เศรษฐกิจดีขึ้น!!! สภาพัฒน์เผยสัดส่วนคนจนลดเหลือ 7.2% จากเดิม 10.5% เหตุรัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนาสินค้าเกษตร

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยผ่านบทความเรื่อง “การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม” ว่า ความยากจนในปี 2558 มีแนวโน้มดีขึ้น โดยสัดส่วนคนจน ลดลงเหลือ 7.2 % จากที่ในปี 2557 มีสัดส่วนความยากจนอยู่ 10.5% โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร และลดรายจ่าย ต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตร การลดและควบคุมค่าเช่านา การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพและบรรเทาปัญหาหนี้สิน การจัดหาตลาดและที่ดินทำกิน ตลอดจนการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กทั่วประเทศ  ส่วนการกระจายรายได้ พบว่า สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ลดลง เหลือ 0.445 ในปี 2558 จาก 0.465 ในปี 2556 แสดงให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำลดลง แต่ยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งเมื่อพิจารณาสัดส่วนรายได้ของประชากร จำแนกตามระดับรายได้ พบว่า กลุ่มประชากร 10% มีรายได้สูงสุดมีสัดส่วนถือครองรายได้สูงถึง 35% สูงกว่าประชากร 10% ที่มีรายได้ต่ำสุดประมาณ 22 เท่า ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง

 

 

เศรษฐกิจดีขึ้น!!! สภาพัฒน์เผยสัดส่วนคนจนลดเหลือ 7.2% จากเดิม 10.5% เหตุรัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนาสินค้าเกษตร

นายปรเมธี กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำด้านสินทรัพย์ พบว่า สินทรัพย์ทางการเงินกระจุกอยู่ในคนจำนวนน้อย โดยบัญชีเงินฝาก ประมาณ 0.1% ของบัญชีทั้งหมด มีวงเงินฝากสูงถึง 49.2% ของเงินฝากทั้งหมด ขณะที่การถือครองที่ดินของกลุ่มประชากร 10% ที่มีรายได้สูงสุดมีสัดส่วนถือครองที่ดิน 61.5% ซึ่งสูงกว่าประชากรที่เหลืออยู่ 90% ที่มีสัดส่วนการถือครองที่ดินเพียง 38.5% ส่วนความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงบริการสังคม ในส่วนของบริการภาครัฐ แม้จะมีการขยายการให้บริการอย่างทั่วถึงแล้ว แต่ยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในการจัดบริการภาครัฐที่มีคุณภาพทั้งในด้านการศึกษาและสาธารณสุข รวมทั้งการคุ้มครองแรงงานที่มีประกันทางสังคม ครอบคลุมเพียง 36.3% แม้จะขยายการคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ

 

 

เศรษฐกิจดีขึ้น!!! สภาพัฒน์เผยสัดส่วนคนจนลดเหลือ 7.2% จากเดิม 10.5% เหตุรัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนาสินค้าเกษตร

“ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ระยะเวลา 5 ปี สศช.ได้ให้ความสำคัญกับการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยมุ่งเน้นการยกระดับรายได้ของกลุ่มประชากร 40% ที่มีรายได้สุด เนื่องจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในภาพรวม รวมทั้งเป็นการช่วยยกระดับรายได้เฉลี่ยของประเทศ ให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มีเป้าหมายสูงสุดเป็นประเทศรายได้สูง โดยต้องมุ้งเน้นการยกระดับคุณภาพบริการทางสังคมให้ทั่วถึง ทั้งในเรื่องการศึกษา สาธารณสุข การปิดช่องว่างการคุ้มครองทางสังคม และมุ้งเน้นเรื่องเพิ่มทักษะแรงงาน  เพื่อเสริมสร้างรายได้ของประชากรให้สูงขึ้น”นายปรเมธี กล่าว

 

 

เศรษฐกิจดีขึ้น!!! สภาพัฒน์เผยสัดส่วนคนจนลดเหลือ 7.2% จากเดิม 10.5% เหตุรัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนาสินค้าเกษตร