เพื่อพ่อหลวงบนฟ้า!! ชาวสะเดาร่วมใจตามรอยพระราชดำริ ฟื้นแปลงดินแล้งเป็นท้องทุ่งเขียวขจีด้วยภูมิปัญญา "นาโยน"

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th/

 

เพื่อพ่อหลวงบนฟ้า!! ชาวสะเดาร่วมใจตามรอยพระราชดำริ ฟื้นแปลงดินแล้งเป็นท้องทุ่งเขียวขจีด้วยภูมิปัญญา "นาโยน"

 

 

     นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของของชาว อ.สะเดา เมื่อวันนี้ (23 พ.ย.) นายบุญพาศ รักนุ้ย นายอำเภอสะเดา ได้เปิดโครงการส่งเสริมการทำนาโยนเพื่อลดต้นทุนการผลิตขึ้นเป็นที่แรกของ อ.สะเดา และเป็นการเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องของแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีชาวบ้านนักเรียนและข้าราชการเข้าร่วมและมีการยืนถวายความอาลัย 89 วินาทีเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 9 ที่บ้านตะโล๊ะ ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา

 

เพื่อพ่อหลวงบนฟ้า!! ชาวสะเดาร่วมใจตามรอยพระราชดำริ ฟื้นแปลงดินแล้งเป็นท้องทุ่งเขียวขจีด้วยภูมิปัญญา "นาโยน"

 

 

 

     โดยนายบุญพาศ กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการทำนาโยนเพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นการสาธิตการทำนาโยนเพื่อให้เกษตรกรนำไปปรับใช้ รวมถึงนาดำซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิม และนาหยอดซึ่งเป็นวิธีการสมัยใหม่ที่อาศัยเครื่องจักร พื้นที่บ้านตะโล๊ะมีเนื้อที่ประมาณ 270 ไร่ ในอดีตที่นาถูกทิ้งให้รกร้าง ต่อมาชาวบ้านได้รวมตัวกันฟื้นฟูและอนุรักษ์การทำนาไม่ให้สูญหาย มีสมาชิกทั้งสิ้น 35 คน ทำนาบนเนื้อที่ 136 ไร่ และทำได้ปีละครั้งเพราะต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก

 

 

เพื่อพ่อหลวงบนฟ้า!! ชาวสะเดาร่วมใจตามรอยพระราชดำริ ฟื้นแปลงดินแล้งเป็นท้องทุ่งเขียวขจีด้วยภูมิปัญญา "นาโยน"

 

 

     พันธุ์ข้าวที่นำมาปลูกได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวเหนียวดำ ข้าวหอมมะลิ 105 และข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผลผลิตระยะแรกเน้นที่การบริโภคเอง เมื่อเหลือกินจึงส่งขายในนามกลุ่มผลิตข้าวบ้านตะโล๊ะ และส่วนใหญ่จำหน่ายในรูปแบบของที่ระลึกตามหน่วยงานราชการ ราคาถุงละ 50-70 บาท

 

เพื่อพ่อหลวงบนฟ้า!! ชาวสะเดาร่วมใจตามรอยพระราชดำริ ฟื้นแปลงดินแล้งเป็นท้องทุ่งเขียวขจีด้วยภูมิปัญญา "นาโยน"

 

 

     ทั้งนี้ นายอำเภอสะเดา ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนของวิธีการทำนาโยนนั้น ทางเจ้าหน้าที่เกษตรได้มาแนะนำให้แก่เกษตรกรชาวนาที่บ้านตะโล๊ะเป็นที่แรกใน อ.สะเดา เพื่อลดค่าใช้จ่ายและความรวดเร็วในการปลูกนอกเหนือจากการทำนา และใช้เครื่องจักรปลูกข้าว ยังเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าด้วยกัน และต่อยอดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร สำหรับผลผลิตในฤดูการผลิตที่ผ่านมาเฉลี่ยไร่ละ 200-300 กิโลกรัม และเป็นข้าวที่มีคุณภาพ โดยหลังจากนี้ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่บ้านตะโล๊ะจะขยายพื้นที่การปลูกให้เพิ่มขึ้น และหาช่องทางด้านการตลาดเพื่อรับมือราคาข้าวตกต่ำ

 

 

เพื่อพ่อหลวงบนฟ้า!! ชาวสะเดาร่วมใจตามรอยพระราชดำริ ฟื้นแปลงดินแล้งเป็นท้องทุ่งเขียวขจีด้วยภูมิปัญญา "นาโยน"

 

 

 

เรียบเรียงโดย กำพลาภร สำนักข่าวทีนิวส์

ขอบคุณข้อมูล ผู้จัดการออนไลน์