ชมความงดงาม !! เรือใบตระกูลมด ผลงานจากฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ (ภาพ+รายละเอียด)

ชมความงดงามเรือใบตระกูลมด

ชมความงดงาม !! เรือใบตระกูลมด ผลงานจากฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ (ภาพ+รายละเอียด)

 

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในงานช่างตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ใน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทรงประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง เช่น เครื่องร่อน และเรือรบจำลอง เป็นต้น หลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วทรงมีพระราชภารกิจต่าง ๆ มากมาย เพราะทรงตระหนักว่าประโยชน์สุขของมหาชน ชาวสยามย่อมต้องมีความสำคัญก่อนเสมอ จึงทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่างเพียงเล็กน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่งและเนื่องจากสนพระราชหฤทัยในงานช่างมาแต่เดิม แล้วจึงโปรดที่จะต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เองและทรงทดลองแล่นเรือในสระภายในสวนจิตรลดา เรือใบฝีพระหัตถ์ที่สำคัญมี ๓ ประเภท ได้แก่ เรือใบประเภทเอ็นเตอร์ไพรส์ (International Enterprise Class), เรือใบประเภทโอเค (International OK Class) และเรือใบประเภทม็อธ (International Moth Class  เรือใบลำแรกที่ทรงต่อเองเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ เป็นเรือใบประเภท เอ็นเตอร์ไพรส์ (InternationalEnterprise Class) ชื่อ "เรือราชปะแตน" และลำต่อมาชื่อ "เรือเอจี" โดยทรงต่อตามแบบสากล         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแข่งขันแล่นใบหลายครั้งทั้งในและนอกประเทศ เช่น ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ ทรงใช้เรือราชปะแตนแข่งขันกับ ดยุค ออฟ เอดินเบอระ (The Duke of Edinburgh) พระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ โดยใช้เส้นทางไปกลับ พัทยา - เกาะล้านในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อเรือใบ ประเภทโอเค (International OK Class) ตามแบบสากลลำแรกที่ทรงต่อชื่อ "เรือนวฤกษ์" หลังจากนั้นทรงต่อเรือใบ ประเภทนี้อีกหลายลำ เช่น เรือเวคา ๑, เรือเวคา ๒ และเรือเวคา ๓ เป็นต้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบและ ต่อเรือใบ ประเภทม็อธจำนวนหลายลำ เรือประเภทนี้เป็นเรือที่กำหนดความยาวตัวเรือไม่เกิน ๑๑ ฟุต เนื้อที่ใบ ไม่เกิน ๗๕ ตารางฟุต ส่วนความกว้างของเรือ รูปร่างลักษณะของเรือ ความสูงของเสา ออกแบบได้โดยไม่จำกัด วัสดุที่ใช้สร้างเรืออาจทำด้วยโลหะ ไฟเบอร์กลาส หรือไม้ก็ได้ เรือม็อธที่ทรงออกแบบและทรงต่อด้วยพระองค์เองในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ - ๒๕๑๐ มีอยู่ ๓ แบบ ซึ่งได้พระราชทานชื่อดังนี้ เรือมด, เรือซูเปอร์มด และเรือไมโครมด

  ชมความงดงาม !! เรือใบตระกูลมด ผลงานจากฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ (ภาพ+รายละเอียด)

 

เรือใบมด มีขนาดตัวเรือยาว ๑๑ ฟุต กว้าง ๔ ฟุต ๗ นิ้ว เสาเดี่ยว เนื้อที่ใบ ๗๒ ตารางฟุต เป็นเรือใบขนาดเล็กเหมาะกับคนไทย น้ำหนักเบาสะดวกในการเคลื่อนย้ายเก็บ รักษาง่าย มีคุณสมบัติว่องไว แล่นได้เร็ว และมีราคาถูก ข้อดีต่าง ๆ นี้ทำให้เรือใบมดที่ทรงออกแบบได้มาตรฐาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจดลิขสิทธิ์เป็นสากลประเภท International Moth Class ที่ประเทศอังกฤษ
 - เรือใบซูปเปอร์มด เป็นเรือใบมดที่ทรงปรับปรุงแบบใหม่ ทรงออกแบบตัวเรือยาว ๑๑ ฟุต เท่าเรือมดแต่ความกว้างเพิ่มขึ้น คือกว้าง ๔ ฟุต ๑๑ นิ้ว ท้องแบน น้ำหนักประมาณ ๓๔ กิโลกรัม เนื้อที่ใบโตเท่าเดิม การทรงตัวดี ความเร็วมีมากขึ้น ตัวเรือคงทนแข็งแรง สู้คลื่นลมได้ดี และมีความปลอดภัยสูง เรือใบซูปเปอร์มดนี้ใช้แข่งขันกีฬานานาชาติเป็นครั้งแรกในกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๔ ณ ประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ และใช้ในการแข่งขันกีฬานานาชาติทุก ๆ ครั้งที่แข่งในประเทศไทย ครั้งหลังสุดใช้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ ๑๓ ณ ประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๒๘

ชมความงดงาม !! เรือใบตระกูลมด ผลงานจากฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ (ภาพ+รายละเอียด) ชมความงดงาม !! เรือใบตระกูลมด ผลงานจากฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ (ภาพ+รายละเอียด)

 

- เรือใบไมโครมด เป็นเรือใบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบโดยให้มีขนาดเล็กกว่าเรือมด คือ ตัวเรือยาว ๗ ฟุต ๙ นิ้ว กว้าง ๓ ฟุต ๔ นิ้ว เป็นเรือขนาดเล็กมาก เหมาะสำหรับเด็กและคนร่างเล็ก วิธีการสร้างเรือใบมดตามแบบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีวิธีการสร้างที่ง่าย ประหยัดและสะดวก ใช้เครื่องมีอช่างไม้ธรรมดา ๆ ก็สามารถทำได้ วัสดุที่ใช้ล้วนหาได้ในประเทศทั้งสิ้น ขั้นตอนการสร้างเรือใบมดตามแบบของพระองค์ท่าน มีขั้นตอนหลัก ๔ ขั้นตอน คือ
๑. เปลือกเรือทำด้วยไม้ยมหอมหนา ๔ มิลลิเมตร จัดทำข้างขวา ๑ แผ่น ข้างซ้าย ๑ แผ่น รูปแบบและขนาดกำหนดไว้ในแบบแปลนก็จะได้เปลือกเรือตามต้องการ ส่วนนี้ทรงเรียกว่า "ปลาแห้ง"
๒. ประกอบเปลือกเรือหรือปลาแห้งเข้ากับแผ่นปิดท้ายเรือ ขอบด้านล่างของปลาแห้งผูกติดกันด้วยลวด ตามรูที่เจาะไว้ ปลาแห้งก็จะห่อตัวเป็นรูปตัวเรือ แล้วทากาวหยอดทิ้งไว้กาวจะแห้งและติดแน่นแล้ว ตัดลวดที่ผูกไว้ชั่วคราวออก เสริมผ้าใยแก้วทับแนวให้แข็งขึ้น ไม่ต้องสร้างกงเรือ วิธีนี้เป็นวิธีใหม่ที่พระองค์ทรงคิดค้นเพื่อให้เรือแข็งแรงและมีน้ำหนักเบา
๓. ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น ไม้กระดูกงู ทวนหัวเรือ อะเส ฝักมะขาม เต้ารองรับ เสา ฝากั้นภายในขอบที่นั่ง แล้วทาสีภายในให้ทั่ว ทา ๒ ถึง ๓ เที่ยวเพื่อรักษาเนื้อไม้ไม่ให้น้ำดูดซึมได้ ซึ่งจะทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
 ๔. ปิดแผ่นดาดฟ้าเรือ แล้วขัดแต่งผิวเรือภายนอกให้เรียบ แล้วจึงพ่นสีเรือตามต้องการ เมื่อสีแห้งดีแล้ว จึงเริ่มประกอบอุปกรณ์แล่นใบ เช่น พุกผูกเชือก รอกต่าง ๆ เชือก เสา เพลา ใบ และชุดหางเสือเรือ เป็นอันเสร็จพิธี
         เรือใบลำสุดท้ายที่ทรงออกแบบและต่อด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐ คือ "เรือโม้ก" (Moke) เป็นเรือที่ทรงทดลองสร้างโดยทรงออกแบบให้มีลักษณะผสมระหว่างเรือโอเค และเรือซุปเปอร์มด คือทรงออกแบบให้มีขนาดของลำเรือใหญ่กว่าเรือซุปเปอร์มด โดยให้มีขนาดใกล้เคียงเรือโอเค และใช้อุปกรณ์เสาและใบของเรือโอเค หลังจากทรงออกแบบเรือโม้กแล้ว พระองค์ก็มิได้ทรงออกแบบเรือใบอีก เนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก