นึกถึงทุกครั้งซาบซึ้งน้ำตาซึม...คำฉันท์พระราชนิพนธ์ "สมเด็จพระเทพฯ" สะท้อนภาพพระตำหนักจิตรลดาฯ บ้านองค์พ่อหลวงใช้ทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

 

     ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พสกนิกรคนไทยต่างซาบซึ้งในพระราชจริยาวัตรของ  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี  จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร    สำหรับพระราชปณิธานในการดำรงชีวิตด้วยความพอเพียง  แม้พระองค์ท่านจะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความเพียบพร้อมเหนือสามัญชนทั่วไป   และทำให้กลายเป็นแบบอย่างที่คนไทยจำนวนมากยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติตนมาจนถึงปัจจุบันนี้

 

     ทั้งนี้   “ที่ประทับ”   ของ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ    คือแบบอย่างหนึ่งในความพอเพียงที่ยากหากษัตริย์องค์ใดเสมอเหมือน  ดังปรากฏข้อมูลใน  “welovethaiking”   แสดงเรื่องราวเกี่ยวเนื่อง  พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน   ในพระราชวังดุสิต    ด้วยคำว่า   “ในบ้านพ่อ”    แสดงนิยามให้เห็นภาพได้อย่างแจ่มชัดว่าไม่มีพระราชวังของพระประมุของค์ใดในโลกจะเป็นเช่นเดียวกับพระราชวังอันเป็นที่ประทับของพระประมุขแห่งแผ่นดินไทยอีกแล้ว

 

    สวนจิตรลดาเขต            พระนิเวศน์ ณ ธานี

เนาองค์พระทรงศรี     นคเรศรภูมินทร์

เขตวังมโหฬาร์              ทศนาฉมาจินต์

   แลท้องสนามติณ        ฤก็ขึ้นระเบียบเคียง

เป็นที่ ธ ทดลอง             กิจผองก็รายเรียง

   นาไร่ผิว์มองเมียง        จะเจอะพืชและยุ้งฉาง

โคนมก็มีอยู่                     พิศดู ณ ตามทาง

   บ่อปลากะไว้วาง           ก็เพาะพันธุมัจฉา

มากยิ่งละสิ่งหลาก           ละก็ยากจะพรรณนา

   ตัวอย่างก็ยกมา             ฤก็เห็นจะเพียงพอ

 

     พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “คำฉันท์ดุษฎีสังเวยและกาพย์ขับไม้กล่อมพระศรีนรารัฐราชกิริณี”  ตอน “ชมเมือง” 

นึกถึงทุกครั้งซาบซึ้งน้ำตาซึม...คำฉันท์พระราชนิพนธ์ "สมเด็จพระเทพฯ" สะท้อนภาพพระตำหนักจิตรลดาฯ บ้านองค์พ่อหลวงใช้ทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์

 

      คำฉันท์พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสามารถบอกเล่าสภาพพื้นที่ของพระตำหนักจิตรลดารโหฐานได้เป็นอย่างดี ว่า ไม่มีพระราชวังของพระประมุของค์ใดในโลกจะเป็นเช่นเดียวกับพระราชวังอันเป็นที่ประทับของพระประมุขแห่งแผ่นดินไทยอีกแล้ว 

นึกถึงทุกครั้งซาบซึ้งน้ำตาซึม...คำฉันท์พระราชนิพนธ์ "สมเด็จพระเทพฯ" สะท้อนภาพพระตำหนักจิตรลดาฯ บ้านองค์พ่อหลวงใช้ทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์

 

    ทุกตารางนิ้วของสวนจิตรลดา คือ พื้นที่ทรงงาน และสถานที่ทดลองของโครงการทดลองส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร นับแต่โปรดเกล้าฯ ให้พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นที่ประทับถาวรมาเกือบ 60 ปี 

 

นึกถึงทุกครั้งซาบซึ้งน้ำตาซึม...คำฉันท์พระราชนิพนธ์ "สมเด็จพระเทพฯ" สะท้อนภาพพระตำหนักจิตรลดาฯ บ้านองค์พ่อหลวงใช้ทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์

 

     เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรไทย เมื่อได้ผลดีแล้ว จึงพระราชทานแก่คนไทย เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ และเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการทำเกษตร 

 

      พื้นที่ประมาณ 395 ไร่ของพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มีป่าไม้สาธิต รวบรวมพรรณพืชหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ เพื่อการอนุรักษ์ขยายและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ สวนพืชสมุนไพร นาข้าวทดลองบ่อเลี้ยงปลา พื้นที่เลี้ยงโคนม โรงสีข้าวตัวอย่าง ยุ้งฉาง และโรงงานทดลองต่าง ๆ มากมาย 

นึกถึงทุกครั้งซาบซึ้งน้ำตาซึม...คำฉันท์พระราชนิพนธ์ "สมเด็จพระเทพฯ" สะท้อนภาพพระตำหนักจิตรลดาฯ บ้านองค์พ่อหลวงใช้ทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์

 

      เช่น โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงนมผงสวนดุสิต โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงบดและอัดแกลบ โรงปุ๋ยอินทรีย์ โรงผลิตแก๊สชีวภาพ โรงอบผลไม้ โรงกลั่นแอลกอฮอล์โรงเนยแข็ง และโรงเพาะเห็ด เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นโครงการทดลองและโครงการตัวอย่างในการเพิ่มผลผลิตและให้ความรู้ทางวิชาการด้านเกษตรและป่าไม้ที่เหมาะกับประเทศไทย ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานเกือบ 20,000 คน 

นึกถึงทุกครั้งซาบซึ้งน้ำตาซึม...คำฉันท์พระราชนิพนธ์ "สมเด็จพระเทพฯ" สะท้อนภาพพระตำหนักจิตรลดาฯ บ้านองค์พ่อหลวงใช้ทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์   

    เช่น โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงนมผงสวนดุสิต โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงบดและอัดแกลบ โรงปุ๋ยอินทรีย์ โรงผลิตแก๊สชีวภาพ โรงอบผลไม้ โรงกลั่นแอลกอฮอล์โรงเนยแข็ง และโรงเพาะเห็ด เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นโครงการทดลองและโครงการตัวอย่างในการเพิ่มผลผลิตและให้ความรู้ทางวิชาการด้านเกษตรและป่าไม้ที่เหมาะกับประเทศไทย ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานเกือบ 20,000 คน 

นึกถึงทุกครั้งซาบซึ้งน้ำตาซึม...คำฉันท์พระราชนิพนธ์ "สมเด็จพระเทพฯ" สะท้อนภาพพระตำหนักจิตรลดาฯ บ้านองค์พ่อหลวงใช้ทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์

 

     พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณทุ่งส้มป่อย ซึ่งเป็นทุ่งนาระหว่างพระราชวังสวนดุสิตกับวังพญาไท เพื่อทรงใช้เป็นที่รโหฐานสำหรับทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ รวมทั้งราชเสวกจะได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นการส่วนพระองค์ 

 

     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์พระตำหนัก เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2456 ต่อมาพระราชทานนามทุ่งส้มป่อย ว่า “สวนจิตรลดา”  และพระราชทานนามพระตำหนักว่า “พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน” ก่อสร้างแล้วเสร็จและโปรดเกล้าฯ ให้มีงานพระราชพิธีราชคฤหมงคล ในวันที่ 14 สิงหาคม พุทธศักราช 2456   บริเวณรอบพระตำหนักมีการขุดคูและทำกำแพงรั้วเหล็กโดยรอบ มีประตู 4 ทิศ พระราชทานชื่อตามเจ้าของสวนจิตรลดา และท้าวโลกบาล 

 

คือ ทิศตะวันออกชื่อ พระอินทร์อยู่ชม

ทิศใต้ชื่อ พระยมอยู่คุ้น

ทิศตะวันตกชื่อ พระวรุณอยู่เจน

และทิศเหนือชื่อ พระกุเวนอยู่เฝ้า

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ , welovethaiking.com