กราบสาธุ!!! พุทธประวัติ "หลวงพ่อเดิม" วัดหนองโพ เทพเจ้าเแห่งเมืองสี่แคว ที่ศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรแห่งพุทธธรรม สาธุๆ

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th

พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร)

 

 

กราบสาธุ!!! พุทธประวัติ "หลวงพ่อเดิม" วัดหนองโพ เทพเจ้าเแห่งเมืองสี่แคว ที่ศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรแห่งพุทธธรรม สาธุๆ

 

     ชาติภูมิ หลวงพ่อเดิมถือกำเนิดเมื่อวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๒๒ (แรม ๑๓ ค่ำ นั่นมิใช่วันพุธ เป็นวันศุกร์ตรงกับวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓) โยมบิดาชื่อ นายเนียม โยมมารดาชื่อ นางภู่ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา คือ

๑. หลวงพ่อเดิม เพราะเหตุที่เป็นบุตรชายคนแรกของบิดามารดา ปู่ย่าตายายจึงให้ชื่อว่า “เดิม”

๒. นางทองคำ คงหาญ

๓. นางพู ทองหนุน

๔. นายดวน ภู่มณี

๕. นางพัน จันทร์เจริญ

๖. นางเปรื่อง หมื่นนราเดชจั่น

เช่าพระคลิ๊กที่นี่
เช่าพระที่นี่

 

กราบสาธุ!!! พุทธประวัติ "หลวงพ่อเดิม" วัดหนองโพ เทพเจ้าเแห่งเมืองสี่แคว ที่ศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรแห่งพุทธธรรม สาธุๆ

 

 

การศึกษา

 

     หลวงพ่อเดิมเมื่อเยาว์วัยก่อนอุปสมบทนั้น เนื่องจากท่านเป็นบุตรชายคนโตของบิดามารดา โอกาสที่จะได้เล่าเรียนอยู่วัดในสมัยอายุเยาว์วัยคงมีไม่มาก และไม่เคยได้ยินใครเล่าให้ฟังถึงการศึกษาของท่านในสมัยเยาว์วัย

 

อุปสมบท

 

     เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง โทศกตรงกับวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ โดยมีหลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหนุศาสน์) วัดพระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย (มีชื่อเสียงทางรดน้ำมนต์) กับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ตำบลสระทะเล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทฺธสโร” ครั้นอุปสมบทแล้วก็มาอยู่วัดหนองโพ ซึ่งหลวงพ่อก็ตั้งต้นศึกษาหาความรู้เป็นการใหญ่ หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า “ท่านมีนิสัยจะทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ คิดอะไรไม่ได้เป็นไม่ยอมหยุดคิด คิดมันไปจนออกจนเข้าใจได้ ดูอะไรไม่ได้เรื่องไม่ได้ความก็คิดค้นมันไปจนแตกฉาน” เมื่อมาจำพรรษาอยู่ในวัดหนองโพ ตลอดเวลา ๗ พรรษาแรก ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและท่องคัมภีร์วินัย

 

การเรียนวิชาอาคม

 

     ในการมาอยู่วัดหนองโพพรรษาแรก เรียนวิชาอาคมกับนายพัน ชูพันธ์ ผู้ทรงวิทยาคุณอยู่ในบ้านหนองโพ ภายหลังนายพันถึงมรณกรรมแล้ว ไปศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี ณ วัดบ้านบน ตำบลม่วงหัก อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ อยู่วัดบ้านบน ๒ พรรษา ต่อมาในพรรษาที่ ๙-๑๑ หลวงพ่อได้ไปเรียนทางวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหนุศาสน์) วัดพระ ปรางค์เหลือง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ซึ่งหลวงพ่อปฏิบัติจริงจังตลอดเวลา การเรียนวิชาอาคมของหลวงพ่อนั้น หลวงพ่อจะไปศึกษาเล่าเรียนมาจากสำนักของอาจารย์ใดบ้าง ไม่ทราบได้ตลอด เท่าที่ทราบก็มีการเรียนกับนายสาบ้าง เรียนกับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล หลวงพ่อวัดเขาหน่อ ต.บ้านแดน อ.บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปรากฏว่า หลวงพ่อทำวิชาขลัง จนเป็นที่เลื่องลือมากในเรื่องของความขลัง ซึ่งเป็นที่ปรากฏว่า ประชาชนทั้งชาวบ้านและข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดที่ใกล้เคียง ตลอดไปจนจังหวัดที่ห่างไกลบางจังหวัดพากันไปมอบตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อมากมาย ขอให้หลวงพ่อรดน้ำมนต์บ้าง ขอวิชาอาคมบ้าง ขอแป้งขอผงบ้าง ขอน้ำมัน ตะกรุด ผ้าประเจียด จากหลวงพ่อ และที่แพร่หลายที่สุดก็คือ แหวนเงินหรือนิเกิล และผ้า รอยฝ่าเท้าหลวงพ่อ ผ้าประเจียด ซึ่งกิตติคุณในเรื่อง “วิชาขลัง” ของหลวงพ่อนั้นเป็นที่เลื่องลือกันแพร่หลายมานานแล้ว

 

การค้นคว้าทดลอง

 

     หลวงพ่อมีนิสัยชอบศึกษาและค้นคว้าทดลอง เช่น การสร้างเกวียนโยก และนอกจากค้นคว้าในทางประดิษฐ์ต่าง ๆแล้ว ตำรับตำราที่ครูบาอาจารย์ทำไว้แต่ก่อน ๆ บางอย่างหลวงพ่อก็นำมาทดลองด้วย เช่น วิชาเล่นแร่ คือทำแร่ตะกั่วให้เป็นเงิน และทำเงินให้เป็นทอง โดยได้ทดลองอยู่หลายปีจนถลุงเงินให้เป็นทองสำเร็จ แล้วลูกศิษย์ต่างก็พากันขอหลวงพ่อจึงนำไปขว้างทิ้งในสระน้ำ จากนั้นก็หยิบฆ้อนทุบเตา ทุบเบ้าถลุงแตกหมด แล้วก็เลิกเล่นเลิกทำตั้งแต่วันนั้น

 

การสร้างถาวรวัตถุในวัด

พ.ศ. ๒๔๓๕ หลวงพ่อสร้างกุฏิหลังแรกที่ใช้ฝาไม้กระดาน

พ.ศ. ๒๔๕๔ สร้างศาลาการเปรียญหลังแรก

พ.ศ. ๒๔๕๘ สร้างโรงอุโบสถ และสร้างพระเจดีย์ ๓ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบไว้ตรงหน้าโรงพระอุโบสถ

 

 

การบูรณปฏิสังขรณ์

 

 

กราบสาธุ!!! พุทธประวัติ "หลวงพ่อเดิม" วัดหนองโพ เทพเจ้าเแห่งเมืองสี่แคว ที่ศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรแห่งพุทธธรรม สาธุๆ

 

     หลวงพ่อนอกจากจะมีการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดหนองโพแล้ว ยังมีการปฏิสังขรณ์วัดอื่น ๆ ภายในจังหวัดนครสวรรค์อีก คือ ได้เรียงตามลำดับของการบูรณะปฏิสังขรณ์

๑. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ หอระฆัง และถาวรวัตถุอื่น ๆ เรียกว่าสร้างใหม่หมดทั้งวัดคือ วัดหนองบัว อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

๒. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ สระน้ำและอื่น ๆ ในวัดหนองหลวง อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ (อนุสรณ์การสร้างเกวียนช้างของหลวงพ่อ)

๓. โบสถ์ ศาลาการเปรียญ สิ่งก่อสร้าง วัดพังม่วง ต.โคกเดื่อ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

๔. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วัดทำนบ ต.ห้วยนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

๕. ศาลาการเปรียญ วัดหัวถนน อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

๖. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วัดหนองไผ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

๗. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วัดจิกยาว อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

๘. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วัดตะคร้อ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

๙. โบสถ์ ศาลาการเปรียญ วัดเขาล้อ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

๑๐. พระอุโบสถ วัดบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

๑๑. พระอุโบสถ วัดหนองสีนวล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

๑๒. พระอุโบสถ วัดบ้านหล้า อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์

๑๓. ศาลาการเปรียญ วันดอนคา ต.ดอนคา จ.นครสวรรค์

๑๔. ศาลาการเปรียญ วัดโคกมะขวิด อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

๑๕. ปฏิสังขรณ์มณฑปพระพุทธบาท วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

 

สมณศักดิ์

 

     หลวงพ่อเดิมได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระครูนิวาสธรรมขันธ์ รองเจ้าคณะแขวงเมืองนครสวรรค์ ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งหลวงพ่อมีอายุได้ ๕๕ ปี ๓๔ พรรษา นำมาซึ่งความปีติยินดีแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเป็นอันมาก แต่ประชาชนทั่วไปก็ยังคงเรียกหลวงพ่อในนามว่า “หลวงพ่อเดิม” ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ หลวงพ่อได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งหลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจในหน้าที่มาตลอดเวลา ๒๐ ปี เมื่อท่านล่วงเข้าวัยชรามากแล้ว ทางการคณะสงฆ์จึงได้เลื่อนหลวงพ่อขึ้นเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์

 

 

กราบสาธุ!!! พุทธประวัติ "หลวงพ่อเดิม" วัดหนองโพ เทพเจ้าเแห่งเมืองสี่แคว ที่ศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรแห่งพุทธธรรม สาธุๆ

 

บั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อ

 

     หลวงพ่อเป็นเสมือนร่มโพธิ์และร่มไทรที่มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไปอย่างไพศาล เป็นที่พึ่งพาอาศัยของประชาชนไม่เลือกหน้า เนื่องจากหลวงพ่อมีอายุยืนยาวมาก อีกทั้งร่างกายของหลวงพ่อได้ใช้ตรากตรำทำสาธารณประโยชน์อย่างมาก โดยหลังจากที่หลวงพ่อกลับจากการเป็นประธานงานก่อสร้างโบสถ์ในวัดอินทาราม (วัดใน) ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และกลับมาอยู่ในวัดหนองโพ แล้วต่อมาหลวงพ่อก็เริ่มอาพาธตั้งแต่วันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ (ตรงกับวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔) อาการเพียบหนักขึ้น บรรดาศิษยานุศิษย์และหลานเหลนต่างพากันมาห้อมล้อมพยาบาลและฟังอาการกันเนืองแน่น ด้วยความเศร้าโศกและห่วงใย เล่ากันว่า “หลวงพ่อคอยแต่สอบถามอยู่ว่า เวลาเท่าใดแล้ว ศิษย์ผู้พยาบาลก็กราบเรียนตอบไป จนถึงราว ๑๗.๐๐ น. หลวงพ่อจึงถามว่า “น้ำในสระมีพอกินกันหรือ” (เพราะบ้านหนองโพมักกันดารน้ำดังกล่าวแล้ว) ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ก็เขียนตอบว่าถ้าฝนไม่ตกภายใน ๖-๗ วันนี้ ก็น่ากลัวจะถึงกับขาดแคลนน้ำ หลวงพ่อก็นิ่งสงบไม่ถามว่ากระไรต่อไป ในทันใดก็มีกลุ่มเมฆตั้งเค้ามาและฟ้าคะนอง มิช้าฝนก็ตกห่าใหญ่น้ำฝนไหลลงสระราวครึ่งค่อนสระ พอฝนขาดเม็ด หลวงพ่อก็สิ้นลมหายใจเมื่อเวลา ๑๗.๔๕ น. คำนวณอายุได้ ๙๒ ปี ๗๑ พรรษา บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ได้ช่วยกันสรงน้ำศพหลวงพ่อแล้วบรรจุศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดหนองโพ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ครบ ๗ คืน ถึงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๙๔ และจัดให้มีการพระราชทานเพลิงในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๔

 

     หลวงพ่อเดิม ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามและยกย่องเป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” ซึ่งชาวนครสวรรค์ทุกคนยังเคารพให้ความนับถือหลวงพ่ออยู่เสมอ โดยเฉพาะทางวัดหนองโพได้สร้างมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะของหลวงพ่อ (พระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม) ขนาดเท่าองค์จริง ซึ่งหลวงพ่อเดิมท่านหล่อสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ที่มณฑป ซึ่งมีประชาชนมากราบนมัสการทุกวันมิได้ขาด และทางวัดหนองโพได้จัดงานทำบุญประจำปีปิดทอง ไหว้พระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี