กรณีของนายนริศร ทองธิราช   อดีตส.ส.สกลนคร    ตามข้อกล่าวความผิดว่าด้วยคำร้องเสียบบัตร   และกดคะแนนออกเสียงแทนกันในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว    ,    นายอุดมเดช รัตนเสถียร  อดีตส.ส.นนทบุรี   ตามมูลฐานความผิดฐานปลอมร่าง รธน.  ก่อนส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ    ส่วนกรณีของนายวัฒนา  เมืองสุข   รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์  ในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย   อยู่ในขั้นตอนการสรุปคดีเกี่ยวโยงกับการทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรของอนุกรรมการฯสอบคดี   เพื่อนำขอมติที่ประชุมปปช.ดำเนินการต่อไป