แผ่นดินไม่สิ้นคนดี !! "ถวิล เปลี่ยนศรี" ขรก.ไทยที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจ"ระบอบทักษิณ  กว่า2ปีสู้เพื่อความเป็นธรรมจน "ยิ่งลักษณ์"ตกเก้าอี้นายกฯ

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

 

กลับมาช่วยชาติบ้านเมืองอีกครั้ง  สำหรับนายถวิล  เปลี่ยนศรี  อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ  (สมช.)   และอดีตข้าราชการที่ต้องใช้เวลาต่อสู้ทวงความเป็นธรรมจากการใช้อำนาจรัฐของระบอบทักษิณยาวนานกว่า 2 ปีถึงนำเกียรติภูมิกลับคืนสู่ตัวเองและวงศ์ตระกูลได้เป็นผลสำเร็จ   กระทั่งล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  ในฐานะหัวคสช.คัดสรรด้วยตัวเองให้มาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

 

แผ่นดินไม่สิ้นคนดี !! "ถวิล เปลี่ยนศรี" ขรก.ไทยที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจ"ระบอบทักษิณ  กว่า2ปีสู้เพื่อความเป็นธรรมจน "ยิ่งลักษณ์"ตกเก้าอี้นายกฯ

คนดีๆ..ต้องมาช่วยชาติ!!! "บิ๊กตู่" เลือกเอง 2 ผบ.ทัพ 1 อดีตเลขาธิการสมช. นั่งคกก.ต้านทุจริตฯตามคำสั่งคสช. 

http://deeps.tnews.co.th/contents/215941/

 

 

ย้อนความเป็นไทม์ไลน์เพื่อความเข้าใจโดยง่าย  ที่มาที่ไปของนายถวิลซึ่งช่วงหนึ่งชีวิตต้องถูกระบอบทักษิณกระทำให้พ้นจากการรับใช้ประเทศชาติอย่างที่ตัวเองตั้งใจไว้ในหน่วยงานสำคัญอย่าง “สภาความมั่นคงแห่งชาติ”     กล่าวคือ    ทันทีที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์เข้าบริประเทศในวันที่ 24  ส.ค. 2554  นอกเหนือจากการโหมนโยบายประชานิยมแล้วก็คือการปูทางให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวชินวัตรและดามาพงษ์ได้รับสิทธิพิเศษในตำแหน่งหน้าที่การงาน 

                     

เริ่มต้นจากวันที่ 7 ก.ย. 2554   สำนักนายกรัฐมนตรีมีคำสั่ง ปลด "ถวิล เปลี่ยนศรี" ให้พ้นตำแหน่ง เลขาธิการ สมช. และแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี

 

                     

12 ก.ย. 2554   นายถวิลเริ่มกระบวนการต่อสู้ในฐานะข้าราชการรับใข้แผ่นดินตามขั้นตอนโดยการยื่นร้องต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) 

 

 

ระหว่างนั้นระบอบทักษิณก็เริ่มทำงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  เริ่มตั้งแต่ในวันที่  14 ต.ค. 2554  โยกย้าย  พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ออกจากตำแหน่ง ผบ.ตร. พร้อมแต่งตั้ง เป็นเลขาธิการ สมช.  แทนนายถวิล  เปลี่ยนศรี

 

แผ่นดินไม่สิ้นคนดี !! "ถวิล เปลี่ยนศรี" ขรก.ไทยที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจ"ระบอบทักษิณ  กว่า2ปีสู้เพื่อความเป็นธรรมจน "ยิ่งลักษณ์"ตกเก้าอี้นายกฯ

   

ถัดมาเพียงไม่กี่วัน คือในวันที่  26 ต.ค. 2554   รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็มีแต่งตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์   พี่ชายคุณหญิงพจมาน ดามาพงษ์  เป็น ผบ.ตร.

 

ขณะที่ในวันที่ 10 เม.ย. 2555 - ก.พ.ค.ได้พิจารณมีมติยกคำร้องทุกข์ของนายถวิล ตามรายละเอียดที่มีสาระสำคัญดังนี้

 

“  คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะที่ 2 ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นโดยเสียงข้างมากเห็นว่าคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้อง (นายถวิล) ฟังขึ้น จึงมีคำวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยกเลิกคำสั่งโยกย้าย ส่วนกรณี พล.ต..อ.วิเขเชียร พจน์โพธิ์ศรี (ขณะนั้นเป็นเลขาฯสมช.)เป็นหน้าที่ของผู้มีบังคับบัญชาที่จะเยียวยาจัดหาตำแหน่งให้ปฎิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสมต่อไป กรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะที่ 2 ที่เห็นว่าคำร้องทุกข์ของนายถวิลฟังไม่ขึ้นและให้ยกคำร้องคือนายศราวุธ เมนะเศวต

 

จากนั้นมีการนำกรณีการร้องทุกข์ของนายถวิลเข้าสู่ที่ประชุม ก.พ.ค.ชุดใหญ่ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555 ซึ่งมีนายศราวุธ เมนะเศวต เป็นประธานกรรมการ กรรมการอื่นประกอบด้วย นางจรวยพร ธรณินทร์ นางสาวทัศนีย์ ธรรมสิทธิ์ นายภิรมย์ ศรีจันทร์ นายบุญเลิศ ลิ้มทองกุล และนายภิรมย์ สิมะเสถียร ปรากฏว่าที่ประชุมมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย

 

ฝ่ายที่เห็นว่ายกคำร้อง(การโยกย้ายทำโดยชอบ) คือ นายศราวุธ เมนะเศวต นางจรวยพร ธรณินทร์ นางสาวทัศนีย์ ธรรมสิทธิ์  ฝ่ายที่เห็นพ้องกับมติของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์คณะที่ 2 เห็นว่าการโยกย้ายนายถวิลไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ นายภิรมย์ ศรีจันทร์ นายบุญเลิศ ลิ้มทองกุล และนายภิรมย์ สิมะเสถียร

 

เมื่อคะแนนเสียงเท่ากัน 3 ต่อ 3 เสียง ต้องให้ประธานที่ประชุมชี้ขาด นายศราวุธ เมนะเศวต ในฐานะประธานจึงออกเสียงเพิ่มอีก 1 เสียงเห็นว่าการโยกย้ายนายถวิลทำโดยชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับ ก.พ.ค. มีมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 3 เสียงเห็นว่าให้ “ยกคำร้อง”

 

โดย “ดุลพินิจ”ของ ก.พ.ค.เสียงข้างมากมีดังนี้  คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 152/2554 ลงวันที่ 7 กันยายน 2554 ให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคหนึ่ง (1) มาตรา 63 วรรคหนึ่ง มาตรา 132 และมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว4 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 และแม้ขั้นตอนการโอนผู้ฟ้องคดีจะใช้เวลาเพียง 4 วัน แต่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติ ไว้ทุกประการ

 

ประกอบกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้รับมอบและมอบอำนาจ ให้รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง) กำกับการบริหารราชการและสั่งปฏิบัติราชการแทนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ในส่วนของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

 

อีกทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่ชี้ชัดว่ามีข้อตกลงกันเพื่อเปิดช่องให้ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติว่าง เพื่อที่จะโอนย้ายพลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว และแม้ว่าหากมีการตกลงกันจริงก็อยู่ในวิสัยที่นายกรัฐมนตรี สามารถดำเนินการได้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

 

ดังนั้น การให้สัมภาษณ์ของร้อยตำรวจเอกเฉลิม (ให้สัมภาษณ์กดดันและต่อรองเพื่อให้พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ยินยอมที่จะโอนไปดำรงตำแหน่งอื่นเพื่อเปิดทางให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ มาเป็น ผบ.ตร.แทน) จึงเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น 
ส่วนการมอบหมายและการกำหนดรายละเอียด หน้าที่รับผิดชอบว่านายถวิลต้องปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องใด ถือเป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะมอบหมายตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีๆ ไป

ก.พ.ค. มีความเห็นสรุปว่า ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่เป็นกลางทางการเมือง หรือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในการสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด

ส่งผลทำให้ใน วันที่  30 เม.ย. 2555   นายถวิลจึงตัดสินใจยื่นฟ้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองกลาง

 

แผ่นดินไม่สิ้นคนดี !! "ถวิล เปลี่ยนศรี" ขรก.ไทยที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจ"ระบอบทักษิณ  กว่า2ปีสู้เพื่อความเป็นธรรมจน "ยิ่งลักษณ์"ตกเก้าอี้นายกฯ

 

 

ขณะเดียวกันกระบวนการเขย่าอำนาจของระบอบทักษิณยังไม่ได้จบเพียงเท่านั้น โดยปรากฎว่าในวันที่  1 ต.ค. 2555    มติครม.ในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ได้โยกย้าย พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี  จากเลขาธิการสมช.ไปเป็นปลัดกระทรวงคมนาคม  และ แต่งตั้ง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติแทนตำแหน่งที่ว่างลง เพราะการดำเนินการทางการเมือง 

 

 

ต่อมาเมื่อ  31 พ.ค. 2556   เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญ คือ ศาลปกครองกลางได้พิพากษาให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกฯ   ตามการรายงานข่าวในขณะนั้น  ระบุว่า   ศาลปกครองกลางได้พิจารณาดูแล้ว เห็นว่า การรับโอนเป็นไปอย่างเร่งรีบ และไม่ชอบด้วยจริยธรรม อีกทั้งนายถวิลเป็นผู้มีความรู้ความสามารถงานด้านความมั่นคง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบมากกว่า และสามารถเป็นที่ปรึกษาโดยตำแหน่งอยู่แล้ว

 

โดยนายถวิล กล่าวภายหลังฟังคำตัดสินของศาลปกครองกลางว่า ขอบคุณศาลที่ให้ความเป็นธรรม แต่ตนก็ยังดีใจได้ไม่เต็มที่ เพราะยังมีข้าราชการอีกหลายคนที่ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม อยากให้ข้าราชการอื่น ๆ ได้รับความเป็นธรรมตรงนี้ด้วย และลุกขึ้นมาต่อสู้ แต่การที่ตนมายืนตรงนี้ได้ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก

 

วันที่ 30 มิ.ย. 2556   รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์  ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลปกครองสูงสุด โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุ  คณะกรรมการกลั่นกรองให้ความเห็นเสนอให้มีการยื่นอุทธรณ์  ขณะที่ นายธงธอง จันทรางสุ   ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) ในฐานะคณะกรรมการกลั่นกรองฯ  ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า  กรณีดังกล่าวมีประเด็นข้อกฎหมาย ที่ยังต้องการความชัดเจนโดยการชี้ขาดจากศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้เกิดความชัดเจน เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางอาจก้าวล่วงการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหารงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริหารงานทั้งระบบ ทั้งนี้ หากยึดถือคำพิพากษาในประเด็นดังกล่าว จะไม่สามารถโอนย้ายข้าราชการในระดับเดียวกันพ้นจากตำแหน่งที่สูงกว่าไปตำแหน่งที่ต่ำกว่าได้เลย เนื่องจากจะถือเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบไปทั้งหมด
 

 

วันที่  24 ก.ย. 2556  ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคดีครั้งแรก ตุลาการผู้แถลงคดี เห็นควรยืนตามศาลปกครองกลางให้คืนตำแหน่ง  โดย  ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า ตำแหน่งเลขาฯ สมช.เป็นตำแหน่งที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่มากกว่าที่ปรึกษานายกฯ อีกทั้งตาม พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ เลขาฯ สมช.เป็นสมาชิกของสภาความมั่นคง เช่นเดียวกับนายกฯ และรองนายกฯที่กำกับดูแล

 

แผ่นดินไม่สิ้นคนดี !! "ถวิล เปลี่ยนศรี" ขรก.ไทยที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจ"ระบอบทักษิณ  กว่า2ปีสู้เพื่อความเป็นธรรมจน "ยิ่งลักษณ์"ตกเก้าอี้นายกฯ

 

ดังนั้นที่อ้างว่าการโอนย้ายนายถวิลเพื่อยกระดับการปฏิบัติงานภาคสนามมาเป็นด้านเสนาธิการ จึงไม่อาจรับฟังได้ และที่อ้างว่าการพิจารณาของศาลเป็นการก้าวล่วงอำนาจฝ่ายบริหารนั้น เห็นผู้บังคับบัญชาสามารถใช้ดุลพินิจแต่งตั้งโยกย้ายผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตามความเหมาะสมแต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ หากให้ศาลมีอำนาจตรวจสอบแค่ขั้นตอน โดยไม่อาจตรวจสอบเจตนาการใช้ดุลพินิจว่าชอบหรือไม่ ก็อาจเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งกรณีนี้มีการนำเสนอข่าว การยอมรับของรองนายกฯ ที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิศรี ผบ.ตร.ในขณะนั้น ว่ายินดีที่จะถูกย้ายจากตำแหน่ง ผบ.ตร.หากมีตำแหน่งที่เหมาะสมกว่า อีกทั้งยังกล่าวด้วยว่า นายถวิล ซึ่งเคยเป็นเลขาธิการ ศอฉ. รัฐบาลนี้จึงไม่อยากให้อยู่ในตำแหน่ง
       
       

แม้คำสัมภาษณ์ดังกล่าวของรองนายกฯที่ปรากฏทางสื่อจะไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการวินิจฉัยได้ แต่ในข้อเท็จจริงปรากฏว่า เหตุการณ์หลังจากนั้น เป็นไปตามคำพูดของรองนายกฯ ประกอบกับการย้ายตำแหน่งนายถวิล ไปดำรงตำแหน่งอื่น ก็ควรเป็นตำแหน่งที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการ ที่ไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งเลขาฯ สมช.และควรได้รับการยินยอมจากนายถวิล เช่นเดียวกับที่ย้าย พล.ต.อ.วิเชียร พ้นจากตำแหน่ง ผบ.ตร.รวมถึงการย้ายนายถวิล ก็ไม่ได้เกิดจากการดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี จึงเห็นว่าการย้ายนายถวิล ไม่ได้มีเจตนาที่แท้จริงตามที่อ้างว่าย้ายเพื่อยกระดับการบริหารงานด้านความมั่นคง ซึ่งการใช้ดุลพินิจของนายกฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเห็นควรเสนอต่อศาลปกครองสูงสุดให้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลางที่เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายและให้คืนตำแหน่งเลขาฯ สมช.แก่นายถวิล นับแต่วันที่มีคำสั่งย้าย

 

ท้ายสุดวันสำคัญของการทวงคืนความเป็นธรรมจากระบอบทักษิณของนายถวิลก็มาถึง   ใน  วันที่    7 มี.ค. 2557   เมื่อศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำสั่งในคดีนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมที่โยกย้ายจากตำแหน่งโดยมิชอบจากตำแหน่งเลขาธิการ สมช.ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ

    

โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการโยกย้ายตำแหน่งดังกล่าว เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ เนื่องจากการนายกรัฐมนตรีไม่เคยได้ให้เหตุผลในการโยกย้าย แต่ภายหลังจากที่มีการนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองชั้นต้น กลับระบุว่าเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพตามนโยบายแห่งรัฐที่ได้แถลงนโยบายไว้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อได้โยกย้ายนายถวิลมาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็ไม่เคยได้ขอคำปรึกษาใดๆ ทั้งสิ้น

    

อีกทั้งศาลยังเห็นว่า การทำหน้าที่ของนายถวิล ในตำแหน่งเลขาธิการ สมช.ยังสามารถเสนอความเห็นด้านความมั่นคงต่อนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง มากกว่าที่จะให้นั่งอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ซึ่งการแสดงความเห็นใดๆ จะต้องผ่านเลขาธินายกรัฐมนตรีก่อนที่จะถึงนายกรัฐมนตรี จึงไม่สามารถอ้างได้ว่าการโยกย้ายตำแหน่งดังกล่าวจะทำให้เกิดความรวดเร็วหรือเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นเมื่อการโยกย้ายดังกล่าว เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย

    

ดังนั้น ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดจึงให้การเยียวยาแก่ผู้ฟ้อง ด้วยการให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้ถูกฟ้องที่ 1 ดำเนินการเพิกถอนประกาศให้มีผลย้อนหลังไปถึง 30 ก.ย.2554 และดำเนินการภายใน 45 วัน นับตั้งแต่ศาลมีคำสั่ง

 

 ทั้งนี้ นายถวิล ได้เปิดเผยความรู้สึกภายหลังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาว่า   ตนต่อสู้มา 2 ปี 6 เดือน ไม่ได้ต้องการให้ได้ตำแหน่งคืน แต่เป็นการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ทั้งนี้ถ้าฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ ทำงานกับแบบเคารพกันก็จะสามารถทำงานด้วยกันได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้าราชการอีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับความยุติธรรมแบบตน 

 

แผ่นดินไม่สิ้นคนดี !! "ถวิล เปลี่ยนศรี" ขรก.ไทยที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจ"ระบอบทักษิณ  กว่า2ปีสู้เพื่อความเป็นธรรมจน "ยิ่งลักษณ์"ตกเก้าอี้นายกฯ

 

“การใช้ระบบอุปถัมถ์ เป็นเส้นทางเรื่องของท่านที่ทำได้ แต่ระบบของผมเป็นคุณธรรม เมื่อท่านอยู่ในช่องทางของท่านก็ใช้วิธีท่าน แต่เมื่อมาอยู่ในช่องทางของผมก็ต้องใช้วิธีผม ปัจจุบันฝ่ายการเมืองใช้ระบบอุปถัมถ์ ทำลายระบบข้าราชการอย่างย่อยยับ รวมถึงยังมีฝ่ายข้าราชการที่มักง่ายอยากได้ตำแหน่งก็จะทำให้เพื่อนข้าราชการลำบาก”

 

 

สำคัญยิ่งที่สุดในประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยในกรณีดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อ  7 พฤษภาคม 2557  โดยคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำวินิจฉัย ในคดีที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภา ร้องขอให้ศาลพิจารณาว่า สถานภาพความเป็นรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ จากกรณีการโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี  เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

แผ่นดินไม่สิ้นคนดี !! "ถวิล เปลี่ยนศรี" ขรก.ไทยที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจ"ระบอบทักษิณ  กว่า2ปีสู้เพื่อความเป็นธรรมจน "ยิ่งลักษณ์"ตกเก้าอี้นายกฯ

         

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโยกย้าย นายถวิล พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ สมช. และหนังสือที่ นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับโอนไปนั้นไม่เป็นไปตามขั้นตอน อีกทั้งยังเห็นว่า กระบวนการโยกย้ายใช้เวลาเพียง 4 วันเท่านั้น โดยมีการออกเอกสารในวันอาทิตย์ ซึ่งไม่เป็นไปตามการปฏิบัติราชการปกติ ดูแล้วเป็นการเร่งรีบอย่างผิดสังเกต ถือเป็นการกระทำที่รวบรัด ปราศจากเหตุผลอันสมควรที่ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว 

         

ด้วยเหตุนี้ จึงมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า การที่ย้าย นายถวิล เลขาธิการ สมช. ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ คือความประสงค์ให้ตำแหน่งเลขาธิการ สมช. ว่างลง เพื่อโอนย้าย พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในขณะนั้น มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สมช. แทน อันจะทำให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่างลง เพื่อย้าย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร. ในขณะนั้น ซึ่งกำลังจะเกษียณอายุราชการ และเป็นเครือญาติของนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแทน

          

การกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่าทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง มีผลประโยชน์ทับซ้อน และวาระซ่อนเร้น มิได้กระทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนแต่อย่างใด ด้วยการโยกย้ายข้าราชการเพื่อให้เครือญาติเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ถือเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรม คุณธรรม ความถูกต้องชอบธรรมของการใช้อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย 

         

ดังนั้น การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้สถานะการเป็นนายกรัฐมนตรี เข้าไปก้าวก่าย แทรกแซง การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ผู้อื่น พรรคการเมือง ต้องด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 (2) (3) และมาตรา 268 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว รวมถึงรัฐมนตรีที่ร่วมมีมติดังกล่าวในวันที่ 6 กันยายน 2554 ถือว่ามีส่วนร่วมในการก้าวก่ายแทรกแซงการโยกย้ายข้าราชการด้วย

          

ทั้งนี้ เมื่อสถานะความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวแล้ว ทำให้ ยิ่งลักษณ์ พ้นเก้าอี้รักษาการนายกฯ ส่วนคณะรัฐมนตรีรายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าวให้อยู่ในตำแหน่งรักษาการจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

         

สำหรับรัฐมนตรีที่ร่วมลงมติในการแต่งตั้งโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 นั้น มีทั้งหมด 9 คน ซึ่งจะต้องพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีไปพร้อมกับนางสาวยิ่งลักษณ์ โดย 9 รัฐมนตรีพ้นเก้าอี้ตามยิ่งลักษณ์ ประกอบด้วย

          1. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ในขณะนั้น

          2. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ ในขณะนั้น

          3. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ในขณะนั้น

          4. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พัฒนาสังคมฯ ในขณะนั้น

          5. น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ในขณะนั้น

          6. นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิชย์ ในขณะนั้น

          7. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ ในขณะนั้น

          8. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในขณะนั้น

          9. พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ในขณะนั้น


         

ด้วยเหตุนี้ ทำให้รองนายกรัฐมนตรีที่ยังคงอยู่ในตำแหน่งขณะนี้นั้น มีเพียง 2 คน คือ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ซึ่งในที่สุดแล้ว คณะรัฐมนตรีมีมติให้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีอันดับ 2 ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีต่อไป

 

 

เรียบเรียงข่าว  :  ชัชรินทร์   สำนักข่าวทีนิวส์