สวรรค์มีตา..คืนความเป็นธรรมคนดี !!!  ปปช.ยกข้อกล่าวหาดีเอสไอยุค "ธาริต" ฟ้อง "นพ.วิชัย+นพ.วิทิต" ทุจริตจัดซื้อยาองค์การเภสัชฯปี 56  !!?!!

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

ถือเป็นข่าวใหญ่ในแวดวงสาธารณสุขประเทศไทย  เมื่อมีการรายงานข่าวว่าล่าสุด  สำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  หรือ ปปช. ได้ทำหนังสือแจ้งผลการพิจารณาข้อกล่าวหาที่มีต่อ  นพ.วิทิต  อรรถเวชกุล   และ นพ. วิชัย  โชควิวัฒน  2  อดีตผู้บริหารองค์การเภสัชกรรม  ว่าทั้งสองบุคคลไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหา  !!!

 

 

โดยรายงานข่าวระบุว่า   สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งหนังสือแจ้ง ถึงนพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีตผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2559 ระบุว่า ตามหนังสือที่อ้างถึง  คณะอนุกรรมการไต่สวน ได้แจ้งคำสั่งคณะกรรมการป.ป.ช. ที่ 158/2557 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2557   แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน  กรณีกล่าวหา  นพ. วิทิต  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรม และ นพ.วิชัย โชควิวัฒน  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ และกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ในการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอลขององค์การเภสัชกรรมไปให้ท่านทราบ ความมละเอียดแจ้งแล้วนั้น

 

คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาแล้ว เห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการไต่สวนว่า จากการไต่สวนข้อเท็จจริง  “ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟังได้ว่า”    นพ.นายวิทิต อรรถเวชกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และ นพ. วิชัย โชควิวัฒน  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2  “ ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป ”

 

สวรรค์มีตา..คืนความเป็นธรรมคนดี !!!  ปปช.ยกข้อกล่าวหาดีเอสไอยุค "ธาริต" ฟ้อง "นพ.วิชัย+นพ.วิทิต" ทุจริตจัดซื้อยาองค์การเภสัชฯปี 56  !!?!!

ทั้งนี้ตามรายงานข่าวระบุด้วยว่า   นพ.  วิทิต  อธิบายว่า กรณีดังกล่าวเป็นคดีที่บอร์ดองค์การเภสัชกรรม ฟ้องร้องตนเองขณะดำรงตำแหน่งอดีตผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม และนพ. วิชัย  ในฐานะประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม ว่าทุจริตจัดซื้อยาพาราเซทตามอล ปี 2555  จากเดิมที่องค์การเภสัชกรรมเคยสั่งซื้อเมื่อปี 2548 จำนวน 48 ตัน แต่เมื่อปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ทั่วประเทศ ทำให้ต้องสำรองปริมาณยาเพิ่มขึ้น 100 ตัน ซึ่งเป็นการคำนวณเพื่อเตรียมช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทักภัย และ ไม่ได้ทำให้องค์การเภสัชกรรม เกิดความเสียหาย ตามที่ถูกฟ้อง ป.ป.ช. ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายกว่า 200 ล้านบาท

 

สวรรค์มีตา..คืนความเป็นธรรมคนดี !!!  ปปช.ยกข้อกล่าวหาดีเอสไอยุค "ธาริต" ฟ้อง "นพ.วิชัย+นพ.วิทิต" ทุจริตจัดซื้อยาองค์การเภสัชฯปี 56  !!?!!


 

"..เมื่อผลออกมาเช่นนี้ ยังไม่ตัดสินใจว่า จะฟ้องร้องกลับผู้ยื่นฟ้องหรือไม่ แต่ผมยืนยันว่า ผมตั้งใจทำงาน และเมื่อถูกฟ้อง ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งไป และวันนี้เมื่อปรากฏว่า ป.ป.ช.ยกฟ้อง เพราะไม่มีมูล เหตุการณ์ก็ล่วงเลยมา 3 ปีแล้ว เป็นความล่าช้าที่เกิดขึ้นในระบบราชการ และ ไม่คิดจะกลับมาทำงานในสายราชการอีก เพราะรู้สึกเจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้น"

 

นพ. วิทิต  ระบุด้วยว่า กรณีการจัดซื้อยาพาราเซทตามอล และการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ในช่วงที่รับตำแหน่ง ผอ.องค์การเภสัชนั้น  ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ คณะกรรมการบริหาร องค์การเภสัช และ ฝ่ายการเมืองใช้เป็นข้ออ้างในการสั่งปลดพ้นตำแหน่งผู้อำนวยการเมื่อปี 2555 ขณะที่ส่วนตัวยืนยันว่าไม่เคยมีปัญหาเรื่องทุจริต

 

และเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ได้ทำให้องค์กรมีรายได้เพิ่มขึ้นผลักดันรายได้ขององค์การเภสัชกรรม จาก 5 พันล้านบาท เพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาทได้ภายในระยะเวลา 6 ปี และเป็นผู้ผลักดันให้ราคายา 10 ประเภท ที่มีราคาแพงก่อนหน้านั้น มีราคายาถูกลง โดยการใช้สิทธิบัตร CL ยา เช่น ยารักษาโรคเอดส์, ยาละลายลิ่มเลือดหัวใจ เพื่อให้ประชาชนได้โอกาสเข้าถึงยาราคาแพง

 

ทั้งนี้นพ.วิชัย  และ นพ. วิทิต  ถือเป็นบุคลากรทางแพทย์ที่สาธารณชนทั่วไปให้การยอมรับความรู้  ความสามารถ  แต่ในช่วงกลางปี  2556   ทั้งสองถูก  นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)  ในขณะนั้น ตั้งข้อกล่าวหา  โดยอ้างว่า  จากการสืบสวนพยานหลักฐานกรณีการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอลขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) มีลักษณะการกระทำเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.และ 2.นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานกรรมการ อภ. ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 19 บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดังนั้น ดีเอสไอจึงขอส่งรายงานการสืบสวนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

 

ส่วนผู้ทำหน้าที่ในการยื่นคำร้องให้ดีเอสไอดำเนินการตรวจสอบเอาผิดกับ  นพ.วิทิต  จนกระทั่งไปลากโยงเอานพ.วิชัย  ในฐานะประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็คือ  นายกมล  บันไดเพชร   เลขนุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  (นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์)  และเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงสมัยรัฐบาล  น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร    เป็นนายกรัฐมนตรี     

 

 

เรียบเรียงข่าว  :  ชัชรินทร์   สำนักข่าวทีนิวส์

ขอบคุณข้อมูล  : FB  ภัทราพร  ตั๊นงาม  ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส