ช่วยๆกันแชร์ด่วน!!! เครือข่ายเอ็นจีโอตรวจพบผักและผลไม้ไทย 16 ชนิดปนเปื้อนสารเคมีขั้นรุนแรง รีบเช็คว่าใช่สิ่งที่ท่านชอบทานหรือไม่?

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

ช่วยๆกันแชร์ด่วน!!! เครือข่ายเอ็นจีโอตรวจพบผักและผลไม้ไทย 16 ชนิดปนเปื้อนสารเคมีขั้นรุนแรง รีบเช็คว่าใช่สิ่งที่ท่านชอบทานหรือไม่?

น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai PAN) เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างผัก10 ชนิด ได้แก่ พริกแดง กะเพรา ถั่วฝักยาว คะน้า ผักบุ้ง ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี แตงกวา มะเขือเปราะ และมะเขือเทศ ผลไม้ 6 ชนิด คือ ส้มสายน้ำผึ้ง มะละกอ แตงโม แคนตาลูป ฝรั่ง และแก้วมังกร รวมทั้งผักผลไม้ทั้งหมด 158 ตัวอย่าง ซึ่งมีทั้งที่มีฉลากรับรองมาตรฐาน อาทิ มาตรฐานปลอดภัยเกษตรอินทรีย์ ฉลากออร์แกนิกส์ ฉลากมาตรฐานคิว จีเอพี (Q GAP) คิวจีเอ็มพี (Q GMP) และที่ไม่มีฉลากรับรองมาตรฐาน โดยเก็บตัวอย่างระหว่างวันที่ 23-29 ส.ค.ที่ผ่านมา จากห้างโมเดิร์นเทรด 3 ห้างหลัก และเก็บจากตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ 3 แห่ง ที่รังสิต จ.ปทุมธานี จ.นครปฐม และ จ.ราชบุรี จากนั้นนำไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ประเทศอังกฤษ ผลการตรวจพบผักผลไม้มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานถึงร้อยละ 56 โดยส่วนที่จำหน่ายในห้างโมเดิร์นเทรดนั้น มีสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานร้อยละ 70.2 ส่วนตลาดค้าส่งมีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานร้อยละ 54 ทั้งนี้ ผลการตรวจทั้งที่มีฉลากรับรองมาตรฐานและไม่มีฉลากรับรองก็พบว่าผักคะน้ามีสารเคมีตกค้างมากที่สุด 10 จาก 11 ตัวอย่าง รองลงมาคือ พริกแดง พบ 9 จาก 12 ตัวอย่าง ถั่วฝักยาว และกะเพรา พบ 8 จาก 12 ตัวอย่าง ผักบุ้ง 7 จาก 12 ตัวอย่าง มะเขือเปราะ 6 จาก 11 ตัวอย่าง แตงกวา 5 จาก 11 ตัวอย่าง มะเขือเทศ 3 จาก 11 ตัวอย่าง กะหล่ำปลี และผักกาดขาวพบ 2 จาก 11 ตัวอย่าง ส่วนผลไม้ที่พบสารเคมีตกค้างมากที่สุดคือส้มสายน้ำผึ้งพบ 8 จาก 8 ตัวอย่าง แก้วมังกร 7 จาก 8 ตัวอย่าง ฝรั่งพบ 6 จาก 7 ตัวอย่าง มะละกอพบ 3 จาก 6 ตัวอย่าง และแตงโมพบ 3 จาก 7 ตัวอย่าง แคนตาลูปพบ 1 จาก 7 ตัวอย่าง

“เดิมเราตรวจผัก ผลไม้ที่มีผลผลิตในช่วงหน้าแล้ง พบว่ามีสารเคมีตกค้างจำนวนมาก ซึ่งได้ส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แก้ไข ทราบว่ามีการประชุมกัน แต่ไม่ทราบว่ามีการทำเรื่องนี้อย่างไรบ้าง แต่เมื่อเรามาตรวจซ้ำในผักผลไม้ชนิดเดิม แต่เป็นผลผลิตในช่วงหน้าฝน ก็พบว่ามีสารเคมีตกค้างเหมือนเดิม บางชนิดพบมากขึ้น ที่สำคัญมีการพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตามรายชื่อวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่ห้ามใช้ในประเทศไทย คือไดโครโตฟอส เอ็นโดซัลแฟน เมทามิโดฟอส และโมโนโครโตฟอส รวมทั้งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่กรมวิชาการการเกษตรไม่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนคือ คาร์โบฟูราน และเมโทมิลในผัก ผลไม้ 29 ตัวอย่างจากทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 18.4” น.ส.ปรกชล กล่าวและว่า จากนี้จะนำข้อมูลส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมวิชาการการเกษตร อย. และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เพื่อดำเนินการต่อไป.