ชัด ยิ่งกว่า ชัด "สหรัฐฯ" คือผู้ก่ออาชญากรรมสงคราม อัฟกานิสถาน

ศาลอาญาระหว่างประเทศ ( ไอซีซี ) เผยแพร่รายงานของนางฟาตู เบนซูดา อัยการสูงสุด มีสาระสำคัญเรื่องการพบข้อมูลพื้นฐานในเบื้องต้นที่เชื่อถือได้ ว่าเจ้าหน้าที่ในสังกัดกองทัพสหรัฐฯ ต้องสงสัยทรมานร่างกายของผู้

สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้รายงานว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศ ( ไอซีซี ) เผยแพร่รายงานของนางฟาตู เบนซูดา อัยการสูงสุด มีสาระสำคัญเรื่องการพบข้อมูลพื้นฐานในเบื้องต้นที่เชื่อถือได้ ว่าเจ้าหน้าที่ในสังกัดกองทัพสหรัฐฯ ต้องสงสัยทรมานร่างกายของผู้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวอย่างน้อย 61 คนในอัฟกานิสถาน ระหว่างวันที่ 1 พ.ค. 2546 ถึง 31 ธ.ค. 2557  โดยใช้การดูแล อย่างโหดร้าย รวมถึงการทรมาน และละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

รายงานของเบนซูดายังมีการตั้งสมมติฐานเชื่อมโยงเจ้าหน้าที่ของสำนักข่าวกรองกลาง ( ซีไอเอ ) อีกจำนวนหนึ่ง ว่าร่วมกันทรมานร่างกายและละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้อยู่ภายใต้การควบคุมตัวอย่างน้อย 27 คน ตามคุกลับ หลายแห่ง ที่กระจายอยู่ในอัฟกานิสถาน โปแลนด์ โรมาเนียและลิทัวเนีย ระหว่างเดือนธ.ค. 2545- มี.ค. 2551 อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ล่วงละเมิดส่วนใหญ่ซึ่งเข้าข่ายอาชญากรรมสงคราม เกิดขึ้นระหว่างปี 2546-2547



ทั้งนี้ คณะตุลาการของไอซีซีจะมีมติร่วมกันอีกครั้ง ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ ว่าจะขอใช้อำนาจตามกฎหมายในการเปิดการสืบสวนสอบสวนในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการหรือไม่ ขณะที่ ร.อ.เจฟฟ์ เดวิส โฆษกกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ กล่าวเพียงว่ากำลังรอรายละเอียดที่ชัดเจนกว่านี้จากไอซีซี เพื่อเตรียมดำเนินการในลำดับต่อไป ด้านกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯปฏิเสธแสดงความคิดเห็นต่อรายงานดังกล่าว ที่หากไอซีซีได้รับอำนาจให้ดำเนินการอย่างเป็นทางการจริง จะถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่อาจมีการดำเนินคดีกับพลเมืองของสหรัฐฯ ทั้งที่ไม่ได้ร่วมให้สัตยาบันกับไอซีซี


ไอซีซีก่อตั้งเมื่อปี 2545 ตามกรอบของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ถือเป็นศาลสถิตยุติธรรมเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีอำนาจในการพิพากษาคดีอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ปัจจุบันมี 124 รัฐร่วมเป็นภาคี  ยกเว้น 3 ประเทศมหาอำนาจคือสหรัฐ รัสเซีย และจีน โดยในส่วนของสหรัฐนั้น แม้ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมเมื่อปี 2543 แต่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุช ถอนชื่อในอีก 2 ปีต่อมา โดยอ้างเหตุผลว่าชาวอเมริกันอาจได้รับการพิพากษาอย่างไม่เป็นธรรม
 
ขณะที่การที่คดีส่วนใหญ่ของไอซีซีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและตัดสินไปแล้วเกิดขึ้นในแอฟริกา สร้างความไม่พอใจอย่างหนักให้แก่หลายประเทศในภูมิภาค ซึ่งแอฟริกาใต้ บุรุนดี และแกมเบีย แสดงความประสงค์ขอถอนตัวออกจากการเป็นภาคีแล้ว 

ชัด ยิ่งกว่า ชัด "สหรัฐฯ" คือผู้ก่ออาชญากรรมสงคราม อัฟกานิสถาน

 

 

ถ้าย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ทางด้านสำนักข่าวเอเอฟพี รายงานการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯใน วันพฤหัสบดี ที่ 3 พฤศจิกายน ฆ่าชีวิตพลเรือนอัฟกานิสถาน ในจังหวัดคุนดุซ ทางภาคเหนือ ไปอย่างน้อย 30 ศพ ในนั้นมีทั้งผู้หญิงและเด็ก ปฏิบัติการที่เกิดขึ้นหลังจากตอลิบานจู่โจมสังหารทหารอเมริกาไป 2 นาย ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมอเมริกาและผู้บัญชาการกองกำลังนาโต บอกเสียใจที่ทราบข่าวกำลังพลโดนปลิดชีพ แต่ไม่พูดถึงประชาชนอัฟกันผู้เคราะห์ร้ายแต่อย่างใด
       

 

 

 

 


       ปฏิบัติการโจมตีดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดการประท้วงที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกในเมืองคุนดุซ  ญาติของเหยื่อนำร่างไร้วิญญาณที่ขาดวิ่นของเหล่าเด็กน้อยขึ้นรถกระบะแห่ศพไปตามท้องถนนสายต่างๆทั่วเมืองคุนดุซ
       
       เหตุสังหารอย่างโหดเหี้ยมย้ำให้เห็นถึงสถานการณ์ความมั่นคงที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ หลังจากตอลิบานบุกยึดเมืองคุนดุซเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี ขณะที่กองกำลังอัฟกานิสถานที่นำโดยนาโต ประสบปัญหาในความพยายามควบคุมพวกก่อความไม่สงบ

ด้วยกองกำลังอัฟกานิสถานและทหารพันธมิตรที่กำลังปฏิบัติการร่วมปราบปรามตอลิบาน บริเวณชานเมืองถูกลอบโจมตี ส่งผลให้พวกเขาต้องร้องขอการสนับสนุนทางอากาศ
       
       "พลเรือนอัฟกัน 30 คนเสียชีวิตในปฏิบัติการทิ้งระเบิดและอีก 25 คนได้รับบาดเจ็บ" มาห์มูด ดานิช โฆษกจังหวัดบอกกับเอเอฟพี ส่วนโฆษกของตำรวจยืนยันยอดเหยื่อจำนวนเดียวกัน พร้อมระบุว่าในบรรดาผู้เสียชีวิตนั้นมีเด็กในวัยทารกรวมอยู่ด้วยหลายคน โดยเด็กเล็กสุดมีอายุแค่ 3 เดือน "พวกเขากำลังนอนหลับอยู่ในบ้านตอนที่ถูกโจมตีโดยทหารของพันธมิตร"
       
       ในถ้อยแถลงสั้นๆผ่านทวิตเตอร์ นาโตยอมรับว่ากองกำลังสหรัฐฯอยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีทางอากาศดังกล่าว "ปฏิบัติการทางอากาศในคุนดุซ เพื่อปกป้องกองกำลังมิตรสหายที่ถูกโจมตี ทุกคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับการเสียชีวิตของพลเรือนจะมีการสืบสวน"
       
       ทาซา กุล กรรมกรวัย 55 ปี หนึ่งในผู้ชุมนุมที่ปักหลักด้วยความโกรธกริ้วด้านนอกของสำนักงานผู้ว่าการรัฐคุนดุซ ได้นำศพสมาชิกครอบครัว 7 คนใส่รถ 3 ล้อ มาประท้วง "หัวใจของผมแหลกสลาย ผมต้องการรู้ว่า ทำไมเด็กๆผู้บริสุทธิ์เหล่านี้ถึงต้องถูกสังหาร แล้วไหนล่ะต่อลิบาน ไม่มีเลย มีแต่เด็กผู้บริสุทธิ์ไร้เดียงสาเท่านั้น"


       
       เหตุสูญเสียพลเรือนโดยฝีมือของกองกำลังนาโต เป็นหนึ่งในประเด็นที่โต้เถียงกันหนักสุดในสงครามต่อสู้กับกลุ่มก่อความไม่สงบที่ยืดเยื้อมา 15 ปี

ประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ของอัฟกานิสถาน บอกว่ารู้สึกเศร้าใจอย่างยิ่งต่อเหตุเข่นฆ่าดังกล่าว พร้อมเรียกร้องกองทัพทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้พลเรือนต้องมาสูญเสียเลือดเนื้อ "ศัตรูของประชาชนอัฟกานิสถานใช้บ้านของพลเรือนในคุนดุซเป็นโล่ป้องกัน ผลก็คือทำให้เพื่อนร่วมชาติของเราจำนวนหนึ่งถูกฆ่า ในนั้นรวมถึงผู้หญิงและเด็ก"

 


       
       การถล่มทางอากาศดังกล่าวเกิดขึ้นตามหลังการสู้รบอันดุเดือดกับพวกก่อความไม่สงบที่สังหารทหารอเมริกา 2 นายและกองกำลังพิเศษอัฟกัน 3 นาย ระหว่างปฏิบัติการต่อต้านตอลิบานในคุนดุซ โดยทหารสหรัฐฯเหล่านั้นกำลังช่วยเหลือทหารอัฟกันเข้าเคลียร์ที่มั่นแห่งหนึ่งของพวกตอลิบานและขัดขวางปฏิบัติการต่างๆของทางกลุ่ม
       
       "ในนามของกองกำลังสหรัฐฯและอัฟกานิสถาน การสูญเสียในวันนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวและเพื่อนๆของเหล่านายทหารของเรา ที่ต้องมาจบชีวิตลงในวันนี้" จอห์น นิโคลสัน”ผู้บัญชาการกองกำลังนาโตและสหรัฐฯในอัฟกานิสถานระบุ "แม้มีเหตุการณ์น่าเศร้าในวันนี้ แต่เราแน่วแน่ในสัญญาของเราที่จะช่วยเหลือสหายอัฟกันปกป้องประเทศของพวกเขา"
       
       ด้านนายแอช คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ บอกว่าเขาเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ทราบข่าวว่าทหารอเมริกา 2 นายเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ 4 นายในอัฟกานิสถาน "ทหารของเขากำลังทำหน้าที่เพื่อช่วยชาวอัฟกันปกป้องประเทศของพวกเขา ในขณะเดียวกันก็ปกป้องแผ่นดินของเราจากพวกที่จะทำอันตรายกับเรา"

 

พอเกิดเหตุขึ้นมาทางองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) สืบสวนข้อกล่าวหาที่ว่า พลเรือนอย่างน้อย 32 คน เสียชีวิตในการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯในจังหวัดคุนดุซ ของอัฟกานิสถานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  การโจมตีเกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าวันที่ 3 พฤศจิกายน  จุดชนวนการประท้วงในเมืองคุนดุซ โดยญาติของผู้เสียชืวิตที่ส่วนใหญ่ถูกระบุว่าเป็นเด็กนั้นได้นำศพ มาแห่ไปรอบ ๆ เมือง คุนดุซ เพื่อประท้วงต่อการกระทำดังกล่าว

 

             
       กองกำลังสหรัฐฯ ยอมรับว่า การโจมตีดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้พลเรือนบาดเจ็บล้มตาย และให้คำมั่นว่าจะสืบสวนเหตุการณ์นี้อย่างเต็มที่ เป็นเหตุการณ์ ครั้งที่สองในรอบหนึ่งปีด้วย ที่การโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯผิดพลาดในเมืองดังกล่าว 

เมื่อปีที่แล้ว การโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ ระหว่างการสู้รบได้สร้างความเสียหายแก่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่ดำเนินงานโดยองค์การแพทย์ไร้พรมแดน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม คร่าชีวิตคน 42 คน และนำมาซึ่งเสียงวิจารณ์จากนานาชาติ
       
       


 

ทาดามิจิ ยามาโมโตะ ทูตพิเศษยูเอ็นประจำอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นหน่วยภารกิจของยูเอ็นในอัฟกานิสถาน (UNAMA) ได้ประกาศว่า พวกเขากำลังสืบสวนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว
       
       “สิ่งที่พบในเบื้องต้น บ่งชี้ว่า ปฏิบัติการทางอากาศครั้งนั้น ทำให้พลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 32 คน และบาดเจ็บอีก 19 คน พวกเขาส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก” 
       
       “การสูญเสียชีวิตของพลเรือนเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ และบ่อนทำลายความพยายามที่จะสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในอัฟกานิสถาน เมื่อดำเนินปฏิบัติการทางอากาศ กองกำลังนานาชาติควรใช้มาตรการทุกอย่างที่เหมาะสม เพื่อลดความเสียหายต่อพลเรือนให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการโจมตีทางอากาศอย่างรอบด้าน”

       
   ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ทางกองทัพสหรัฐฯ ได้ออกมาพูดถึงเฉพาะในกรณีที่ ทหารของตนนั้นเสียชีวิต จากการโจมตีก่อนหน้านั้น แต่ไม่ได้พูดถึงความผิดพลาดของกองทัพสหรัฐฯ ที่ดำเนินการจนทำให้พลเรือนเสียชีวิตดังกล่าว

 

   ซึ่งถ้าว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว สหรัฐฯ เป็นผู้ที่สร้างความปั่นป่วนให้โลก และ ใช้กำลังทหารเข้าไปสร้างความวุ่นวายให้สถานการณ์ในประเทศต่าง ๆ นั้นยิ่งบานปลายมากขึ้นมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ในอัฟกานิสถาน หรือว่าในซีเรีย และ สิ่งที่เราได้เห็นผ่านสื่อนั้นคือความผิดพลาดของการปฎิบัติการ ที่เกิดขึ้นทำให้พลเรือน เสียชีวิตนับครั้งไม่ถ้วน แม้แต่การถล่มโรงพยาบาล สหรัฐฯ ก็อ้างความผิดพลาดมาแล้วเช่นกัน ซึ่งในสถานการณ์สงคราม นั้นโรงพยาบาล จะเป็นสถานที่ต้องห้ามในการที่จะทำการจู่โจม แต่เพราะสหรัฐฯ คิดว่าตัวเองใหญ่ ควบคุมองค์กรต่าง ๆ ในโลกนี้ได้ โดยเฉพาะสหประชาชาติ จึงทำอะไร ที่ไม่เกรงกลัวมาโดยตลอด ดังนั้น เวลานี้ต้องดูว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศ ( ไอซีซี ) จะกล้าลงดาบสหรัฐฯ หรือไม่

ชัด ยิ่งกว่า ชัด "สหรัฐฯ" คือผู้ก่ออาชญากรรมสงคราม อัฟกานิสถาน

 

 

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์