อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!...เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ-สมเด็จพระเทพฯ ทรงขับร้องเพลงลาวดวงเดือนถวายสมเด็จแม่

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th

การทรงดนตรีเป็นส่วนพระองค์ในพระราชฐานนั้นมีเป็นครั้งคราว ก็จะทรงรับแขกเป็นการส่วนพระองค์ที่พระตำหนักเรือนต้นในบริเวณสวนจิตรลดา มีครั้งหนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จลงเสวยตอนค่ำ เป็นการเลี้ยงต้อนรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จกลับจากการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย

อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!...เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ-สมเด็จพระเทพฯ ทรงขับร้องเพลงลาวดวงเดือนถวายสมเด็จแม่

อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!...เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ-สมเด็จพระเทพฯ ทรงขับร้องเพลงลาวดวงเดือนถวายสมเด็จแม่

 


 

วันนั้นตรงกับวันดนตรีไทยอุดมศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่ จะหานักดนตรีก็ไม่ได้ เพราะนักเรียนและครูต่างก็ขึ้นไปเชียงใหม่กันหมด ต้องตามนักเรียนนายเรือมาบรรเลงแทนแถมตัวเก่งๆ ก็ไปเชียงใหม่กันหมด ครูยรรยง แดงกูร คุมวงนักเรียนมา และผู้เขียนก็ถูกตามเข้าไปช่วยกะทันหัน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงซออู้ ครูยรรยง สีซอด้วง เป็นวงมโหรีที่ไม่เรียบร้อยนัก เรียกว่าใช้แก้ขัด เสวยเสร็จราวสามทุ่ม

อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!...เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ-สมเด็จพระเทพฯ ทรงขับร้องเพลงลาวดวงเดือนถวายสมเด็จแม่

 

 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็มีพระราชประสงค์ทรงฟังเพลง “ลาวดวงเดือน” ซึ่งเป็นเพลงที่ทรงโปรดมาก
       รับสั่งกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ว่า “ชายร้องเพลงดาวดวงเดือนให้แม่ฟังหน่อย ร้องแบบที่แม่ชอบนะ แม่น้อยบรรเลงเพลงเข้า แล้วให้น้องเล็กฟ้อนด้วยนะ ….”
        ผู้เขียนนั่งอยู่หน้าวงดนตรี ได้ยินชัดทุกองค์ที่รับสั่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ ก็เสด็จมาประทับหน้าวงดนตรี รับสั่งเบาๆ ว่า คอยบอกเนื้อร้องด้วย จำได้ไม่หมด เนื้อยาวตั้งหลายท่อน ทรงร้องสองเที่ยวกลับ ตามแบบของกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ขนานแท้

อ่านแล้วถึงกับอมยิ้ม!...เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ-สมเด็จพระเทพฯ ทรงขับร้องเพลงลาวดวงเดือนถวายสมเด็จแม่

 

เรื่อง : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุล นักวิชาการสาขาดนตรีวิทยา ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นอาจารย์สอนประจำหลักสูตรปริญญาเอก สาขาดนตรีวิทยา วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย อาทิ รางวัลหนังสือสารคดียอดเยี่ยม “สังคีตสยาม” พ.ศ. 2529 จาองค์การยูเนสโก และ กระทรวงศึกษาธิการ


ที่มา : kanchanapisek.or.th เครือข่ายกาญจนาภิเษก
ขอขอบคุณ http://www.chaoprayanews.com/