พฤติกรรม ผู้นำหญิงคนแรกเกาหลีใต้  คล้ายกับ ผู้นำหญิงคนแรกของไทย ต่างกันที่.....

ตำรวจระบุว่า ประชาชนราว 43,000 คนอยู่ในการชุมนุมจุดเทียนในช่วงค่ำ มีผู้คนมารวมตัวกันถึง 100,000 คน ทำให้มันเป็นหนึ่งในการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุด

การชุมนุมของชาวเกาหลีใต้หลายหมื่นคนประท้วงใจกลางกรุงโซลในค่ำคืนที่ผ่านมา กลายหนึ่งในการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดในเมืองเหลวงของประเทศนี้ในรอบหลายปี เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดี พัค กึน ฮเย ลาออกจากกรณีข่าวฉาวใช้อิทธิพลในทางมิชอบ
       
       ตำรวจระบุว่า ประชาชนราว 43,000 คนอยู่ในการชุมนุมจุดเทียนในช่วงค่ำ มีผู้คนมารวมตัวกันถึง 100,000 คน ทำให้มันเป็นหนึ่งในการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุด 

 

พฤติกรรม ผู้นำหญิงคนแรกเกาหลีใต้  คล้ายกับ ผู้นำหญิงคนแรกของไทย ต่างกันที่.....

ประธานาธิบดี พัค กึน ฮเย ถูกโจมตีจากข่าวฉาวที่เกี่ยวข้องกับเพื่อนเก่าคนหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าใช้ความสนิทสนมกับประธานาธิบดีเพื่อก้าวก่ายกิจการภายใน โดยผู้นำเกาหลีใต้ ได้ให้สัญญาว่าจะให้ความร่วมมือกับคณะอัยการในการสืบสวน ชาวเกาหลีใต้ไม่พอใจอย่างมากกับการเปิดเผยเรื่องดังกล่าว คะแนนความนิยมของเธอร่วงลงเหลือเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ จากการสำรวจครั้งล่าสุด       
       

     ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ 17,600 คนและเครื่องมือ 220 ชิ้นรวมถึงรถบัสและสิ่งกีดขวางเคลื่อนที่ไปยังการประท้วง  ตำรวจปราบจลาจลตั้งแถวตามตรอกและถนนที่นำไปสู่ทำเนียบสีฟ้าในขณะที่ส่วนหลักของฝูงชนเริ่มการเดินขบวนผ่านใจกลางกรุงโซล

พฤติกรรม ผู้นำหญิงคนแรกเกาหลีใต้  คล้ายกับ ผู้นำหญิงคนแรกของไทย ต่างกันที่.....

พัค กึน ฮเย  เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้จากพรรคแซนูรี นอกจากนี้เธอยังเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  และเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ที่เกิดระหว่างสงครามเกาหลีอีกด้วย

พัค กึน ฮเย เป็นบุตรสาวคนโตของอดีตประธานาธิบดี พัค ช็อง ฮี  จบ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากมหาวิทยาลัยโซกัง โซล เธอเคยทำหน้าที่สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ของเกาหลีใต้ ในฐานะบุตรสาวของประธานาธิบดี เป็นเวลา 5 ปี หลังจากมารดาของเธอเสียชีวิตจากการลอบสังหารเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1974  จนกระทั่งประธานาธิบดีพัค ช็อง-ฮี ถึงแก่อสัญกรรมจากการลอบสังหารเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979 
    เธอนั้นขึ้นรับหน้าที่ เป็นผู้นำประเทศเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556  ซึ่งที่ผ่านมานั้น เกาหลีใต้ ยังไม่เคยมีผู้นำคนใดทีจะต้องลาออก หรือจากตำแหน่ง โดยที่ยังไม่ครบวาระ 5 ปีแม้แต่คนเดียว แต่เหตุการณ์ ในครั้งนี้ ก็อาจจะทำให้ตำแหน่งเก้าอี้ของเธอนั้นไม่มั่นคงเสียแล้ว

     สถานการณ์ของเธอนั้น ในฐานะผู้นำหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ ชะตากรรม ของเธอคล้าย ๆ กับผู้นำหญิงคนแรกของไทย ไม่ค่อยผิดเพี้ยนมากนัก เพราะทั้งสอง นั้นมีผู้อยู่เบื้องหลังในการชักใย หรือ ออกคำสั่งให้ทำหน้าที่บริหารประเทศ แต่ผิดกันตรงที่ ผู้นำเกาหลีใต้ นั้นออกมายอมรับ และ ยอมขอโทษต่อประชาชน และยินดีให้กระบวนการยุติธรรมสอบสวนเธอ แต่ อดีตผู้นำหญิงคนแรกของไทย กลับปฏิเสธ กระบวนการยุติธรรมของประเทศโดยสิ้นเชิง

    สถานการณ์ในเกาหลีใต้ ขณะนี้ ไม่สู้จะดีนัก ก็ต้องดูว่า ผู้นำหญิงคนนี้ จะทนต่อแรงกดดันมากน้อยเพียงใด และ เธอจะตัดสินใจ ทิ้งตำแหน่งผู้นำประเทศของเธอหรือไม่ อีกไม่นานคงทราบกัน

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์